“รศ.นพ.ธีระ” เตือนอีกครั้ง ผู้ป่วยโควิด -19 ระวังภาวะอาการคงค้าง ผิดปกติระยะยาว ทั้ง อ่อนเพลีย หายใจลำบากปวดข้อ เจ็บหน้าอก ย้ำลดความเสี่ยง ป้องกันตัวเองและครอบครัว
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาโพสต์ข้อความในเฟสยุ๊กส่วนตัว @Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน) ย้ำเตือนถึง “ภาวะอาการคงค้างในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ” ที่เรียกว่า “Long COVID” หรือ”Chronic COVID” ซึ่งเรื่องนี้คุณหมอได้โพสต์เตือนมาตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2020 (กว่า 1 ปีก่อน) และย้ำเตือนเป็นระยะมาตลอดว่าต้องระวัง
อาการคงค้างที่พบ มีตั้งแต่อาการน้อยแบบอ่อนเพลีย ไปจนถึงรุนแรง อย่างกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรืออาการทางระบบประสาท รวมไปถึง อาการอ่อนเพลีย หายใจลำบาก ปวดข้อ เจ็บหน้าอก
นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่เจอได้ทั้งในคนติดเชื้ออาการน้อยและอาการรุนแรง ได้แก่ ปัญหาที่หัวใจ อารมณ์แปรปรวน ชัก เป็นต้น โดยอาการคงค้างเหล่านี้ พบในผู้ติดเชื้อโควิด -19 เป็นอาการระยะยาว และมีรายงานพบในผู้ติดเชื้อหลังรักษาจนหายแล้ว ได้ถึง 30-40%
ล่าสุด “รศ.นพ.ธีระ” ยังแนะนำว่า ควรมีการจัดตั้งคลินิกเฉพาะและให้บริการปรึกษาแนะนำผู้ติดเชื้อตั้งแต่เริ่ม น่าจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนดูแลตนเองระยะยาว เนื่องจากขณะนี้ ไทยเรากำลังจะมีเคสผู้ติดเชื้อเกือบล้านคน และคาดว่าผู้มีอาการคงค้างจะมีจำนวนมากพอสมควร เพราะฉนั้น ระบบสุขภาพจำเป็นต้องวางแผนดูแลช่วยเหลือ
ส่วนเนื้อหาที่ “รศ.นพ.ธีระ” โพสต์ไว้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2020 มีใจความดังนี้
ทำไมหมอจึงเตือนว่าอย่าติดเชื้อโควิด…?
หลังระบาดมาปีนึง ทางการแพทย์มีข้อมูลชัดเจนแล้วว่า คนติดเชื้อทั้งแบบอาการน้อยหรืออาการรุนแรงอาจเจอปัญหาระยะยาว
เรียกว่า Long COVID หรือ COVID Long Hauler หรือ Chronic COVID
คนอาการน้อย ต่อให้รักษาจนหายแล้ว ก็มีจำนวนไม่น้อยที่มีอาการผิดปกติระยะยาว เช่น อ่อนเพลีย หายใจลำบากปวดข้อ เจ็บหน้าอก
นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่เจอได้ทั้งในคนติดเชื้ออาการน้อยและอาการรุนแรง ได้แก่ ปัญหาที่หัวใจ อารมณ์แปรปรวน ชัก เป็นต้น
อาการระยะยาวนั้นมีรายงานพบในผู้ติดเชื้อหลังรักษาจนหายแล้ว ได้ถึง 30-40%
ดังนั้น…จึงขอบอกพวกเราทุกคนให้ป้องกันตัวเองและครอบครัวให้ดี
ที่ไหนเสี่ยง…ควรเลี่ยง
ที่ไหนแออัด…ควรเลี่ยง
อย่าเห็นแก่เงินแสนเงินล้านล่อให้ไปในที่ที่เสี่ยง…หากไม่จำเป็นจริงๆ
ไม่คุ้มกันครับ…
ด้วยรักต่อทุกคน
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เครดิต:
ขอขอบคุณสไลด์จากโรงเรียนเก่าของผม
Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health