ราช กรุ๊ป ปัดหมุด SDGs ส่งเสริมการศึกษา-สร้างอาชีพมั่นคง สปป.ลาว

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 37 Second

ราช กรุ๊ป – กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป. ลาว ร่วมมือสานต่อ “โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว” ระยะที่ 3 ปี 2567-2573 พัฒนาการอาชีวศึกษาใน สปป. ลาว ส่งเสริมการสร้างความรู้และทักษะฝีมือด้านเทคนิคที่จำเป็นในอุตสาหกรรมและพลังงานทดแทนแก่ครูและนักเรียนอาชีวศึกษา ตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติเป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ และเป้าหมายที่ 8 งานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต 

นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ยึดมั่นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นส่งมอบคุณค่าแก่ชุมชนและสังคมในทุกพื้นที่ที่ดำเนินกิจการ นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ราชกรุ๊ป ได้สานต่อ “โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว” ระยะที่ 3 ปี 2567-2573 สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะฝีมือด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมและพลังงานทดแทนแก่ครูและนักเรียนอาชีวศึกษาของ สปป.ลาว

โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว ถือเป็นการดำเนินงานด้านสังค มตามกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการสร้างความผูกพันกับชุมชนและสังคมในพื้นที่ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่ง สปป. ลาว ถือเป็นฐานการดำเนินงานที่สำคัญของบริษัทฯ โอกาสนี้รัฐบาล สปป. ลาว โดยกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ยังได้มอบเหรียญตราพัฒนา (Cross of Development) ให้แก่บริษัทฯ เป็นครั้งที่ 2 ในฐานะองค์กรที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมของ สปป. ลาวอย่างต่อเนื่องกว่าทศวรรษ

ท่านสุลิอุดง สูนดารา รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว กล่าวว่า แผนพัฒนาประเทศของ รัฐบาล สปป. ลาว ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้นพัฒนาแรงงานทักษะขั้นสูงให้กับตลาดแรงงาน โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว ที่รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาดำเนินการร่วมกับบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มาตั้งแต่ปี 2554 ได้ช่วยเสริมสร้างพัฒนาทั้งความรู้และทักษะฝีมือแก่ครูและนักเรียนอาชีวศึกษา โดยเฉพาะในสาขาเชื่อมโลหะ ซ่อมบำรุง ทั่วไป เครื่องกล ไฟฟ้าควบคุม และพลังงานทดแทน ให้มีความทันสมัยและสอดรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น

จากการประเมินผลโครงการฯ ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 กรมอาชีวศึกษามีจำนวนครูที่ได้รับอบรมพัฒนา ศักยภาพรวมจำนวน 118 คน มอบทุนการศึกษาแก่ครูและนักเรียนสำหรับการศึกษาต่อรวม 51 ทุน พัฒนาและปรับปรุง ห้องฝึกปฏิบัติการของโรงเรียนเทคนิคให้ทันสมัยรวม 7 แห่ง และมีนักเรียนชั้นปีสุดท้ายจากวิทยาลัยเทคนิค 7 แห่ง ที่ได้รับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือก่อนจบการศึกษาเพื่อออกไปประกอบอาชีพในสาขาเป้าหมายรวม 1,646 คน ที่สำคัญคือ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ หลังจบการศึกษาได้งานทำ ได้ศึกษาต่อ รวมถึงเป็นผู้ประกอบการรายย่อยเอง ซึ่งๅ

ผลการประเมินการดำเนินโครงการระยะที่ 2 มีนักเรียนที่มีงานทำและศึกษาต่อ รวม 88.15%ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของ สปป. ลาว ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

สำหรับโครงการฯ ระยะที่ 3 ได้ปรับวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ สปป. ลาวสถานการณ์ของโลก และบริบทของสังคม โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมฐานการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติให้ทันกับความ ต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งยกระดับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคนิค ทักษะต่างๆ ตลอดจนทัศนคติการทำงานให้กับนักเรียน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีผลิตภาพ และสอดคล้องกับความคาดหวังของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมพลังงาน

