มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เปิด 14 เครือข่ายโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 24 Second

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ประกาศความสำเร็จร่วมมือภาคเอกชน 14 องค์กร ปลดล็อค พ.ร.บ.ป่าชุมชน ทำให้ปิดพื้นที่ขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตได้ 1 แสนไร่ ร่วมกับป่าชุมชน 77 แห่ง ปีหน้าผนึก กรมป่าไม้และชุมชน ขยายผลต่อยอดการเสนอพื้นที่อีก 1.5 แสนไร่ ให้เอกชนร่วมพัฒนา สร้างความยั่งยืนทรัพยากรธรรมชาติและประเทศ

หม่อมหลวงดิสปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ใช้ประสบการณ์และความรู้ความสามารถ จากการ “ปลูกป่า ปลูกคน” เกือบ 40 ปีในการฟื้นฟูป่าอนุรักษ์ที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ขยายผลต่อยอดความร่วมมือสู่ภาคเอกชน 14 องค์กร โดยทำงานร่วมกับกรมป่าไม้ และชุมชน ร่วมบริหารจัดการพื้นที่ป่า อีก 1.5 แสนไร่ในปี 2567 เพื่อให้ภาคเอกชนร่วมสนับสนุน

เกือบ 40 ปี ที่เกิดมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ขึ้นมา มูลนิธิได้ดำเนินการช่วยเหลือชุมชน พร้อมให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาป่า โดยเริ่มต้นจากการร่วมมือกับ 6 กระทรวง 35 หน่วยงาน ปลูกป่ากว่า 4 แสนไร่ ทั้งเชียงราย และน่าน จากปัญหาที่ว่า “คนหิว ป่าหาย” ที่ยังมีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ก็ดำเนินการขยายความร่วมมือมาเรื่อยๆ

“วันนี้ ความร่วมมือที่ผ่านมา ได้สร้างผลลัพธ์ล่าสุด คือ การสร้างพื้นที่คาร์บอนเครดิตได้ 100,000 ไร่ ดูแล 77 ชุมชน 12,721 หลังคาเรือน ความสำเร็จของแม่ฟ้าหลวงวันนี้ จะนำไปสู่ก้าวต่อๆ ไป ให้เกิดการขยายผล ให้ประเทศได้มีโอกาสดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และในปีหน้า ยังจะทำงานร่วมกับกรมป่าไม้ และชุมชน เพิ่มพื้นที่อีก 150,000 ไร่ ส่งต่อภาคเอกชน ในโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป”

จากปัญหา “คนหิว ป่าหาย” ได้กลายมาเป็นการ “ปลูกป่า ปลูกคน” มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้นำความเชี่ยวชาญบริหารจัดการทรัพยากรอย่างถูกต้อง ให้คนอยู่กับป่าอย่างสมดุล ป่าจะสามารถเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้ชุมชนและประเทศได้ด้วยมาปรับใช้กับป่าชุมชนใน พ.ศ. 2563 ร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนริเริ่ม “โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) ภาคป่าไม้ ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดยเชื่อว่าคาร์บอนเครดิตเป็นกลไกที่ตอบโจทย์ให้ชุมชนดูแลป่าและดูแลตัวเองได้พร้อมๆ กัน ช่วยลดการสูญเสียพื้นที่ป่า ลดอัตราการเกิดไฟป่าให้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 จากไฟป่า รวมทั้งมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาคนว่างงาน และหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยภาคเอกชนในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจได้ด้วย

การดำเนินงานในช่วงสามปีแรก โครงการได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนชั้นนำหลายบริษัท และมีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ ปัจจุบัน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ขยายพื้นที่พัฒนาเพิ่มขึ้นครอบคลุม 143,496 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตประมาณ 100,000 ไร่ ร่วมกับป่าชุมชน 77 แห่งในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ อำนาจเจริญ และยโสธร มีภาคประชาชนเข้าร่วม 39,092 คน และได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจ 14 แห่งมาร่วมแสดงเจตนารมณ์ในครั้งนี้ ได้แก่

1. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 5. บริษัท ปตท. นํ้ามัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) 6. บริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) 7. บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 8. ธนาคารออมสิน 9. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 10. บริษัท ยูนิชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด 11. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 12. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 13. บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และ 14. บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

ทั้งนี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ อยู่ในระหว่างการเตรียมแผนขยายการดำเนินงานโครงการในป่าชุมชนร่วมกับกรมป่าไม้เพิ่มเติมอีก 150,000 ไร่ ในปี 2567

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ป่าชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. การอนุรักษ์พื้นที่ป่าช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ

3. ภาคเอกชนและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน สอดรับนโยบายของรัฐบาลตามข้อตกลง COP26 ภายใต้นโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายใน พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ภายใน พ.ศ. 2608

สำหรับบทบาทของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คือ เป็นที่ปรึกษาให้ชุมชนในการจัดทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program หรือ T-VER ) เพื่อใช้ในการตรวจวัดประเมินคาร์บอนเครดิตในอนาคต และร่วมพัฒนาบุคลากรของชุมชนในการดูแลรักษาป่า เพิ่มศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังประสานงานกับภาคีต่างๆ ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และภาคเอกชนที่สนับสนุนโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดหลักของโครงการ ได้แก่ พื้นที่ป่าชุมชนที่เสียหายจากไฟป่า ปริมาณคาร์บอนเครดิต และการรวมกลุ่มสร้างอาชีพของชุมชน จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ

ส่วนบทบาทของภาคเอกชน ทำหน้าที่สนับสนุนงบประมาณ 2 ส่วน เพื่อ 1) สร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน 2) เตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ T-VER ที่ได้รับการรับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นำไปสู่การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตในอนาคต โดยทั้ง 2 ส่วนสามารถดำเนินการผ่านกลไกและกฎหมายที่มีอยู่แล้วได้ทันที รวมทั้งสนับสนุนความเชี่ยวชาญด้านการตลาด การพัฒนาสินค้า รวมถึงการอบรมพัฒนาศักยภาพชุมชน

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ตั้งแล้ว "กรมโลกร้อน" พร้อมทำงานทันที

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือ ‘กรมโลกร้อน’ มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันนี้ เผยพร้อมเดินหน้าทำภารกิจรับมือ Climate Change ทันที

You May Like