เจาะพันธกิจกู้โลก NRF กับธุรกิจลดคาร์บอน ‘แดน ปฐมวาณิชย์’

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:6 Minute, 39 Second

“แดน ปฐมวาณิชย์” นักบริหารรุ่นใหม่ ที่ตระหนักถึงปัญหาโลก พร้อมเดินหน้าแก้ไข พร้อมๆ กับการสร้างธุรกิจที่ไม่เอาเปรียบโลก และธรรมชาติ เพื่อวันข้างหน้าของทุกคน

นับจากการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ความตื่นตัวของประเทศและองค์กรต่างๆ ทั่วโลก เกี่ยวกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) และ Carbon Neutrality ความเป็นกลางของคาร์บอนคือสถานะของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ได้ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกำหนดเป้าหมายชัดเจนมากขึ้น แต่กระนั้น จากการประชุม COP27 ที่อียิปต์ล่าสุด เมื่อ พฤศจิกายน 2565 ผลที่ออกมาคือ ความร้อนของโลกยังพุ่งไม่หยุด

  • ผู้นำ “Plant Based Food”

“แดน ปฐมวาณิชย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF ผู้นำ “Plant Based Food” รับเมกะเทรนด์การบริโภคอาหารแห่งอนาคตของโลก มองข้ามช็อต เพราะสิ่งที่ควรทำเวลานี้ คือ การลดคาร์บอนถาวร (Carbon Removal) เนื่องจากความสามารถในการดูดกลับคาร์บอนของธรรมชาติ อย่างป่าไม้ กำลังเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ ขณะที่ปริมาณคาร์บอนยังเกิดขึ้นมหาศาล

จากการประเมิน ขณะนี้เราต้องลดคาร์บอนลงปีละกว่าหมื่นล้านตัน หากนำมาคูณด้วย 10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อตันคาร์บอน ในการลดคาร์บอน จะมีมูลค่าถึงแสนล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี

นั่นคือต้นกำเนิดแนวคิดที่ทำให้ “แดน” เปิดธุรกิจใหม่ภายใต้บริษัท “350 คอร์ปอเรชั่น” ด้วยเป้าหมายการลดคาร์บอนให้ได้ 350 ppm ซึ่งเป็นปริมาณที่นักวิทยาศาสตร์คำนวณแล้วว่า จะทำให้โลกอยู่ได้อย่างยั่งยืน จากปัจจุบันโลกที่มีคาร์อนในอากาศสูงถึง 416 ppm

“แดน” เล่าว่า ได้ลงทุนกับบริษัท ฟอนต์ไลน์ ไบโอเอ็นเนอร์จี้ ที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีในการเปลี่ยนไบโอแมส เป็นไบโอคาร์บอน โดยสามารถนำไบโอคาร์บอนไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่น การผสมลงดิน ทำให้ดินมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 30% สามารถดูดซับน้ำได้ดีขึ้น 2-3 เท่า หรือนำไปผสมกับซีเม้นท์ ซึ่งส่วนนี้บริษัทฯ กำลังเจรจากับทางยุโรป ถึงวิธีการนำไปใช้ต่อไป

“แดน” เล่าอีกว่า ตอนทำธุรกิจ 7-8 ปีก่อน เขาก็ไม่ได้สนใจกับเรื่องความยั่งยืน แต่ด้วยทิศทางของโลก ทำให้เห็นและเริ่มสนใจ จนได้เข้าไปศึกษาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติ และนำเอาเคพีไอของ SDGs มาเป็นเคพีไอของบริษัทฯ

“เราเข้าใจความสำคัญของปัญหา เราเอาเป้าที่ 13 เรื่อง Climate Action มาเป็นแกนนำในการนำพาธุรกิจสู่เอสเคิร์ฟใหม่ เรียกว่าแทบจะเปลี่ยนมิชชั่นของเราทั้งหมด เพื่อเดินหน้าสู่ Decarbonisation”

