ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ต่อยอดเข้มข้น วิชั่น LifeWear = a New Industry ขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจและความยั่งยืนด้วยโครงการ อาริอาเกะ เดินหน้าเปลี่ยนผ่านสู่โมเดลธุรกิจแบบไร้ขยะเต็มตัว เน้นผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเฉพาะสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ผ่านความคิดเห็นจริงของลูกค้า
โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด (Fast Retailing) บริษัทแม่ของยูนิโคล่ กล่าวว่า จากงานประชุมสรุปวิสัยทัศน์ประจำปี ครั้งที่ 4 ภายใต้วิสัยทัศน์ LifeWear = a New Industry เพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจให้เชื่อมโยงกับเป้าหมาย ทั้งทางด้านการสร้างการเติบโตทางธุรกิจและทางด้านความยั่งยืน
โครงการต่างๆ ของ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ดำเนินการตามวิสัยทัศน์ภายใต้ “โครงการอาริอาเกะ” หรือโครงการปฏิรูปธุรกิจซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 เพื่อช่วยเดินหน้าสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน
ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้ระบุถึงความคืบหน้าด้านเป้าหมายความยั่งยืนหลัก ๆ อาทิ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทฯ รวบรวมและวิเคราะห์ความคิดเห็นของลูกค้ากว่า 30 ล้านข้อคิดเห็นทั่วโลกต่อปี ส่งผลให้ได้รับข้อมูลเบื้องลึกที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถตอบสนองต่อความต้องการ ตลอดจนไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสม ทำให้ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สามารถผลิต ขนส่งและจัดจำหน่าย ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในเวลาที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ซึ่งทั้งหมดถือเป็นกระบวนการสำคัญ ที่ทำให้สามารถลดการก่อให้เกิดขยะที่ไม่จำเป็นได้อย่างสมบูรณ์แบบ
สำหรับการจัดทำโครงการเพื่อดูแลสังคมต่างๆ อาทิ โครงการเสื้อยืดการกุศล PEACE FOR ALL หรือ The Heart of LifeWear แจกเสื้อยืดผ้าพิเศษแบบ HEATTECH และ AIRism ให้กลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้อพยพ เด็กและผู้ประสบภัยพิบัติไปแล้วกว่า 1 ล้านตัว ยูนิโคล่สามารถขยายผลโครงการได้อย่างเต็มที่ ผ่านความร่วมมือกับทั้งพันธมิตรและลูกค้า รวมถึงหน่วยธุรกิจฟาสต์ รีเทลลิ่งทั่วโลก ที่มีชุมชนท้องถิ่นร่วมช่วยสนับสนุน
“เป้าหมายของฟาสต์ รีเทลลิ่งคือ การเดินหน้าจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสังคมที่ยั่งยืนต่อไป ผ่านทางผลิตภัณฑ์ ร้านค้า พนักงานและเครือข่ายทั่วโลก เพื่อสร้างชีวิตที่มั่นคงและสงบสุขให้แก่ผู้คนทั่วโลก”
ผลงานเด่นของโครงการและกิจกรรมที่ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จัดทำขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนภายในปีงบประมาณ 2573 ประกอบด้วย
- การพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์รวมถึง ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ ตามความคิดเห็นจากลูกค้า
ในปีงบประมาณ 2567 (สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2567) ฟาสต์ รีเทลลิ่ง รวบรวมความคิดเห็นของลูกค้า (Voice of Customer) ได้มากถึง 31.4 ล้านข้อคิดเห็นจากทั่วโลก โดยนำข้อเสนอแนะที่ได้รับผ่านศูนย์บริการลูกค้ามาวิเคราะห์ร่วมกับความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ตามหน้าเพจร้านค้าออนไลน์และความคิดเห็นที่ลูกค้าแสดงต่อพนักงานประจำร้านโดยตรงจนได้รับข้อมูลเบื้องลึกที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ บริษัทฯ จัดทำแพลทฟอร์ม “Management Cockpit” ขึ้นตั้งแต่ปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการบูรณาการข้อมูลเพื่อการบริหารงานโดยเฉพาะ เปิดทางให้เสียงสะท้อนของลูกค้าได้รับการรับฟังและนำเสนอเป็นภาพที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินธุรกิจทั่วโลกของบริษัทฯ แบบเรียลไทม์ เพื่อการปรับตัวและตอบสนองที่รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าที่เคย
