NIA จับมือ ทรู – สจล. เปิดตัว Waste Wise Station ดึง 5 นวัตกรรมล้ำ จัดการขยะครบวงจร ตั้งเป้าเป็นโมเดลธุรกิจสีเขียวแห่งกรุงเทพฯ
จักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ ทรู คอร์ปอเรชั่น และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดตัวโครงการนำร่อง “ฉลาดทิ้ง: สถานีจัดการขยะอัจฉริยะ” (Waste Wise Station) ย่านปุณณวิถี สู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบของเมืองนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการขยะอัจฉริยะครบวงจร พร้อมส่งเสริม ธุรกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และร่วมลดปริมาณขยะในเมืองใหญ่อย่างยั่งยืน

จุดเปลี่ยน “การทิ้ง” ให้กลายเป็น “โอกาส”
รศ.ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าุณทหารลาดกระบัง (KMITL) กล่าวว่า โครงการ “ฉลาดทิ้ง” ไม่ใช่แค่จุดรับขยะทั่วไป แต่คือ “สถานีอัจฉริยะ” ที่รวมเอาเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาช่วยคัดแยก จัดเก็บ และเชื่อมโยงขยะที่คัดแยกแล้วเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างถูกวิธี โดยใช้ 5 นวัตกรรมสำคัญ ได้แก่
- True E-Waste: ตู้รับขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมแสดงข้อมูลการลดคาร์บอน
- Oklin: เครื่องแปรเศษอาหารเป็นปุ๋ยชีวภาพ
- Circular: นำเสื้อผ้าเก่ามารีดีไซน์ สร้างมูลค่าใหม่
- Refun: ระบบจัดการและกระตุ้นการรีไซเคิลในสถานศึกษา
- Recycoex: รับขยะพลาสติกและน้ำมันเก่า เพื่อนำเข้าสู่ระบบรีไซเคิล

คิดครบทั้งระบบ – ตั้งแต่การทิ้งถึงการใช้ประโยชน์
รศ.ดร.คมสัน เน้นว่าโครงการนี้มุ่งสู่ Zero Waste Education สร้างระบบที่ทั้งให้ แรงจูงใจในการทิ้ง (Incentive) และ สร้างตลาดปลายทาง ให้ชุมชนได้ประโยชน์จริง เช่น การแปรขยะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ปุ๋ยชีวภาพ หรือสินค้าสำหรับจำหน่ายในชุมชน
ทางทรูเสริมว่าได้พัฒนา ระบบแจ้งเตือนและรายงานแบบเรียลไทม์ ทุกครั้งที่มีคนมาทิ้งขยะ เพื่อให้หน่วยงานจัดเก็บสามารถเข้ามาจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมที่ต่อยอดได้จริง – สร้างเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ย้ำว่า Waste Wise Station ไม่ได้เป็นเพียงโครงการ CSR แต่คือ “โมเดลธุรกิจ” ที่สามารถขยายผลในอนาคต โดยแบ่งสถานีขยะอัจฉริยะออกเป็น 5 รูปแบบหลัก ได้แก่
- รีเทลเวสต์ (ตั้งตามศูนย์การค้า/สถานีบริการ)
- คอมมูนิตี้เวสต์ (โรงเรียน วัด ชุมชน)
- แฟรนไชส์ (เปิดโอกาสลงทุน)
- อัพไซเคิลเทค (ต่อยอดเทคโนโลยี)
- การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ เพื่อการวัดผลและบริหารผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ศักดิ์ดา เหลืองสกุลทอง Head of True LAB บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทรู ดำเนินงานเรื่องของการบริหารจัดการขยะด้วยอิเลคทรอนิคมากว่า 10 ปี ทำให้ทรูและดีแทคมีขยะเข้าสู่ระบบการบริหารการอย่างถูกวิธีมาอย่างต่อเนื่องกว่า 2 ล้านชิ้น สำหรับโครงการนี้ จะเป็นเพิ่มนวัตกรรมเข้าไปอีก เนื่องจากทรูเป็นบริษัท Telcotech จึงมีการพัฒนาสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคและประเทศ ควบคู่กับการดูแลสังคม ซึ่งในแต่เราปี ทรูและดีแทคมีการจำหน่ายอุปกรณ์การสื่อสาร หรืออุปกรณ์ไอทีในแต่ละปีไปมากกว่า 1 ล้านชิ้น จึงต้องมีการพัฒนาวิธีจัดการขยะอิเลทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น การเพิ่มจุดรับขยะที่มีมากกว่า 400 จุดทั้ง สถานศึกษา ช้อปต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐ
อีกส่วนที่ต้องทำให้เกิด Zero Waste to Landfill ให้มากที่สุด จึงมีการทำให้การทิ้งเป็นเรื่องที่ง่าย โดยศึกษาข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ความทนทาน จากเดิมที่ 400 กว่าจุดที่ตั้งรับ เป็นกล่องกระดาษที่นำไปตั้งไว้ ปีนี้จึงพัฒนาขึ้นเป็น Vending Machine เพราะไม่ต้องการให้สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาเป็นขยะอีกต่อไป พร้อมทั้งทำให้รู้เมื่อนนำขยะมาทิ้ง เขาจะเห็นประโยชน์จากระบบการประมวลผลว่าขยะเหล่านั้นจะเกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง เช่น ขยะไม่ไปสู่หลุมฝังกลบ หรือการรีไซเิลไปเป็นสิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังมีระบบติดตาม และแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการทิ้ง มีระบบประมวลผล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และจากการทดลองตั้งสถานี Waste Wise Station ที่ตึกทรู ดิจิทัล พาร์ค มาราว 2 เดือน พบว่ามีผู้นำขยะมาทิ้งแล้วกว่า 20 กิโลกรัม
ส่วนแนวทางในการขยายโครงการ Waste Wise Station ไปยังจุดอื่นๆ พร้อมทั้งการขับเคลื่อนให้เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สร้างประโยชน์ต่อเนื่อง ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโปรเจเทสต์ลันแห่งนี้ ซึ่งจะมีการขยายผลต่อไปในอนาคตแน่นอน