เมื่อตั้งเป้าชัดเจน “แดน” เริ่มคิดตั้งแต่ต้นน้ำของการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเริ่มจากแพลนต์เบสต์ เพื่อให้ผู้บริโภคลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลังจากทำเรื่องนี้ ก็มาดูในซัพพลายเชนทั้งหมดว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกอย่างไร ด้วยการเอาไบโอแมส มาใช้ในการลดคาร์บอน เป็นการกำหนดเส้นทางธุรกิจของ NRF และต่อยอดมาเรื่อยๆ

กลยุทธ์ของกลั่มธุรกิจ NRF ที่ “แดน” ใช้ในการเดินแผนมี 3 อย่าง คือ

  1. Dietary Solution การทำธุรกิจแพลนต์เบสต์ฟู้ด
  2. Nature-based Solution ใช้สิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน เช่น การปลูกป่า
  3. Industrialized Solution การใช้คาร์บอนแคปเจอร์ เพื่อไปสู่ Decarbonisation ซึ่งเป็นธุรกิจ ภายใต้บริษัท 350 คอร์ปอเรชั่น
  • ขับเคลื่อน BIG MOVE ใหม่

ล่าสุด “แดน” ยังขยายตลาดอาหารแพลนท์เบส ของ “NRF” จากตลาดสหรัฐอเมริกา ไปสู่ตลาดยุโรป

ปี 2564 เป็นปีแห่งวิกฤตของคนทำธุรกิจ ทำให้หลายบริษัทต้องหันมาดูเรื่องความเสี่ยง ปัญหาเรื่องตู้คอนเทนเนอร์ที่ขึ้นมาเป็นสิบเท่่า ปัญหาดอกเบี้ย และยังมีสงครามระหว่างประเทศ แต่ NRF ก็สามารถสร้างรายได้ได้ถึง 2,300 ล้านบาท เติบโต 9% กำไร 285 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% มีเงินพร้อมลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท และเป็นบริษัทที่ทำ Carbon Neutral หรือมีความเป็นกลางทางคาร์บอน 3 ปีซ้อน พร้อมนโยบายด้าน Zero Waste

ผู้บริหาร “NRF” เล่าย้อนหลังว่า ปีค.ศ.1991-2018 กลยุทธ์หลักของ NRF คือ การผลิตอย่างยืดหยุ่น ทำให้ NRF ประสบความสำเร็จมาก มีลูกค้าตั้งแต่ระดับเอสเอ็มอีไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ และมีสินค้าที่หลากหลาย หลังปี ค.ศ. 2018 -2020 NRF เปลี่ยนความคิด ใช้ Passion และแนวคิดอาหารยั่งยืน เริ่มเข้าสู่ตลาดอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-Based Food) หลังปี ค.ศ.2020 เขาเริ่มเจาะตลาดเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงแบบไม่ผ่านคนกลาง ค้นหาว่าใครคือลูกค้า ทำให้มีการลงทุนซื้อบริษัทที่สหรัฐอเมริกา แล้วตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ Boosted NRF Corporation

การลงทุนครั้งนั้น คือ การซื้อทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์เฉพาะ (know-how) และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ภายใต้แบรนด์ของกลุ่ม WellPath เช่น Pure Apple Cider Vinegar Gummies, Boost Elderberry Gummies, Zen Anxiety and Stress Relief Supplement และ Vital Turmeric Gummies ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพชั้นนำที่ขายอยู่บน Amazon.com และอยู่ในตลาดมาแล้วกว่า 6 ปี ทำให้ NRF กลายเป็นบริษัทมหาชนที่ใช้อาหารมาต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน ส่งออกอาหารมากกว่า 30 ประเทศ

“แดน” ชูจุดแข็งของธุรกิจ ด้วยการเป้นองค์กรที่นำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งการใส่ใจในรายะละเอียด การเลือกใช้วัตถุดิบสดๆ จากเก๖รกร พร้อมทั้งให้องค์ความรู้ด้านวิธีป้องกันการเกิดก๊าซเรือนกระจกกับเกษตรกร การวางมาตรฐานทุกโรงงาน และที่ขาดไม่ได้คือ อาร์แอนด์ดี

