“ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเลและรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้นในเฟสบุ๊คส่วนตัว เกี่ยวกับ”ปลาซีลาคานธ์”ปลาเก่าแก่ ที่ยังมีชีวิตอยู่จริง มิได้สูญหายตายจากไปเหมือนเหล่าไดโนเสาร์
บางคนเรียก “ปลาซีลาแคนซ์” แต่อ.ธรณ์ เรียก “ซีลาคานธ์” จะเรียกยังไงก็แล้วแต่ แต่เธอคือ “ฟอสซิลที่มีชีวิต” อย่างแท้จริง
“อ.ธรณ์” โพสต์เล่าเรื่องราวเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ไว้ว่า…
คณะประมงจัดตั้งมาพร้อมม.เกษตรศาสตร์ เมื่อ 80 ปีก่อน เมื่อคืนมีงาน มีนกรคืนถิ่น คอนเซปต์ปีนี้คือปลาซีลาคานธ์ บ่งบอกว่าเราเก่าแก่แต่ไม่สูญพันธุ์
ผมไม่ได้ไปร่วมงาน แต่มาตามหาซีลาคานธ์ที่ญี่ปุ่น ?
การตามลงเอยที่ Namazu ที่นี่มี coelacanths discovery center ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลลึก
มิวเซียมยอดเยี่ยมมากจนขอเก็บไว้ก่อน มาเน้นที่น้องคานธ์เป็นหลัก
เพื่อนธรณ์คงพอทราบว่าซีลาคานธ์เป็น living fossil ปลาที่เข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว65 ล้านปี
แต่จู่ๆ ก็โผล่มาเฉยเลย เย้ ! ?
เรื่องราวของซีลาคานธ์เป็นตำนานสุดพีคของนักธรรมชาติวิทยาทั่วโลก ทั้งหมดเริ่มต้นในค.ศ.1938 ที่เมือง east london แอฟริกาใต้ (อย่าสับสนกับชื่อเมืองครับ)
คุณ Marjorie Courtenay-Latimer สาวประจำพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ในเมืองนั้น ได้ยินว่ามีปลาประหลาดที่ตลาดปลา เธอจึงลองไปดูว่าปลาอะไร
ปลาที่เธอเจอ พิลึกเหลือหลาย เธอยิ่งดูยิ่งงง จนตัดสินใจเขียนจดหมายไปหาผู้เชี่ยวชาญ Smith ที่มหาลัยในเคปทาวน์
เธอวาดรูปไปด้วยครับ และท่าทางของมิสเตอร์สมิทธตอนอ่านจดหมาย เป็นเหมือนภาพการ์ตูนที่ผมนำมาให้ดู
เย้ !!!!
แม้ตัวอย่างจะไม่สมบูรณ์ แต่พอบอกได้ว่าจะใช่ ผู้เกี่ยวข้องจึงพยายามหาตัวอย่างเพิ่มเติม จนมาเจออีกครั้งที่โมซัมบิกในเวลาหลายปีต่อมา
ยังมีเหตุการณ์น่าตื่นเต้นเมื่อปี 1997 เมื่อมีผู้พบปลาซีลาคานธ์ที่อินโดนีเซีย แต่มีแค่ภาพถ่าย
จนสุดท้ายยืนยันได้ว่ามีปลาชนิดนี้อยู่ที่อินโดเช่นกัน แต่ไม่ใช่ชนิดที่พบในแอฟริกา
นั่นคือความเป็นมาของปลาเทพ คราวนี้เรามาดูว่าภายในศูนย์มีอะไรบ้าง
บอกเลยว่าแจ่มสุด ไม่เคยเห็นที่ไหนเน้นๆ แบบนี้มาก่อน ใช้ทุกสื่อเพื่ออธิบายซีลาคานธ์
ผมเคยเห็นซีลาคานธ์ในมิวเซียมบางแห่งมาแล้ว แต่เทียบที่นี่ไม่ติด
เริ่มจาก ปลา AI คุยกับหนูดาวแจ๊ดๆ (ดูภาพ) แต่ฟังไม่รู้เรื่องเลย ?
