ช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาด ธุรกิจแทบทุกสาขาปั่นป่วน “ธนาคาร” ที่พึ่งทางการเงินของเหล่านักธุรกิจ ก็ปล่อยกู้ไมไ่ด้ เหตุเพราะมีอัตราความเสี่ยงสูง แต่เมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว “ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร” กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กลับเป็นผู้นำ ที่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือผู้ประกอบการ ด้วยการปล่อยวงเงินให้กับสายการบิน ที่กำลังล้มระเนระนาดไม่เป็นท่า เพราะการเดินทางทั่วโลกหยุดชะงัก
- “ซ่อม สร้าง เสริม” อุตสาหกรรม
“ดร.รักษ์” บอกว่า EXIM เป็น Development Bank ที่ทำหน้าที่ “ซ่อม – สร้าง – เสริม” อุตสาหกรรมที่เกิดวิกฤต แต่ถ้าเมื่อไรมีวิกฤต แบงค์จะตีจากก่อนเลย เพราะนั่นคือความเสี่ยงสูง ทำให้แบงค์ต้องถอย แต่สิ่งที่ EXIM BANK ทำเมื่อ 3 ปี ที่แล้ว คือ การเข้าไปซ่อมอุตสาหกรรมการบินที่ไม่มีใครปล่อยสินเชื่อเลย EXIM ปล่อยให้สายการบิน 6 สายการบิน ได้กลับมาฟื้นตัวเองได้ใหม่ ในวงเงินหมื่นกว่าล้านบาท
นั่นคือ มุมที่ หนึ่ง ของ EXIM BANK มันคือ “การซ่อม”
“การสร้าง” มันคือการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ วันแรกที่หมอใหญ่เดินไปหาแบงค์ต่างๆ เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว กับการทำธุรกิจที่ค่อนข้างใหม่ในตลาด วันนั้นไม่มีใครอยากปล่อย สตาร์ทอัพจริงๆ ผ่านมือแบงค์ไม่ถึง 3% ในประเทศไทย มันกลายเป็นความสับสนที่ไม่สามารถสร้างให้เป็นความจริงได้
“เราเป็นคนแรกที่ทำให้มีรถไฟฟ้าวิ่งอยู่บนถนน เรือไฟฟ้าข้ามจากโอเรียนเต็ลไปไอคอนสยาม หรือแม้กระทั้งโรงงานแบตเตอรี่ การพัฒนาไม่ใช่แค่เอาไปใส่ให้ได้มีช่ื่อ แต่เป็นการสร้างจริงๆ สำหรับคนที่มีความฝันและเป็นความฝันที่เป็นไปได้”
“การเสริม” EXIM BANK ไม่ได้ทำงานคนเดียว แต่เป็นการทำงานร่วมกับพันธมิตร ทั้งธนาคารออมสิน ไอแบงค์ เอสเอ็มอี ธนาคารอื่นๆ รวมถึง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นั่นคือ ที่มาของการทำงานกันเป็นทีม ที่เรียกว่าทีมไทยแลนด์
เครดิตทุกอย่างที่วันนี้ EXIM BANK ได้มา ส่งมอบให้กับทุกๆ คน ที่เข้ามาช่วยเรา ให้เกิดเป็นจริงได้
- EXIM BANK คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้น
ถ้าพูดถึงเรื่อง ESG ซึ่งประกอบด้วย Environment, Social, และ Governance ทุกวันนี้ EXIM BANK เป็นแบงค์แรกที่ทำฟุตพริ้นของตัวเอง ทำโซล่ารูฟท็อป ปัจจุบัน EXIM BANK ปล่อยคาร์บอนไปแล้ว 2,200 ตันต่อปี สิ่งที่ EXIM กำหนดไว้ในแผนธุรกิจ ไม่ใช่แค่กำไร หรือการล้างหนี้เสีย แต่เป็นเรื่องของการที่ต้องลดคาร์บอนเครดิตของตัวเองให้ได้ จาก 2,200 ตันต่อปี เรามองว่าอีก 5 ปีข้างหน้า EXIM BANK จะเป็นธนาคารที่เป็น “Carbon neutrality” หรือ มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งจะมีทั้งการบริหารจัดการตัวเองและการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชย
“ปีหน้าเรามีผลิตภัณฑ์ใหม่ แทนที่จะมาลดดอกเบี้ย คุณเอาคาร์บอนของคุณมาแลกกับผม แล้วได้ลดดอกเบี้ย แบบนี้โอเคหรือเปล่า คือคุยกันแมนๆ แบบนี้ คือ ถ้าคุณปลูกป่าได้ มีคาร์บอนอยู่ในมือเท่าไร ที่ อบต. verify แล้ว เอามาแลกเป็นเงินดอกเบี้ยกับ EXIM ได้ จากราคาตลาด 5-6% ถ้า Go Green มาเอาดอกเบี้ยพิเศษกับ EXIM ได้ ในราคาไม่ถึง 5% นั่นคือการกระตุ้นที่ทำให้ทุกคน Go Green ไปกับเราได้”
อีกเรื่องที่ผู้บริหารคนนี้ทำ คือ การทำ Governance ในองค์กร EXIM ไม่ได้อยู่กับเจ้าสัว ปีหน้าเราจะแบ่งแม่น้ำ 2 สาย เจ้าสัว เข้าซอยหนึ่ง พี่น้องเอสเอ็มอี หรือคนตัวเล็กจะเข้าอีกซอยหนึ่ง ด้วยระบบการทำงานที่แตกต่างกัน
