“ดนตรีบำบัด” ศาสตร์คลายเครียดรักษาอาการซึมเศร้าก่อนคิดสั้น

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 26 Second

“ความเครียด” เป็นภาวะหนึ่งที่คนเมืองเป็นกันเยอะ โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะต้องเผชิญกับภาวะกดดันในการดำรงชีวิต ทั้งเศรษฐกิจ ปัญหาส่วนตัว และอื่นๆ

ที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิต ระบุว่ามีคนไทยอย่างน้อย 1.5 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อันเป็นต้นเหตุพื้นฐานมาจากความเครีดยสะสม ปี 2564 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง และ 70% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ยังคาดการณ์อีกว่า 1 ปีหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มดีขึ้น แนวโน้มของการฆ่าตัวตายในปี 65 กลับจะสูงถึง 10 เท่าจากปกติ เนื่องจากปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพที่ต้องเริ่มต้นใหม่ ทำให้เกิดความเครียด และหมดความหวังในการดำเนินชีวิต

“ความเครียด” ที่เกิดขึ้นในแต่ละคนมีจกหลากหลายสาเหตุ และมีหลากหลายวิธีบำบัดเพื่อคลายความเครียด ทั้งการช้อปปิ้ง การรับประทานอาหาร การท่องเที่ยว เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่า”ดนตรีบำบัด” ก็เป็นอีกหนึ่งศาสตร์แห่งเสียงที่มีความมหัสจรรย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาแล้วว่า ดนตรีนั้นสามารถกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองเพื่อมอบประโยชน์ให้แก่สุขภาพหลายประการ ซึ่งรวมถึงคลายความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า GEN HEALTHY LIFE ได้รวบรวมทริคเกี่ยวกับ “ดนตรีบำบัด” มาให้หนุ่มสาวคนเมืองหลวงได้นำไปปรับใช้กัน

ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าหนุ่มสาวในสังคมมีอาการเครียด หรือภาวะซึมเศร้ากันเป็นจำนวนมากขึ้น ส่วนเด็กเล็กบางกลุ่มก็พบว่ามีปัญหาเรื่องสมาธิสั้น ดังนั้นจึงมีการนำศาสตร์ดนตรีบำบัด มาเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นำมาช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต รวมถึงการบรรเทา ลดระดับความเจ็บปวดหรือความวิตกกังวล และความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าได้ เมื่อใช้ร่วมกับการบำบัดอื่นๆ นอกจากนี้ ดนตรียังช่วยกระตุ้นส่วนต่าง ๆ ของสมองให้รู้สึกผ่อนคลาย สร้างการจดจำที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

Happy Asian family grandchild with grandmother playing guitar and singing a song together at home.

สำหรับกิจกรรมดนตรีบำบัดมีอยู่ 3 วิธีหลัก ได้แก่

“การเล่นดนตรีบำบัด” หรือดนตรีเพื่อคลายเครียด วิธีนี้จะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออกให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น การเล่นเปียโน เพื่อช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก หรือ การร้องเพลง การตีกลองหรือเครื่องดนตรีต่างๆ เพื่อบำบัดความเครียด เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยกระตุ้นการรับรู้และเพิ่มความผ่อนคลายในชีวิตของเรา

“การสันทนาการดนตรีบำบัด” เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และ สังคมให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีกิจกรรมหลากหลายที่ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ความจำ และสมาธิ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย และ การหายใจ อาทิ การร้องคาราโอเกะกับเพื่อน ขยับร่างกายผ่อนคลายความเครียดกับการเต้นลีลาศ การเต้นแอโรบิกแดนซ์ ฝึกสมาธิ-เล่นโยคะ โดยใช้ดนตรีเข้ามามีส่วนร่วม

cheerful fun asian child boy singing loud play ukulele with exiting and energy ,asian male son make loud funny noise practicing ukulele online lesson at home stay home concept

“การฟังดนตรีเพื่อบำบัด” แก่นแท้ของการฟังดนตรีเพื่อบำบัดความเครียด หรือ พัฒนาการใช้ชีวิต ไม่จำเป็นต้องเลือกฟังเฉพาะดนตรีคลาสสิค หรือ เสียงธรรมชาติเท่านั้น เพราะเสียงดนตรีทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น ฮิพฮอพ แร๊ป ร็อค ก็สามารถผ่อนคลายอารมณ์เราได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล ว่ามีอารมณ์ร่วมไปกับดนตรีประเภทไหน

อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเหนื่อยล้า หรือ เครียดจากเรื่องราวรอบตัว ควรให้เวลาตัวเองพักผ่อนสัก 15-20 นาที แล้วเปิดเพลงโปรดฟังเพื่อปลอบประโลมจิตใจ ปล่อยความรู้สึกที่มีภายในใจให้ได้รับการผ่อนคลายอย่างเต็มที่

ต้องยอมรับเลยว่าการใช้ชีวิตในสังคมที่ทุกอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งเราตามไม่ทัน ประจวบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่ก่อให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลที่เข้ามาเขย่าจิตใจเราทำให้ไม่สามารถมีความสุขได้ “ดนตรีบำบัด” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าทางจิตใจ

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

พฤกษา เล็งเปิดศูนย์สุขภาพ โชว์ความสำเร็จ"โรงพยาบาลวิมุต"

พฤกษา เผยความสำเร็จ ปี 2565 กำไรโต 18% ตั้งเป้าปี 2566 ผุดศูนย์สุขภาพครอบคลุมทุกมุมเมือง สร้างรายได้ประจำโรงพยาบาลวิมุต หลังเติบโตก้าวกระโดด 4.7 เท่า พร้อมวางแผนเพิ่มสัดส่วนโครงการอสังหา เจาะกลุ่มระดับกลางขึ้นไปเต็มแม็กซ์

You May Like