รวมทั้งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะด้านพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นด้วยเนื่องจากปัจจุบันการเลือกเรียนสายอาชีวศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะมีตำแหน่งงานเปิดกว้างรองรับ และตลาดกำลังขยายตัวสูงขึ้นตามความมุ่งมั่นของสากลที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2593

โครงการฯ จะมีการสานต่อและยกระดับคุณภาพจากดำเนินงานระยะที่ 2 ที่ได้เริ่มจัดตั้งให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาแขวงคำม่วน สปป. ลาว เป็นศูนย์การเรียนรู้และต้นแบบการเรียนการสอนสาขาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ได้แก่ พืชพลังงาน พลังงานจากขยะ และพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะการติดตั้งและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

นอกจากนี้ โครงการฯ ยังจะดำเนินการขยายโอกาสการฝึกทักษะฝีมือให้กับกลุ่มคนที่อยู่นอกภาคการศึกษา ต่อเนื่อง โดยเป็นการจัดฝึกอบรมระยะสั้นด้านเกษตรกรรม หัตถกรรมให้แก่กลุ่มคนเปราะบางต่าง ๆ เช่น นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้พิการ ผู้ต้องหาชั้นดีที่ใกล้พ้นโทษ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพที่จะมาสร้างสรรค์สังคมและขับเคลื่อนประเทศร่วมกัน

“โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว” ได้ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2554 หลังจากบริษัทฯ จัดตั้งบริษัทย่อยใน สปป. ลาว โดยดำเนินการต่อเนื่องมา 2 ระยะ เป็นเวลา 12 ปีแล้ว และกำลังจะเข้าสู่การดำเนินงานระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่ปี 2567-2573

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ได้ให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ให้เกียรติเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการของโครงการฯ อีกทั้งโครงการนี้ยังมีส่วนร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของรัฐบาล สปป. ลาว 

นอกจากนี้ โครงการฯ ระยะที่ 3 ยังได้ยกระดับเป้าหมายไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) เป้าหมายที่ 4 การสร้างหลักประกันว่า ทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเน้นที่เป้าประสงค์การส่งเสริมเพิ่มจำนวนผู้ที่มีทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน และการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการขยายโอกาสด้านทุนการศึกษา การฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ และเพิ่มจำนวนครูที่มีคุณภาพผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ 

นอกจากนี้ ยังจะตอบสนองเป้าหมายที่ 8 การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน โดยจะเน้นส่งเสริม ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่นำไปสู่ความเสื่อมโทรมทางด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการฯ ระยะที่ 3 ให้ความสำคัญด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากขยะ และพืชพลังงาน โดยบริษัทฯ จะสนับสนุนการเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนให้กับครูอาจารย์ และ นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติภาคสนามในการติดตั้งและบำรุงรักษาแผงโซลาร์ในชุมชนท้องถิ่นที่ยังขาดแคลนไฟฟ้า ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังสอดคล้องกับเป้าหมายด้านสังคมของกลยุทธ์ความ ยั่งยืนบริษัทฯ เป็นอย่างดีด้วย โอกาสนี้ บริษัทฯ รู้สึกเป็นเกียรติและขอขอบคุณรัฐบาล สปป. ลาว ที่ได้มอบเหรียญตรา พัฒนาให้แก่บริษัทฯ อันเป็นการยืนยันถึงความสำเร็จของโครงการฯ ที่สามารถสร้างคุณค่าจรรโลงสังคมและ สปป. ลาวอย่างยั่งยืน

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ภาคอุตสาหกรรม ตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 7.2 ล้านตันคาร์บอนต่อปี

รมว.พิมพ์ภัทรา กระทรวงอุตสาหกรรม โชว์วิสัยทัศน์ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อโลก เพื่อเรา นำร่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 7.2 ล้านตันต่อปี ผ่านกลไก 3 ด้าน “คือ “Green Productivity, Green Marketing และ Green Finance” เผยสัปดาห์นี้เตรียมคลอดมาตรการอีวี 3.5

You May Like