วิชั่น-มิชชั่น CEO SCG”ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม”จัดหนัก Inclusive Green Growth

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:7 Minute, 3 Second

“ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม” ซีอีโอ ป้ายแดง นำทัพ SCG ผ่าน “Inclusive Green Growth” ขยายธุรกิจนวัตกรรมสีเขียว ด้วยงบกว่า 4 หมื่นล้าน พร้อม Aglie องค์กร สร้างการเติบโตที่แข็งแกร่ง เตรียมเพิ่มสัดส่วน “SCG Green Choice” จาก 54% เป็น 67% ภายในปี 2030 มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero 2050

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม หรือ พี่โป้ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ที่เพิ่งขึ้นรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ.2567 เขาคือหนึ่งในลูกหม้อเก่าแก่ของเอสซีจี ที่จบปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท MBA, London Business School สหราชอาณาจักร (Distinction)

ปี 2543-2547 เขานั่งเป็นผู้จัดการ eCommerce and eBusiness ของธุรกิจเคมิคอลส์ หลังจากนั้นปี 2547-2553 ก็ไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและวางแผนองค์กร ธุรกิจเคมิคอลส์ ปี 2555-2561 ถูกมอบหมายให้รับผิดชอบอภิมหาโครงการ Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) โครงการปิโตรเคมีครบวงจรขนาดใหญ่แห่งแรกที่ประเทศเวียดนาม

ธรรมศักดิ์ เปิดศักราชใหม่ของเอสซีจี ด้วยการประกาศผลประกอบการปี พ.ศ.2566 รายได้ 499,646 ล้านบาท กำไร 25,915 ล้านบาท รวมทั้งประกาศแผนปี พ.ศ.2567 กับแนวทาง “Inclusive Green Growth” การเติบโตในธุรกิจสีเขียวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พัฒนางานใน 4 ด้านหลักอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น 1. องค์กรคล่องตัว ยืดหยุ่น (Agile Organization) 2. นวัตกรรมกรีน (Green Innovations) 3. องค์กรแห่งโอกาส สร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ (Organization of Possibilities) และ 4. ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Society)

กลุ่มเอสซีจีเตรียมงบลงทุนราว 40,000 ล้านบาท ผลักดันทุกกลุ่มธุรกิจเติบโต ธุรกิจไหนแข็งแกร่ง สามารถเติบโตได้ด้วยตัวเอง เป็น Agile Organization เพิ่มความคล่องตัวด้วยการสปินออฟออกไป สร้างพอร์ตให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่ง ซีอีโอท่านนี้ ตั้งเป้าไว้ว่า ภายใน 2-3 ปี ควรจะต้องเติบโตเป็น 2 เท่า เช่น ‘บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP’ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ที่แยกตัวออกไปเมื่อ 3 ปีก่อน ด้วยผลการดำเนินงานล่าสุด 129,398 ล้านบาท และตั้งเป้าเพิ่มรายได้เป็น 150,000 ล้านบาท ในปีพ.ศ.2567

นอกจากนี้ ยังมี บริษัทเอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดีโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGJWD’ ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนครบวงจรรายใหญ่สุดในอาเซียน และ ‘บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD’ ทำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรระดับอาเซียน

อีกหนึ่งความคล่องตัวและยืดหยุ่นของธุรกิจ คือ การสร้างโอกาสให้กับผู็มีความสามารถ ซึ่งเอสซีจีตั้งเป้าที่จะเป็นองค้กรแห่งโอกาส สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ (Organization of Possibilities) ทั้งจากการส่งเสริมภายในและนอกองค์์กร สำหรับคนที่มมีความสามารถ มีไอเดียที่พัฒนาแล้วเกิดประสิทธิผลได้จริง

