การบินไทย เปิด “Zero Waste Living” ย้ำ ESG ต้องทำจริง

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 5 Second

การบินไทย เดินแผน ESG ต่อเนื่อง ขยายภาพ  3 ยุทธศาสตร์ “FROM PLANES TO PLANET – FROM WASTE TO WEALTH –  FROM PURPLE TO PURPOSE”  ทำครบลูปความยั่งยืน พร้อมผลักดันแบรนด์ “Zero Waste Living” สินค้ารักษ์โลกจากวัสดุเหลือใช้ในธุรกิจการบิน เพิ่มมูลค่า ผลักดันศักยภาพวิสาหกิจชุมชน 

ทวิโรจน์ ทรงกำพล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ และพัฒนาองค์กรบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบินไทยขยายผลตาม 3 ยุทธศาสตร์หลัก “FROM PLANES TO PLANET – FROM WASTE TO WEALTH – FROM PURPLE TO PURPOSE” ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจภายใต้วัตถุประสงค์ ESG ได้แก่ Environment, Social, และ Governance ซึ่งล่าสุด ได้ขยายผลยุทธศาสตร์ FROM WASTE TO WEALTH นำผ้าหุ้มเบาะที่นั่งบนเครื่องบินโบว์อิ้ง 747 ที่เลิกใช้งานแล้ว มาให้น้องๆ ผู้มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมูลค่าของเหลือใช้ ผลิตเป็นชิ้นงานหลากหลายรูปแบบ ทั้งรองเท้า ผ้าม่าน ผ้ากันเปื้อน สนับเข่า และอื่นๆ ผ่านโครงการ Zero Waste Living by THAI 

ทวิโรจน์ ทรงกำพล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ และพัฒนาองค์กรบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม MALAI living Collection โดย นายปัทวี เข็มทอง เจ้าของผลงานผ้าม่าน และ Bean Bag ที่มีแนวความคิดจากความเชื่อของคนไทยในการใช้เครื่องแขวนดอกไม้ แขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อความเป็นศิริมงคลป้องกันภัยอันตรายที่อาจจะเข้ามาทางประตูหรือหน้าต่าง จึงได้นำความคิดนี้ มาเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าเหลือใช้ของที่นั่งการบินไทยมาออกแบบเป็นผ้าม่านพับ และเบาะนั่ง ใช้เศษผ้าสีสันหลากหลายของที่นั่งผู้โดยสารมาตัดเป็นลวดลายของดอกรักบนเครื่องแขวน

ทวิโรจน์ กล่าวว่า เป็นโครงการนี้ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการเริ่มต้น หลังจากนี้ ยังมีแนวคิดในการนำผ้าห่ม พลาสติกต่างๆ มารีไซเคิล-อัพไซเคิล เพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ซึ่งทั้งหมด มีแผนจะผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Zero Waste Living หรือ ZWL เพื่อนำมาจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจสินค้ารักษ์โลก โดยจะวางจำหน่ายในร้าน Thai Shop ซึ่งมีประมาณ 6 สาขา 

“การบินไทยต้องการทำให้เกิดความยั่งยืนจริงๆ จับต้องได้ และยังสามารถช่วยส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนที่มีความสามารถ ให้พัฒนาสร้างสรรค์ไอเดียผลิตสินค้าที่มีคุณค่ามากขึ้น ด้วยเป้าหมายที่อนาคต อยากให้สินค้าใน Thai Shop เป็น Bio Circular ทั้งหมด ซึ่งไม่เพียงค่แร้าน Thai Shop แต่ยังมีพันธมิตรคือ Circular ที่เข้ามาช่วยพัฒนาสินค้าและเป็นช่องทางด้านการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียอีกด้วย” 

ทวิโรจน์ ย้ำว่า ขณะนี้การบินไทยได้วางกรอบยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ด้านเกี่ยวกับ ESG ชัดเจน นอกจาก FROM WASTE TO WEALTH การพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่พัฒนาวัสดุเหลือใช้อย่างผ้าหุ้มเบาะบนเครื่องบินแล้ว ก่อนหน้านี้ ยังเคย Collaborate กับหลายพันธมิตร อาทิ แบรนด์จิม ทอมป์สัน (Jim Thompson) ผลิตกระเป๋าพร้อมชุดสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity Kit) แบบใหม่ในคอนเซปต์รักษ์โลก ภายในบรรจุสิ่งอำนวยความสะดวก มอบสำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจบนเครื่องบินของการบินไทย การนำผลิตภัณฑ์ของไทยไปสู่สากล เช่น กาแฟดอยตุง ‘แบล็คซิลค์เบลนด์’ (Black Silk Blend) เสิร์ฟบนเครื่อง และยังนำเอาช็อคโกแล็ค ‘กานเวลา’ (Kanvela) จำหน่ายบนเครื่องด้วย 

