มาร์ส ผนึก จุฬาฯ ต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยง

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 38 Second

มาร์ส ต่อยอดงานวิจัยอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ผนึกคณะสัตวแพทย์ฯ จุฬาฯ พัฒนาและยกระดับการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงและการศึกษาในประเทศไทย เทียบชั้นระดับโลก

รัชกร เจนพัฒนพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป ประจำประเทศไทยและอินโดจีน มาร์ส เพ็ท นูทริชั่น กล่าวว่า มาร์ส อินคอร์ปอเรทเต็ด ยังมีแผนลงทุนในไทยต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามกำหนดและให้คำแนะนำสำหรับสัตว์เลี้ยง รวมถึงเปิดโอกาสให้นิสิตสัตวแพทย์ได้ฝึกงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

มาร์ส ในฐานะผู้ผลิตแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักอย่าง PEDIGREE®, WHISKAS®, IAMS™, CESAR®, SHEBA®, และ TEMPTATIONS™ ลงทุนอย่างมากด้านการวิจัย โดยวิธีไม่รุกล้ำเกี่ยวกับพฤติกรรมและการให้อาหารสัตว์เลี้ยง ผ่านทางศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC Pet Center) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและปรับปรุงอาหารสัตว์เลี้ยงของมาร์สให้เหมาะสมกับความต้องการ และความชื่นชอบของแมวและสุนัขในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนวัตถุประสงค์ของมาร์ส เพ็ทแคร์ ที่ต้องการสร้าง: โลกที่ดีกว่าสำหรับสัตว์เลี้ยง ซึ่งส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ เพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการให้อาหารที่ครบถ้วนและสมดุล ยกระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงสู่ระดับสากล และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยงอย่างกว้างขวาง

รัชกร กล่าวว่า การร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างการดูแลสุขภาพและการศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย ด้วยการลงทุนต่อเนื่องในด้านการวิจัยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC Pet Center) เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการจัดหาอาหารสัตว์เลี้ยง ที่มีคุณภาพสูงและเหมาะสมกับความต้องการของสัตว์เลี้ยงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมาร์สและคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจ: ให้ข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงระดับโลกแก่ นิสิตและคณาจารย์ ผ่านการเยี่ยมชม การศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ

2. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา: เสริมสร้างความร่วมมือในการวิจัยและศึกษาด้านอาหารสัตว์เลี้ยงภายในอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ตอบสนองความต้องการของสัตว์เลี้ยงในปัจจุบันและอนาคต

3. พัฒนาเทคโนโลยีและมาตรฐาน: นำมาตรฐานความปลอดภัยและเทคโนโลยีระดับสากลมาใช้ในการทดสอบและผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยง

4. เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยง: มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพกายและจิตใจของสัตว์เลี้ยงตามหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

5. รวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษา: เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยและการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการสัตว์เลี้ยงและสุขภาพสัตวแพทย์ในอนาคต

ศาสตรจารย์ สพ.ญ. ดร. สันนิภา สุรทัตต์ คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความร่วมมือกับมาร์ส ประเทศไทย เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่ายในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย อีกทั้งยังเพิ่มพูนความรู้และเปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับนิสิตและคณาจารย์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์

ด้านดร. จารึก ศรีเกียรติเด่น ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมระดับโลก มาร์ส เพ็ท นูทริชั่น กล่าวว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC Pet Center) ในจังหวัดชลบุรี มีมาตรฐานการวิจัยในระดับสากล อีกทั้งขับเคลื่อนและยกระดับความสามารถในการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ที่ครบถ้วนและสมดุลของมาร์สในภูมิภาคนี้ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการด้านโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักถึงการเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นความสำคัญสูงสุดสำหรับไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับสามของโลก

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

เต็ดตรา แพ้ค ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 20%

เต็ดตรา แพ้ค ย้ำความร่วมมือขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนในประเทศไทยและระดับโลก รายงานความยั่งยืนฉบับที่ 25 เผยความคืบหน้าของบริษัทฯ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงกว่า 20% ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ปี 2562

You May Like