ถือเป็นการ เปิดโอกาสให้พนักงานปล่อยแสงสร้างสรรค์นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ ๆ ผ่านโครงการสตาร์ทอัพในเอสซีจี ชื่อ โครงการ ZERO TO ONE by SCG ที่บ่มเพาะสตาร์ทอัพ สร้างโอกาสให้พนักงานก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ ปั้นธุรกิจศักยภาพสูงมากมาย อาทิ พัฒนาแพลตฟอร์มสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ‘Prompt Plus’ ยกระดับการบริหารจัดการต้นทุนและสต๊อกสินค้าให้แก่ร้านค้ารายย่อยกว่า 10,000 รายในเครือข่ายเอสซีจี ‘Dezpax.com’ แพลตฟอร์มออนไลน์แพคเกจจิ้งครบวงจรรายแรกในไทย สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ฟู้ดเดลิเวอรี่ และคาเฟ่ ในการสร้างแพคเกจจิ้งเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในจำนวนน้อย ราคาเหมาะสมกับ SMEs ซึ่งเติบโตกว่า 300% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ยอมรับจากผู้ประกอบการกว่า 10,000 รายทั่วประเทศ

และ ‘Urbanice’ แพลตฟอร์มสื่อสาร บริหารจัดการ สำหรับชุมชนที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมและหมู่บ้าน เพื่อการอยู่อาศัยแบบสมาร์ท สะดวก และมีความสุข มีผู้ใช้งานกว่า 250,000 คน ใน 850 โครงการทั่วประเทศ ตลอดจนสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ ตอบเทรนด์อนาคต ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนภายนอกเอสซีจี เช่น ‘NocNoc’ ศูนย์รวมสินค้าและบริการเรื่องบ้านออนไลน์ ที่กำลังขยายธุรกิจทั้งในไทยและอาเซียน

พร้อมกันนี้ ยังมุ่งสร้างการเติบโตด้วย ‘การลงทุน (Investment & Holding)’ รวมทั้ง ‘เทคโนโลยีขั้นสูงและดิจิทัล (Deep Technology & Digital)’ เช่น การร่วมลงทุนกว่า 173 ล้านบาท ในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท Avantium N.V. (“Avantium”) ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่ง Avantium เป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านการผลิตสารตั้งต้นสำหรับขวดพลาสติกจากพืช (Polyethylene Furanoate: PEF) และเทคโนโลยีการผลิตโพลิเมอร์ ผ่านการแปลงคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้กลายเป็นเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีการอัดคาร์บอนลงหลุมก๊าซ ซึ่งใช้พลังงานเยอะมาก ใช้เงินประมาณ 160 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อตันเลยทีเดียว

จากเป้าหมายการสร้างผลิตภัณฑ์และบริหารที่มี Green Innovations เป็นแกนหลัก เอสซีจียังตั้งเป้าหมายที่เพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้ฉลาก “SCG Green Choice” ซึ่งเป็นฉลากที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยส่งเสริมในด้านสุขอนามัยที่ดี จากปัจจุบันที่มีอยู่ 54% เพิ่มเป็น 67% ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573)

ธุรกิจในเครือทั้งหมด ก็พยายามมองหานวัตกรรมและพาร์ทเนอร์ที่มีความแข็งแกร่ง เข้ามาช่วยเสริม เช่น ธุรกิจพลาสติก บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ได้ลงทุนในบริษัท ซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำด้านการผลิตพลาสติกรีไซเคิลในโปรตุเกส และได้ขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจต้นน้ำการจัดเก็บและคัดแยกพลาสติกเหลือใช้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการดำเนินธุรกิจผลิตพลาสติกรีไซเคิล

รวมทั้งซื้อกิจการบริษัท Recycling Holding Volendam BV หรือ “Kras” (คราส) ผู้นำด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้จากประเทศเนเธอร์แลนด์ และยังมีกิจการที่ครอบคลุมการรีไซเคิลพลาสติกตลอดทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เอสซีจีตั้งเป้าที่จะนำผลิตภัณฑ์กลุ่ม Green Polymer รุกตลาดพลาสติกรีไซเคิลในยุโรป ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนำนวัตกรรมกลับมาต่อยอดในไทย