ตามด้วยคานธ์เมะ เล่าประวัติการเจอปลาได้น่าสนใจสุดๆ ภาพตลกดีมาก
ตามด้วยตัวอย่างของจริง 3 ตัวรวด ทั้งแช่น้ำแข็งทั้งสตัฟฟ์ เป็นอะไรที่กรี๊ดสุด
แต่กรี๊ดสุดกว่าคือร้านขายของที่ระลึก มีคานธ์ทุกแบบตามสไตล์ญี่ปุ่น ขนม ถุง เสื้อตุ๊กตา แทก ฯลฯ เห็นแล้วแทบลงไปดิ้นด้วยความอยากได้
ผมต้องกลับไปช่วยทำ ศูนย์อนุรักษ์โลมาอิรวดีที่ทะเลสาบสงขลา ได้ไอเดียไปเยอะมากครับ
จากข้อมูลต่างๆ ขอสรุปให้เพื่อนธรณ์ฟัง ดังนี้
ซีลาคานธ์เป็นปลาน้ำลึก ปรกติที่ 100-500 เมตร อาศัยอยู่ในถ้ำพักผ่อนตอนกลางวัน เพื่อประหยัดพลังงานสุดๆ ตกกลางคืนจึงค่อยออกมาหากิน
ปลาที่อยู่ลึกทำให้คนไม่เคยเจอ นานทีถึงขึ้นมาในที่นื้นระดับ 60-100 เมตร จึงมีคนตกได้แต่ไม่บ่อยแน่นอน
อาหารหลักของปู่คานธ์คือปลาหน้าดินและหมึกทะเลชนิดต่างๆ
ซีลาคานธ์มี 8 ครีบ โดดเด่นเห็นชัดต่างจากปลาใด ครีบเป็น lobe-finned fish ครีบคล้ายระยางค์ ปัจจุบันมีแค่ปลาปอด lungfish กับซีลาคารธ์เท่านั้นที่มีครีบแบบนี้
ปลาที่เหลือเป็น ray-finned fish ครีบเป็นหนังหุ้มก้านครีบข้างในครับ
ซีลาคานธ์เป็นปลาขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 2 เมตร น้ำหนัก 90 กิโล
มีเพื่อนธรณ์ถามว่ากินได้ไหม ? หายากมากครับ สมัยก่อนเขาตกได้ลองชิมดูแล้วไม่อร่อยเลย จึงทำเป็นปลาเค็มขาย แต่มีน้อยมากๆ
IUCN ปรพเมินว่า ถ้าเป็นสายพันธุ์แอฟริกา น่าจะมีน้อยกว่า 500 ตัว อยู่ระดับcritically endangered
ถ้าเป็นพันธุ์อินโด ยังไม่ค่อยทราบข้อมูล แต่เชื่อว่าน่าจะมีหลักพัน
ที่สำคัญคืออายุครับ จากการศึกษาพบว่าตัวที่เคยจับได้อายุ 84 ปี จึงเชื่อว่าอาจอายุยืนเกิน 100 ปี แถมยังเป็นสาวช้ามาก กว่าจะถึงวัยเจริญพันธุ์ต้องอายุ 55 ปี
55 ปี ! เป็นคนก็ป้าแล้วฮะ ?
ปลายังตั้งท้องนานมาก นานถึง 5 ปี ?
เรื่องใดๆ เกี่ยวกับซีลาคานธ์ล้วนพิสดารหมดเลย อย่าลืมว่าเธอคือสิ่งมีชีวิตที่ฝ่าฟันกาลเวลา ทำในสิ่งที่ไดโนเสาร์ใดๆ มิเคยทำได้
ทีเร็กซ์/แรปเตอร์ จะเจ๋งแค่ไหน สุดท้ายก็ตายหมด แต่ปู่คานธ์ยังคงอยู่ ผ่านกาลเวลา 65 ล้านปี ก็ยังไม่ตาย
นี่คือสุดยอดปลาขนาดแท้ และนี่คือเรื่องราวอันเป็นที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่ไม่พ่ายแพ้ต่อเวลา
เฉกเช่นเดียวกับคณะประมง สถาบันการเรียนการสอนเรื่องแหล่งน้ำและสัตว์น้ำ เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
เราเกิดเมื่อ 80 ปีก่อน และจะคงอยู่ต่อไป สืบสานงานที่บูรพาจารย์และเหล่านิสิตมีนกรรุ่นบุกเบิกแผ้วทางไว้
เพื่อเป็นหลักในด้านวิชาการ เคียงข้างประเทศไทย จากอดีตไปสู่อนาคตครับ…
?