มหิดล ระดมทุน 1,000 ล้านพัฒนา “โรงงานยาที่มีชีวิต” พลิกโฉมการรักษา

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 20 Second

มหิดล เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ สร้างแพลทฟอร์มการทำงาน พร้อมระดมทุน 1.000 ล้าน นำเทคโนโลยีผลักดันงานวิจัยสู่การรักษามะเร็งด้วยเซลล์บำบัด พร้อมเล็งขยายการรักษาสู่โรคอื่นๆ ทั้ง ธาลัสซีเมีย เอสแอลอี

รศ.ดร.วิชิตา รักธรรม รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการร่วมมือระหว่างมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์ฯ และมหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน “Human Intreraction for Systemetic Innovation” ที่เป็นการรวมตัวของนวัตกรระดับโลก กูรูด้านบริหารจัดการและนักวิจัยด้านการแพทย์ ระดมสมองผ่านกระบวนการ Systematic Framework ที่ทำให้เกิดนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ยังเป็นการ Kickoff โครงการระดมทุนเพื่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้เซลล์แทนเคมีบำบัดกองทุนมูลนิธิมหิดลเพื่อความยั่งยืน มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำมาพัฒนา “โรงงานยาที่มีชีวิต” หรือ MU-Bio Plant สร้างยาจากเซลล์ที่มีชีวิต (Living Drug) เป็นกลุ่มยา ATMP แห่งแรก เพื่อขยายผลสู่การผลิตยาเพื่อผู้ป่วยมะเร็งและโรคร้ายแรงในประเทศไทย และภูมิภาค ตอบโจทย์ความท้าทายทางสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต

“โรงงานยาที่มีชีวิต” เป็นโรงงานเดิมของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีอยู่แล้ว และใช้เพื่อการพัฒนานวัตกรรมยาต่างๆ แต่เนื่อองจากเครื่องมือและเทคโนโลยีที่มีอยู่ ยังไม่พร้อมสำหรับการสร้างยาจากเซลล์ที่มีชีวิต (Living Drug) ซึ่งต้องใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยเบื้องต้นคาดว่าใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทในการจัดหา ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งกองทุนมูลนิธิมหิดลเพื่อความยั่งยืนขึ้นในปี 2568 เพืื่อระดมทุนสำหรับดำเนินการดังกล่าว ซึ่งหากสามารถดำเนินการสำเร็จ จะเป็นการพลิกโฉมการแพทย์ของไทยได้เลย เพราะจะสามารถนำเมาทดลองทำที่โรงงานแห่งนี้ และส่งต่อไปยังโรงงานขนาดใหญ่เพื่อขยายสเกลต่อไป

ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยวิธีการสร้างยาจากเซลล์ที่มีชีวิต (Living Drug) ซึ่งเป็นการนำชิ้นเนื้อมะเร็งจากผู้ป่วย นำมาตรวจความผิดปกติ แล้วนำมาผลิตเป็น mRNA ฉีดกลับเข้าไปรักษาในร่างกายคนไข้ ตอนนี้ทั่วโลกกำลังทำกันอยู่ แต่ต้นทุนการรักษาอยู่ที่ราว 60 ล้านบาทต่อคน แต่หากสามารถระดมทุนและพัฒนาโรงงานแห่งนี้ขึ้นมาได้ อนาคตคนไทยจะสามารถรักษาได้ด้วยค่าใช้จ่ายราว 5-6 ล้านบาทต่อคนเท่านั้น และยังสามารถต่อยอดไปสู่การทดลองวิจัย และรักษาโรคเฉพาะบุคคล อาทิ ธาลัสซีเมีย และเอสแอลอี รวมถึงโรคอื่นๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

เบื้องต้นคาดว่าจะดำเนินการระดมทุนในส่วนนี้ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยและประชากรโลก ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายราคาสูงๆ โดยขณะนี้มหิดลได้ทดลองรักษาด้วยวิธีดังกล่าวกับคนไข้มะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อคีโมแล้วประมาณ 10 คน ซึ่งได้ผลดี ส่วนด้านบุคลากรและนักวิจัยที่จะเข้ามาซัพพอร์ตการทำงานพร้อมอยู่แล้ว

ด้าน Prof. Steven Eppinger, Massachusetts Institute of Technology, Sloan School of Management ที่มาให้ความรู้และ สร้างแรงบันดาลด้านทักษะกระบวนการคิดและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ Systematic Innovation through Human-Centered Design ซึ่งนำเรื่องของกระบวนการ Design Thinking มาใช้ในกระบวนการพัฒนางานนวัตกรรม และการสร้างนวัตกรรมการรักษา ได้ชี้ให้เห็นถึงขั้นตอนบางอย่าง ที่ไทยยังต้องพัมนาเพิ่มเติม

รศ. ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

รศ. ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สิ่งที่มหิดลพยายามทำวันนี้ คือ การจัดสร้างกองทุนขึ้นมาซัพพอร์ต หากมีความต้องการค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมการรักษาใด จะทำให้สามารถสร้างแซนบ็อกซ์ทดลองทำขึ้นมาก่อนได้ทันที ก่อนที่จะของบสนับสนุนจากภาครัฐหรือภาคเอกชน

การดำเนินงานเกิดขึ้นได้จริง ไปสู่ผลสำเร็จใน Real World Impact คือ นอกจากจะพัฒนา ด้วยระบบการให้บริการงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่แล้ว ยังมีเรื่องงานวิจัยยาและการรักษาที่เป็นความหวังของผู้ป่วย สิ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้นก่อนคือ การ Synergy และ Collaborate ที่จะช่วยขับเคลื่ออนให้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้จริง และเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว มหิดลทำหน้าที่สร้างแพลทฟอร์มทำให้แต่ฝ่ายมารู้จักกัน ทำงานร่วมกัน โดยการทลายกำแพงของคณะ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการประสานงานทำงานร่วมกัน แล้วนำเทคโนโลยีเอไอเข้ามาเสริม ทำให้สเกลงานสามารถเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุด

ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง

ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง หัวหน้าโครงการโรคมะเร็งในเด็กและอาจารย์แพทย์สาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา และกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า สิ่งที่จะทำให้การขับเคลื่อนเกิดพลังและความสำเร็จ คือ การ Collaborate และการสื่อสาร รวมทั้งนโยบายที่ต้อองมมีความชัดเจน ทำให้แพทย์และนักวิจัยสามารถทำงานได้ ข้ามสายงานได้

รวมทั้งต้องมีผู้จัดการโปรเจคที่ชัดเจน สามารถเข้ามาทำหน้าที่เชื่อมต่อและแนะนำการทำงานให้ราบรื่น โดยต้องดูแลด้วยความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ งานทุกอย่างจึงจะสามารถลุล่วงไปสู่เป้าหมายได้

ผู้สนใจสามารถร่วมสมทบทุน ‘กองทุนมูลนิธิมหิดลเพื่อความยั่งยืน’ ได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บัญชีออมทรัพย์ชื่อบัญชี “มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล”เลขที่บัญชี 157-1-324-344 ทุกการบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

จระเข้ ผลักดัน 5 กลยุทธ์ ร่วมขับเคลื่อนเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์”

จระเข้ ร่วมสร้างเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” ชูกรอบ 3P: Process–Planet–People ผ่านเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 5 ข้อ ลดคาร์บอน ลดขยะ ลดสารพิษ เพิ่มสิน้าที่เป้นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต

You May Like