ส่วนหลักคิดแรก คือ FROM PLANES TO PLANET – การบินเพื่อสิ่งแวดล้อม การบินได้นำวัสดุเหลือใช้จากเครื่องบิน เช่น ผ้า อะไหล่ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ มาพัฒนาเพิ่มมูลค่า เช่น การนำเครื่องยนต์มาทำโต๊ะ หรือ รถเข็นถาดที่หมดสภาพ นำมาสร้างมูลค่าปรับปรุงและตกแต่งใหม่ขายให้คนที่สนใจเก็บเป็นคอลเลคชั่น ซึ่งที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี 

หลักคิดสุดท้าย คือ FROM PURPLE TO PURPOSE – จากใจสู่เป้าหมายเพื่อความยั่งยืน การบินไทยจะดำเนินธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนด้าน ESG โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการนำสินค้าไทยออกสู่ตลาดสากล การบินไทยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก 

“เรามีแบรนด์ Zero Waste Living อีกหน่อย ในไทยช้อปเราจะเอาของพวกนี้มาขาย แนวคิดคือชีวิตที่ปราศจากขยะ เราคิดครบวงจร เราจะเป็น Thai Shop ที่ผู้ซื้อสามารถมาจับจ่ายซื้อของและนำของเหลือใช้ หรือเสื้อผ้าไม่ใช้แล้วมาทิ้งที่เราได้ เราจะทำให้ครบลูปเลย โดยเรามี ESG เป็นวัตถุประสงค์ ไม่ใช่รายได้”

ส่วนเรื่องของการปรับตัวใช้เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) หรือน้ำมัน SAF ขณะนี้ การบินไทยกำลังทำงานร่วมกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เพื่อหาคำตอบเรื่องความพร้อม ปริมาณการผลิต เรื่องราคา มาตรการที่ออกมาจะเป็นแบบไหนจะเป็นภาคบังคับหรือการส่งเสริม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ในเส้นทางการบินที่บินเข้าสู่ประเทศที่มีมาตรการด้านน้ำมันเชื้อเพลิง SAF แล้ว เช่น เส้นทางยุโรปในบางประเทศ ใช้มาตรฐานของประเทศปลายทาง 1-3% การบินไทยได้ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว และก่อนหน้านี้ ในช่วงปี 2554-2555 บริษัทเคยใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ Bio Jet Fuels มาแล้ว โดยการบินไทยถือเป็นสายการบินแรกในเอเชียแปซิฟิกที่ใช้น้ำมันรุ่นนี้บินไปเชียงใหม่

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต กับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง SAF คาดว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าองค์กร ที่จะใส่ใจกับมาตรการนี้มากขึ้น รวมทั้งการปฏิบัติตาม ESG ของสายการบิน แต่ในส่วนลูกค้าบุคคลคาดว่าจะไม่เยอะมาก เพราะงานวิจัยจากหลายที่ระบุว่า ถ้าคุณต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาการเดินททาง เพื่อไป absorb เรื่องของสิ่งแวดล้อม คุณจะยอมจ่ายไหม ส่วนใหญ่ได้คำตอบว่ายอมจ่าย 

“คนก็ยังเดินทางอยู่ และโลกวันนี้เล็กลงเรื่อยๆ ปริมาณการเดินทางเติบโตขึ้นทุกปี และคนมีความตระหนักรู้ในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ดีมานท์ยังเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ แม้อัตราการเกิดจะลดลงทั่วโลก”

ดังนั้น สิ่งที่การบินไทยพยายามเดินหน้าตามแนวยุทธศาสตร์ 3 หลักการ ถือว่าตอบโจทย์การขยายและการเติบโตของธุรกิจการบินทั้งในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างดี 

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

UNGCNT ยกระดับแก้ปัญหาทุจริต เพิ่มความโปร่งใสธุรกิจ

UNGCNT ผนึกกำลังภาครัฐ ยกระดับการแก้ทุจริต เพิ่มความโปร่งใสหนุนธุรกิจไทยเติบโตยั่งยืน ชู 3 แนวทางแก้ปัญหา “ปรับปรุง-ทบทวน-ปฏิรูป”

You May Like