ตลาดสุขใจ 9 ปี สร้างรายได้เกษตรกร 214 ล้าน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 35 Second

สวนสามพราน-มูลนิธิสังคมสุขใจ ฉลอง 9 ปี ตลาดสุขใจ สร้างเงินหมุนเวียนเป็นรายได้เกษตรกรอินทรีย์ และชุมชน มากกว่า 214 ล้าน เผยขยายโอกาสการขาย เริ่มเปิดโซนวันธรรมดา ตั้งแต่ 11 พฤศจิกายน เป็นต้นไป

นายอรุษ นวราช เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ ผู้ริเริ่มการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล เปิดเผยว่า ตลาดสุขใจเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2553 จนถึงวันนี้เป็นระยะเวลา 9 ปี แล้ว มีจำนวนผู้บริโภค มาจับจ่ายซื้อของที่ตลาดสุขใจมากขึ้นทุกปี โดยรวมระยะเวลา9 ปี จำนวนกว่า 833,000 คน สร้างรายได้ให้เกษตรกรอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 16 กลุ่ม 180 ครอบครัว และชุมชนที่ได้เปิดพื้นที่เข้ามาจำหน่ายอาหารอย่างต่อเนื่อง รวมเป็นเงิน หมุนเวียนในตลาดและเป็นรายได้ตรงถึงเกษตรกรอินทรีย์และชุมชนตลอดระยะเวลา 9 ปี รวมมูลค่าประมาณ 214 ล้านบาท

การเปลี่ยนแปลงของตลาดสุขใจ ในปี 2562 ซึ่งมีการปรับพื้นที่ตลาดสุขใจใหม่ และดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์แล้วว่า นอกจากการปรับพื้นที่แล้ว ในส่วนคุณภาพมีการยกระดับความเป็นอินทรีย์ และการจัดพื้นที่เพื่อสะท้อนการทำงานร่วมกันของกลุ่มเกษตรกรภายใต้ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม

การปรับพื้นที่บริเวณตลาดสุขใจใหม่ ให้เชื่อมโยงกับโซน Patom Organic Village และกิจกรรมในสวนสามพราน ซึ่งมีการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล เพื่อให้ทุกคนเห็นความเชื่อมโยงของเส้นทางวัตถุดิบและอาหารตั้งแต่ต้นทางการผลิต การแปรรูป และมาสู่ผู้บริโภคที่ตลาดสุขใจ โดยจากการปรับปรุงนี้ทำให้ผู้บริโภค ได้รับความสะดวกในการซื้อสินค้า รวมถึงได้เห็นการขับเคลื่อนเกษตรกรอินทรีย์ ที่แต่ละร้านจะมีป้ายชื่อกลุ่มเกษตรกร รวมถึงใบประกาศข้อตกลงร่วม (PGS) ของทั้งตลาดสุขใจและของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนร้านค้าทั้งสิ้นจำนวน 53 ร้าน และมีการกำหนดให้อาหารที่จำหน่ายในตลาดให้มีวัตถุดิบอินทรีย์อย่างน้อย 70% ขึ้นไป

ตลาดสุขใจยังมีนโยบายGo Green มีการจัดการขยะอย่างครบวงจร และงดการใช้ถุงหิ้วพลาสติด หลอดพลาสติก ขวดพลาสติก พร้อมส่งเสริมให้ผู้บริโภคนำถุงผ้า ตะกร้า มาช้อปด้วย โดยตลาดสุขใจเปิดทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น. อย่างไรก็ตามในโอกาสครบรอบ 9 ปี และจากความต้องการผลผลิตอินทรีย์ของตลาดที่มีมากขึ้น

นายอรุษ กล่าวว่า จะขยายโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร โดยจะเริ่มเปิดตลาดสุขใจในวันธรรมดา ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ในช่วงแรก จะเริ่มจากการเปิดส่วนของศูนย์อาหาร ส่วนขนม ของฝาก เสื้อผ้า และผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ที่มีความพร้อม และร้านวิสาหกิจเพื่อสังคมสุขใจออร์แกนิกโดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลาเวลา 10.00– 16.00 น.

ทั้งนี้ ยังมีการเปิดร้านจำหน่ายสินค้า Patom Shop บริเวณตลาดสุขใจ เพื่อให้ผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว ได้มีแหล่งซื้อผลิตภัณฑ์และขนมของฝาก ที่ใช้วัตถุดิบอินทรีย์จากการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ที่มีการลงพื้นที่ไปทำงานและวางแผนร่วมกับเกษตรกรอินทรีย์ในเครือข่ายสามพรานโมเดลเพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายและการจัดการผลผลิตให้เกษตรกรรวมถึงยกระดับคุณค่า ประโยชน์ ของพืชผักสมุนไพรอินทรีย์ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถติดตามข่าวสารความคืบหน้า รายละเอียดเกี่ยวกับตลาดสุขใจ หรือติดต่อเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล ธุรกิจเกื้อกูลสังคม และการเปิดตลาดสุขใจวันธรรมดาได้ทาง Face book ตลาดสุขใจ

ตลาดสุขใจ ในสวนสามพราน ภายใต้มูลนิธิสังคมสุขใจ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดงาน”ครบรอบ 9 ปี ตลาดสุขใจ” พร้อมเปิดแนวคิดการยกระดับตลาดสะท้อนการรวมกลุ่มของเกษตรกรอินทรีย์อย่างเข้มแข็งภายใต้ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม (PGS) การบริหารจัดการตลาดอย่างมีระบบและมีส่วนร่วม

สะท้อนการเติบโตของสังคมอินทรีย์โดยเฉพาะความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการวัตถุดิบอินทรีย์และการเรียนรู้มากขึ้น รวมถึงสะท้อนความต้องการของผู้ประกอบการ องค์กร ที่ต้องการมาเรียนรู้วิถีการดำเนินธุรกิจเกื้อกูลสังคม หรือสามพรานโมเดล ที่มีการเชื่อมโยงห่วงโซ่ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของสวนสามพราน ที่นำไปสู่การเปิดตลาดสุขใจ การขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่องรวมถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Thai Organic Platformเชื่อมโยงห่วงโซ่อินทรีย์ทั้งระบบ และให้ผู้บริโภคเข้าถึงสังคมอินทรีย์ และเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ปักหมุดจุดเผือก...ลดพื้นที่เสี่ยง

ประชาชนและองค์กรภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง ประสานความร่วมมือ ปักหมุดจุดเผือกพื้นที่เสี่ยงต่อการคุกทามทางเพศมากกว่า 600 หมุด จากโครงการ First Pin “ปักหมุดจุดเผือก” พร้อมเปิดข้อมูลพื้นที่ที่มีความร่วมมือ ปักหมุดจุดเสี่ยงต่อการคุกคามทางเพศ

You May Like