สิ่งที่ “ดร.รักษ์” มองในวันนี้คือ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว คนไซด์กลาง และคนตัวเล็ก สามารถอยู่กับ EXIM BANK ได้หมด และยังย้ำด้วยว่า วันนี้ พอร์ตฟอริโอของ EXIM BANK ไม่ใช่ผลงานของ “ดร.รักษ์” แต่เป็นผลงานของบรรพบุรุษผู้บริหาร EXIM BANK ที่ทำต่อๆ กันมา ในความเป็น Development Banker เรื่องเหล่านี้มันอยู่ใน DNA ของนายธนาคารอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นในมุมของ EXIM BANK ธนาคารไม่ใช่แค่ปล่อยสินเชื่อ แต่ต้อง Go Green กับ EXIM BANK ได้ด้วย
ปีที่ผ่านมา EXIM BANK ออก Green Bond (ตราสารหนี้สีเขียว หรือ ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระดมทุนใช้กับโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) ปีหน้า จะออก Blue Bond หรือ ตราสารหนี้สีฟ้า ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่ระดมทุนเพื่อนำมาใช้กับโครงการที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลโดยเฉพาะ และถือเป็นเคพีไอขององค์กร ซึ่งมันยากกว่า Green Bond ขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง นั่นคือสิ่งที่ “ดรงรักษ์” ต้องการจะบอกว่า EXIM BANK…go extra mile หรือไปได้ไกลกว่านี้
- ปี 67 ต้อง Go Green – Go South
หากถึงสภาพเศรษฐกิจปี 2567 “ดร.รักษ์” บอกเลยว่า ยังไม่สดใส นักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกปี 2567 จะเหนื่อยกว่าปีนี้ การทำธุรกิจถ้าแข่งเรื่องราคาและต้นทุนอย่างเดียวไม่รอด… ถ้าอยากมีที่ยืนในปีหน้า คุณต้อง Go Green นั่นคือ สิ่งที่ EXIM BANK สนับสนุน วิธีการให้เงินอย่างเดียว มันไม่ใช่วิธีอง EXIM เราจะเติมความรู้ คู่กับการเติมเงิน
ส่วนตลาดที่คาดว่าจะมาแรง ผู้ส่งออกทั้งหมดต้อง Go South ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาใต้ อัฟริกาใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าอยากจะไปในตลาดที่ยังมีโอกาสอยู่ให้ลงไปทางใต้ เพราะตอนนี้ข้างบนการแข่งขันสูง ประเทศไทยไม่ได้เปรียบเรื่องแรงงานอีกต่อไปแล้ว เพราะฉะนั้น ต้องปรับบิซิเนสโมเดล
อีกอย่างที่น่าเป็นห่วงคือ ปี 2567 หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นมหาศาล คนไทยมีแต่จนลง กับแก่ลง เพราะฉะนั้น วันนี้ภายในประเทศ (Domestic) ไม่เหลือเสน่ห์แล้ว สิ่งที่ทำได้ คือ ต้องจับซักมุมซีกโลกที่มาทางใต้ จะไปกับ EXIM ก็ได้ เพราะ EXIM ไปแล้วเช่นกัน
ปัญหาโลกด้านภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitic) เคยมีคนบอกไม่น่าจะอยู่เกินปีหนึ่ง แต่ตอนนี้คือมันอยู่ตลอดไป คงไม่เลิกง่ายๆ นี่คือ สงครามโลกครั้งที่ 3 ที่เป็นสงครามด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช่สงครามด้านขีปนาวุธ
“ดร.รักษ์” กล่าวว่า ในบริบทของไทยมีเงินในระบบทั้งจากภาครัฐและเอกชนราว 20 ล้านล้านบาท แต่มีตัวเลขที่เป็น Green Finance ไม่ถึงแสนล้านบาท สัดส่วนน้อยกว่า 0.1% ประเด็นคือ ต้นทุน ถ้าไม่มี Scale Economy ราคาสินค้าเหล่านั้นก็ยังแข่งขันในตลาดไม่ได้ เพราะราคาสูง
วันนี้ที่มาของเงิน นอกจากเป็นเงินสะอาด ยังเป็นเงินสีเขียวด้วยได้ไหม…เรากำลังจะออกบูลบอนด์ วันนี้ผมมีลูกค้าเจ้าหนึ่ง เขาเก็บเฉพาะขยะที่เป็นพลาสติกที่มาจากทะเลชายฝั่ง ประมาณ 300 แนวชายฝั่งชลบุรีถึงตราด เขามาขายให้กับผู้ซื้อต่างชาติ โดยเฉพาะ ทวีปยุโรป ตอนนี้ขวดรีไซเคิล จะมีราคามากกว่าขวดขวดธรรมดาอยู่ประมาณ 30% ประเด็นคือ ถ้าเราสามารถปลูกจิตสำนึกได้ว่า ขวดแชมพู ถ้าเป็นโอเชี่ยนบอร์นพลาสติก นั่นคือ การสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้ เช่น อาดิดาส ปราด้า โกกรีนแล้วไม่ต้องยากจน …สินค้าที่เป็น ESG จะมีกำไรมากกว่าสินค้าที่ไม่เป็น ESG อยู่ประมาณเกือบ 50% และการเติบโต ห้าปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 13.5% ซึ่งมากกว่าอุตสาหกรรมปกติ เราอยากให้ทุกคนมองภาพของการ Go Green ใหม่ เราสามารถย่อยได้ทุกอย่าง เปลี่ยนวิธีการคิด จากการแรปพลาสติก เปลี่ยนมาเป็นไบโอพลาสติกได้ไหม
นั่นคือ แนวคิด และการวางเส้นทางธุรกิจ EXIM BANK รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับคนทำธุรกิจในปี พ.ศ.2567