ความคิดเห็นจากลูกค้าช่วยให้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มากมาย อาทิ ผ้าถักแบบใหม่ “Souffle Yarn Knit” ที่ได้รับการจดลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ แล้ว รวมถึงเสื้อชั้นในที่ปรับให้ใช้งานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังพัฒนานวัตกรรม อาทิ กางเกงผ้าถักลายนูนที่ซักได้ หรือ PUFFTECH ที่สามารถรองรับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า
จากการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่อเนื่อง ทำให้ในปีงบประมาณ 2567 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ของลูกค้าอยู่ในระดับสูง โดยผลิตภัณฑ์จากคอลเลคชัน Spring/Summer และ Fall/Winter ได้รับคะแนน 4.5 จาก 5 จำนวนแบบผลิตภัณฑ์หลักที่จำหน่ายได้ทั่วโลก ซึ่งสร้างรายได้หลักให้แก่ฟาสต์ รีเทลลิ่ง มีมากกว่า 50 แบบในปีงบประมาณที่เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 เป็นจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นจากปีงบประมาณ 2560 หรือปีที่โครงการอาริอาเกะเปิดตัวมากถึง 3 เท่า
พร้อมกันนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ยังสามารถลดหรือป้องกันการผลิตสิ่งที่ไม่จำเป็นได้ ตลอดจนค่อย ๆ พัฒนาการดำเนินธุรกิจแบบที่เน้นผลิตเฉพาะสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด
โคจิ เล่าอีกว่า ในปีนี้ฤดูร้อนมีระยะเวลายาวนานขึ้นและฤดูหนาวมีอุณหภูมิสูงขึ้น ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จึงขยายหมวดผลิตภัณฑ์หลักที่เหมาะสมสำหรับใช้งานตลอดปี เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น แทนที่จะเน้นผลิตสินค้าตามฤดูกาลแบบดั้งเดิม ฟาสต์ รีเทลลิ่งกำลังหันมายกระดับส่วนผสมผลิตภัณฑ์ด้วยการเน้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมตลอดปี จัดทำระบบผลิตและโลจิสติกส์ที่เน้นผลิต ขนส่งและขายเฉพาะสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ณ เวลาที่เหมาะสมและปริมาณที่ตรงตามความต้องการที่สุด
ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ใช้ระบบคาดการณ์ความต้องการที่อิงตามอัลกอริทึม ช่วยให้การวางแผนจำหน่ายแม่นยำถูกต้อง ระบบใหม่เน้นการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายผลิต เพื่อให้แผนผลิตปรับตามความต้องการได้รายสัปดาห์
การแจ้งให้โรงงานต่าง ๆ ทราบแผนการผลิตหรือความคืบหน้าต่าง ๆ ช่วยให้มีการสต็อกวัตถุดิบที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับการผลิตแม้เวลาที่ได้รับแจ้งล่วงหน้าจะสั้นลง ในด้านโลจิสติกส์ ฟาสต์ รีเทลลิ่งจับมือกับพันธมิตรด้านการขนส่งเพื่อขับเคลื่อนให้การจัดส่งไวขึ้น และประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นแม้เวลาที่ได้รับแจ้งล่วงหน้าจะสั้นลงด้วยเช่นกัน
ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติช่วยให้สามารถจัดส่งผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นให้ร้านค้าได้ตามปริมาณที่ต้องการ ถือเป็นการยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานและการบริหารสินค้าคงคลังสู่ระดับสูงสุด
ส่วนความคืบหน้าตามเป้าหมายของปีงบประมาณ 2573
- ในปีงบประมาณ 2566 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 69.4% ในส่วนที่ตนเองควบคุมได้โดยตรง (ร้านค้าหรือสำนักงาน) หรือ สโคป 1 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2562 ถือเป็นความคืบหน้าสู่เป้าหมายที่บริษัทฯ ตั้งใจจะลดลงให้ได้ 90% ภายในปีงบประมาณ 2573