อีกทั้งยัง ลงนามในสัญญาร่วมทุน (Joint venture) กับกลุ่มบริษัท Braskem (บราสเคม) ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลก จากประเทศบราซิล จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล

ส่วนธุรกิจน้องใหม่ในกลุ่มกรีน เอ็นเนอร์จี้ ก็เป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตอีกมาก จากปีที่ผ่านมาไทยใช้พลังงานสะอาดได้ไม่ถีง 20% ดังนั้น จึงมีช่องว่างในตลาดอีกเยอะ โดยปัจจุบัน เอสซีจีลงทุน Heat Battery กับ Rondo Energy ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นนวัตกรรมการลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมที่ก้าวกระโดด โดยเอสซีจีจะเปิดโรงงาน Heat Battery ในไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Heat Battery หรือ Thermal Energy Storage เป็นแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโซล่า เป็นพลังงานความร้อน กักเก็บความร้อนไว้ใช้ในช่วงที่ไม่มีแสงแดด เพื่อให้โรงงานมีพลังงานไว้ใช้ ป้องกันปัญหาพลังงานขาดแคลน ซึ่งขณะนี้วิศวกรกำลังออกแบบ Heat Battery สำหรับประเทศไทย

ส่วนธุรกิจซีเมนต์ เอสซีจีได้พัฒนานวัตกรรม Low-Carbon Cement ล่าสุด ได้รับความสนใจจากสหรัฐอเมริกา สั่งซื้อไปใช้เรียบร้อย แสดงให้เห็นถึงความต้องการและโอกาสในการขยายตลาด เอสซีจีจึงมีแผนจะเปิดตัว Low-Carbon Cement เจเนอเรชั่น 2 ในปี พ.ศ.2567 ซึ่งสามารถลดคาร์บอนได้มากกว่าเดิมอีก 5% และอีก 3 ปี จะออกเจเนอเรชั่น 3 ซึ่งจะลดคาร์บอนลงได้มากขึ้นอีก

อีกหนึ่งแนวทางการเดินหน้าสู่ “Inclusive Green Growth” คือการดำเนินธุรกิจโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Society) เช่น การแก้ปัญหาอ้อยและน้ำตาลให้กับเกษตรกร จากความต้องการในตลาดของน้ำตาลลดลง มีคู่แข่งมากขึ้น การผลิตเอทานอลจากอ้อยมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการผลิตจากมันสำปะหลัง เพราะฉะนั้น การสร้างโอกาสใหม่ ด้วยการนำน้ำตาลมาทำเป็นไบโอพลัส ทำพลาสติกจากน้ำตาล ก็จะยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม

การทำ “Inclusive Green Growth” ต้องใช้จุดแข็งของในแต่ละพื้นที่หรือในแต่ละธุรกิจ เช่น ธุรกิจแพคเกจจิ้ง หรือประเทศไทยที่เป็นเมืองเกษตรกรรม นำจุดแข็งนั้นผนวกเข้ากับเทคโนโลยี ผลักดันให้ผลิตภัณฑ์และบริการนั้นเกิดขึ้นเป็น Green Innovations ที่ตอบโจทย์เป้าหมาย Net Zero ในที่สุด

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

พร้อม! นักเขียนหัวใจรักการ์ตูน ลงสนาม "Webtoon"

มาแล้ว T-TOON Script Contest 2024 อยากเป็นนักเขียนรีบเลย เปิดโอกาสสู่การเป็น Webtoon เรื่องดังบน KAKAO WEBTOON Thailand ปลดปล่อยไอเดียสุดพลังชาวครีเอเตอร์ ในโครงการ “บทจะเขียนต้องได้เขียน” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 300,000 บาท พร้อมบินดูงานเกาหลีใต้

You May Like