  • ผ่ากลยุทธ์หลัก 3 ด้าน
  1. ต่อยอดธุรกิจสู่ Omni Channels โดยการทำ Omni-channels food retailing พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการส่งออกครอบคลุมทั้งออนไลน์ที่เป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซและต่อยอดสู่ Omni-Channels ที่เป็นร้านจำหน่ายสินค้าเอเชีย (Asian Grocery Store) สร้างโอกาสให้แก่ผู้ส่งออกไทยทั้งรายใหญ่และรายย่อย ที่สามารถส่งออกสู่ตลาดยุโรปโดยไม่ผ่านคนกลาง นำเทคโนโลยี AI เข้ามาเสริม โดยจะเปิดสาขานำร่องในตลาดยุโรปที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ 4-5 สาขาในปีนี้ ภายใต้ชื่อ BAMBOO และจะมีการขยายสาขาต่อเนื่อง ซึ่งความคืบหน้า โดยขณะนี้กำลังเจรจา LOI (Letter of intent) กับร้านค้า 2 แห่ง ที่มียอดขายรวมอยู่ที่ 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับมูลค่าการส่งออกของสินค้าเกษตรและสินค้าอาหารของไทยในปี 2565 มีมูลค่าอยู่ที่ 1,553,822 ล้านบาท และในปี 2566 ตลาดส่งออกมีแนวโน้มเติบโตขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าราว 10,281,109,608 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 2% นับเป็นโอกาสในการรุกตลาดส่งออกยิ่งขึ้นเพื่อดันรายได้ให้แก่ธุรกิจหลักของ NRF

  1. ธุรกิจ Specialty Food โดยตั้งเป้าสร้างซอสศรีราชาเป็น Product champion จัดตั้งโรงงานซอสพริกศรีราชาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นตลาดซอสพริกที่มีศักยภาพ มีมูลค่าอยู่ที่ 1.01 แสนล้านบาท เติบโตกว่า 33% เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ ยังเตรียมดันผลิตภัณฑ์ Pet Food ส่งออก 5 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย อินเดีย และ กลุ่มตะวันออกกลาง
  2. ธุรกิจ Climate Action – การขับเคลื่อนบริษัทสู่เป้าหมาย Net Zero ด้วยธุรกิจ Decarbonization ที่ได้เข้าลงทุนใน frontline technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนขั้นสูง ที่มีแผนตั้งจังหวัดลำพูน

ปี 2566 NRF ใช้งบลงทุนกว่า 500 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนด้านการสร้างแพลทฟอร์มการส่งออกเพื่อสินค้าไทย และ Asian Grocery Store ในชื่อ BAMBOO ราว 250 ล้านบาท และอีก 100 ล้านบาท สำหรับการลงทุนด้าน Climate Action ส่วนที่เลหือจะลงทุนในด้านอื่นๆ โดยตั้งเป้าว่า ปีนี้จะสามารถสร้างรายได้อยู่ที่ 3-4 พันล้านบาท

“แดน” บอกว่า นี่คืออีกหนึ่ง Big Move ของ NRF ของการเป็นผู้นำในธุรกิจลดคาร๋บอนที่เขาวางไว้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
100 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

“ตาสว่างกับ Yes Care” ช่วยเหลือผู้มีปัญหาการมองเห็นแต่ขาดทุนทรัพย์

“เรียล อิลิคเซอร์” ชวน “ยุ้ย – จีรนันท์ มะโนแจ่ม”พรีเซ็นเตอร์คนล่าสุด จับมือ Yes Care Real Elixir ออกแคมเปญ “ตาสว่างกับ Yes Care” ช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการมองเห็นแต่ขาดทุนทรัพย์

You May Like