“Pride Month” มิถุนายน 2567 เตรียมฉลอง “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” ทางเลือกที่เลือกได้แล้ว สำหรับกลุ่ม LGBTQ+ หรือ ผู้มีความหลากหลายทางเพศไทย หลังสภาฯ ผ่าน กม. พร้อมแนะเกาะติดสวัสดิการภายในองค์กรให้ความเท่าเทียมได้ไหม
“Pride Month” มิถุนายน 2567 ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี สำหรับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) (ภาคประชาชน) หรือร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ภาคประชาชน ที่ขับเคลื่อนมานานกว่า 23 ปี
ณชเล บุญญาภิสมภาร รองประธานมูลนิธิข่ายเพื่อนกะเทย เพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ ได้ถูกขับเคลื่อนมาคั้งแค่ปี ค.ศ.2012 เพื่อให้ผู้มีความหลากหลายททางเพศ สามารถเลือกใช้คำนำหน้านาม หรือตัวที่ระบุเพศที่ตรงกับตัวเอง หรือจะเป็น Gender X ก็ได้ โดยกลางเดือนมิถุนายนจะมีการโหวต พ.ร.บ.ฉบับนี้ และประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2567 นี้ จะมีการนำกฎหมายฉบับนี้เข้าสภาฯ เพื่อให้รับบาลดำเนินการด้านนิติบัญญัติเพื่อขับเคลื่อนให้เป็นกฎหมายของประเทศต่อไป
สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะทำให้ทุกเพศสามารถสมรสกันได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และจะมีสถานะเป็น “คู่สมรส” แทนคำว่า “สามีภริยา”
สมรสเท่าเทียม คือ การสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่จำกัดเฉพาะชายและหญิงเท่านั้น แต่จะครอบคลุมทุกเพศสภาพ ทั้งเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวด้านกฎหมาย เสนอแนะว่า พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมกำลังจะออก แต่ปัจจัยที่มีสวนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสวัสดิการภายในองค์กรของกลุ่มคนเหล่านี้ จะเป็นอย่างไร ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร ต้องพิจารณาอย่างเท่าเทียม
“พอ พ.ร.บ.ออก จะกระทบกับทุกองค์กร เรื่องสวัสดกิาร เรื่องสมรสชายชาย มันต้องเตรียมตัว ตรงนี้เมื่อออกมาเขาจะมีผลกระทบเขาจะต้องดูเรื่องสวัสดิการ”
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการรับรองบุตรบุญธรรมที่จะตามออกมาอีก องค์กรต้องมีความเข้าใจ เพราะหลังจากพ.ร.บ.ประกาศออกมาเรียบร้อย จะประกาศให้ทุกองค์กรใช้ภายใน 180 วันหลังจากนั้น สิ่งที่จะตามมา คือ ผลกระทบด้านสวัสดิการนี้ และเราต้องทำเรื่องการสนับสนุนการยอมรับในความหลากหลาย
สาระสำคัญ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม”แบบคร่าวๆ ประกอบด้วย
- บุคคล 2 ฝ่ายทุกเพศสามารถสมรสกันได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- สถานะเป็น “คู่สมรส” แทนคำว่า “สามีภริยา”
- ส่วนสิทธิประโยชน์สมรสเท่าเทียม “คู่สมรส”
- สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส
- สิทธิรับบุตรบุญธรรม
- สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
- สิทธิได้รับประโยชน์ และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิประกันสังคม
- สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
- อื่น ๆ