‘ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์’กางแผน AOT พัฒนาธุรกิจยั่งยืน สร้าง Green Airport…Ep.1

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 12 Second

ธุรกิจการบิน ถือเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ให้ความใส่ใจกับการปรับตัว เพื่อลดภาวะโลกร้อน เพราะพลังงานที่ใช้จำนวนมหาศาล ทั้งที่ก่อนหน้านี้ สนธิสัญญาแก้ปัญหาโลกร้อน “ปารีส ปี 2015” ไม่ได้นับรวมอุตสาหกรรมการบินหรือการท่องเที่ยว ว่าเป็นปัจจัยก่อภาวะโลกร้อน

หากแต่ หลังจากนักวิจัยชาติตะวันตกเผยงานวิจัย ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมการบินและความเกี่ยวข้องธุรกิจการท่องเที่ยวตลอดช่วง 5 ปี นับจากปี 2552 ก่อให้เกิดก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศโลกมากถึงราว 4,500 ล้านตัน แถมด้วยรายงานจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ประมาณการตั้งแต่ปี ค.ศ.1999 ว่า เครื่องบินสร้างผลกระทบต่อภูมิอากาศมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเดียวราว 2-4 เท่า และยังมีผลการศึกษาโดยสหภาพยุโรปเมื่อปี ค.ศ.2020 รายงานว่า การปล่อยก๊าซที่ไม่ใช่คาร์บอนของเครื่องบิน ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 2 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยจากเครื่องบิน

ฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่า ก่อนหน้านี้ จะมีข่าวการเรียกร้องให้มนุษย์โลกลดการเดินทางด้วยเครื่องบิน มิเช่นนั้น จะต้องมีการปรับเพิ่มค่าโดยสาร เพื่อนำไปสนับสนุนกระบวนการกำจัดมลภาวะคาร์บอนไดออกไซด์…ซึ่งข้อเรียกร้องนั้น ใกล้และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจริงแล้ว

“ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์” ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือ ทอท. (AOT)

“ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์” ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือ ทอท. (AOT) เล่าว่า หน้าที่ของ AOT ไม่เพียงแค่ทำหน้าที่บริหารสนามบิน 6 แห่ง จากกว่า 30 แห่งในประเทศ ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ, ดอนเมือง, เชียงใหม่, แม่ฟ้าหลวง เชียงราย, ภูเก็ต, หาดใหญ่ ซึ่งรองรับ 95% ของไฟล์ที่บินทั้งในและต่างประเทศ และกำลังจะเพิ่มอีก 3 สนามบิน คือ กระบี่ บุรีรัมย์ และอุดรธานี AOT ยังต้องเตรียมความพร้อมด้านนโยบาย เพื่อให้สนามบินของไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก ซึ่งขณะนี้กำลังมีกลไกการตลาด ที่ไม่ใช่แค่การดัมพ์ราคา แต่รวมไปถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) ที่กฎกติกาโลกใหม่ เข้ามาเป็นกลไกสำคัญของการแข่งขัน ในฐานะผู้นำ ต้องทำความเข้าใจและกำหนดนโยบายรองรับมาตรการเหล่านี้ มิเช่นนั้น จะทำให้ติดกับดักตัวเองที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของโลก

กลยุทธ์สำคัญ ที่ AOT ดำเนินการภายในระยะ 2 ปีนี้ คือ การตั้งเป้า Carbon Neutrality หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน ที่จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่าไรในปี ค.ศ.2020 เราจะกลับไปปล่อยเท่านั้น และภายใน 4 ปี ที่ ดร.กีรติ ดำรงตำแหน่ง ผอ.ใหญ่ AOT ได้ประกาศ CO2 Reduction Plan คือ การรีดิวส์ CO2 ที่ปล่อยอยู่ปีละประมาณ 3 แสนตัน ให้เหลือครึ่งหนึ่ง หรือ 1.5 แสนตัน จากนั้น เป้า 10 ปี AOT จะเดินหน้าสู่ Net Zero Carbon

กิจกรรมต่างๆ ในการใช้บริหารสนามบิน ไม่ว่าจะการเดินทาง การนั่งแท็กซี่มาสนามบิน การกินอาหาร และอีกหลายๆ อย่าง ล้วนปล่อย CO2 ทั้งสิ้น โดยตัวเลขที่เห็นคือ การปล่อยคาร์บอนประมาณ 2.5-3 แสนตันต่อปี และยังมีอีกหนึ่งเซ็กเตอร์คือ เครื่องบินที่ปล่อยอีกประมาณ 1 ล้านตันต่อปี หรือคิดรวมเป็นสัดส่วน 5% จากคาร์บอนที่ประเทศไทยปล่อยต่อปีราว 300 ล้านตันต่อปี

จากกระบวนการของธุรกิจ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า AOT ปล่อยคาร์บอน สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมปีหนึ่งมหาศาล เพราะฉะนั้น AOT จึงเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานสำคัญ ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนกระบวนการลด Carbon Emission อย่างมีนัยยะสำคัญต่ออุตสาหกรรมการบินไทย

ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามกระบวนการลด Carbon Emission ของ AOT ได้ใน EP. ตอนจบได้ ที่นี่

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

"ญาญ่า อุรัสยา" ชวนส่งต่อเสื้อผ้ากันหนาวผู้เดือดร้อน กับ RE.UNIQLO

“ญาญ่า อุรัสยา” แบรนด์แอมบาสเดอร์ยูนิโคล่ ประเทศไทย ร่วมตอกย้ำความยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม และร่วมส่งเสริมสังคมไทย ต่อยอดโครงการ RE.UNIQLO ชวนร่วมส่งต่อเสื้อแขนยาวกันหนาวผู้ประสบภัยจาก 50,000 ตัว สู่ 3 องค์กร

You May Like