- การจัดซื้อเพื่อเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนของบริษัทฯ ยังเพิ่มขึ้นเป็น 67.6% ณ ปีงบประมาณ 2566 จากเป้าหมาย 100% ภายในปีงบประมาณ 2573
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทานลดลงแล้ว 10% ณ ปีงบประมาณ 2566 และมีแนวโน้มว่าจะลดลงในอัตราที่เร็วขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 เป็นต้นไปจ ากการเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงงานและการขยายการใช้งานวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
- สัดส่วนของวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ อาทิ วัสดุรีไซเคิล เพิ่มสูงขึ้นสู่ 18.2% สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ในปี 2567 จาก 8.5% ในปี 2566 ความคืบหน้าชัดเจนมากในหมวดผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโพลีเอสเตอร์ เพราะสัดส่วนการใช้วัตถุดิบที่เป็นวัสดุรีไซเคิลนั้นสูงถึง 47.4%
ด้านแนวคิดหลักด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ สำหรับโครงการ RE. UNIQLO STUDIO ที่เปิดตัวในปี 2565 ขยายสู่ร้านค้า 51 แห่งใน 22 ประเทศทั่วโลกแล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าให้มีบริการนี้ในอย่างน้อย 60 ร้านค้าภายในเดือนธันวาคม 2567
ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เริ่มทดลองขายเสื้อผ้ามือสองเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2566 โดยร้าน UNIQLO Maebashi Minami IC ในญี่ปุ่นเป็นร้านที่ 3 ที่มีบริการนี้โดยเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนอีก 2 ร้านที่มีบริการนี้เช่นกัน คือ ร้าน UNIQLO Setagaya Chitosedai และ UNIQLO Tenjin ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกบริการดังกล่าว
เครื่องแบบทางการของคณะกรรมการโอลิมปิกและพาราลิมปิกแห่งชาติสวีเดนเป็นเสื้อผ้าชุดแรกที่ผลิตจากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลจากวัตถุดิบรีไซเคิลที่ยูนิโคล่จัดเก็บเอง ปัจจุบัน ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กำลังเดินหน้าทำการวิจัยและพัฒนาระบบรีไซเคิลเสื้อผ้าเก่าเพื่อผลิตเสื้อผ้าใหม่โดยตรงอย่างจริงจัง
ส่วนแนวคิดหลักด้านซัพพลายเชน ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เดินหน้าขยายเครือข่าย “วัสดุยั่งยืน” และการใช้งานวัสดุดังกล่าวสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ตลอดจนคำนึงถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ สิทธิมนุษยชนและสวัสดิการสัตว์ในทุกกิจกรรมของบริษัทฯ
ในปีงบประมาณ 2567 บริษัทฯ เริ่มจัดทำกรอบการดำเนินงานใหม่เพื่อกำหนดมาตรฐานสำหรับวัสดุแต่ละชนิดทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยการจัดทำมาตรฐานสำหรับฝ้ายเสร็จสิ้นแล้วและจะนำไปใช้ในการผลิตตั้งแต่ปีงบประมาณ 2569 เป็นต้นไป นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ประกาศให้ฝ้ายช่วยฟื้นฟูดินเป็นวัสดุเพื่อความยั่งยืนตั้งแต่ปีงบประมาณนี้เป็นต้นไป
ขณะเดียวกัน ยังยกระดับการตรวจสอบที่มาย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มยกระดับการตรวจสอบที่มาย้อน
กลับกับฝ้ายก่อน และกำลังเริ่มขยายการยกระดับสู่วัตถุดิบชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแคชเมียร์หรือ
ขนสัตว์ โดย ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จัดทำหลากหลายโครงการเพื่อสร้างความร่วมมือระยะยาวกับโรงงานต้นน้ำ อาทิ โรงงานเส้นด้าย
ฟาสต์ รีเทลลิ่งเริ่มตรวจสอบที่มาแคชเมียร์ย้อนกลับ สำหรับผลิตภัณฑ์แคชเมียร์ทั้งหมดตั้งแต่คอลเลคชันฤดูกาล 2024 Fall/Winter เป็นต้นไป ด้วยการตรวจสถานที่ล้างและปั่นเส้นใยเป็นระยะ ๆ ปัจจุบัน บริษัทฯ กำลังจัดทำกรอบการดำเนินงานในลักษณะเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนสัตว์