เทคโนโลยี AI ผลักดันงานเก่าหาย 92 ล้านตำแหน่ง ผุดงานใหม่ 170 ล้านตำแหน่ง

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:2 Minute, 49 Second

จุฬาฯ – World Economic Forum เผยรายงาน The Future of Jobs 2025 ระบุ เทคโนโลยี AI ขับเคลื่อนงานตำแหน่งผุด 170 ล้านตำแหน่ง ส่วนงานเก่าหายแน่กว่า 92 ล้านตำแหน่ง ชี้ทักษะแห่งอนาคต แรงงานต้องเพิ่มทักษะใหม่ ปรับบทบาทการทำงาน พร้อมผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ากับการทำงาน

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยรายงาน ” Future of Jobs 2025″ ซึ่งสำรวจจาก 1,000 บริษัท ครอบคลุมพนักงาน 14 ล้านคน ใน 22 อุตสาหกรรม จาก 55 ประเทศทั่วโลก พบว่าตลาดแรงงานระหว่างปี พ.ศ. 2568–2573 มีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน ตั้งแต่เรื่องของตำแหน่งงานใหม่ ที่จะมีผุดขึ้นอย่างน้อย 170 ล้านตำแหน่ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และ 92 ล้านตำแหน่งงานเดิมที่จะหายไป เนื่องจากระบบอัตโนมัติและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ส่วนภาพรวมของการเติบโตการจ้างงานจะอยู่ที่ 7% หรือเท่ากับ 78 ล้านตำแหน่งงานทั่วโลก

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดแรงงานปี 2573 มีการเปลี่ยนแปลง เรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้

1.​การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี AI หุ่นยนต์ และนวัตกรรมด้านพลังงานเป็นปัจจัยหลักที่เปลี่ยนแปลงบทบาทงานและทักษะ

2.​การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระตุ้นความต้องการวิศวกรสิ่งแวดล้อมและพลังงานหมุนเวียน

3.​ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเป็นความท้าทายสำคัญ

​4. การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร ประชากรสูงอายุในประเทศรายได้สูงและแรงงานขยายตัวในประเทศรายได้ต่ำปรับเปลี่ยนตลาดแรงงาน

    5.​การแบ่งแยกทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ข้อจำกัดทางการค้าและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลต่อรูปแบบธุรกิจ

    การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทำให้แรงงานต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ ทักษะในอนาคตสำหรับตลาดแรงงานไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีการประเมินว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 จำนวน 2 ใน 5 ของทักษะที่มีอยู่จะถูกเปลี่ยนแปลง ทักษะที่สำคัญของไทย คือ ทักษะด้าน AI และ Big Data ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ ทักษะด้านเครือข่ายและความปลอดภัยทางข้อมูล

    ในขณะที่ระดับโลก เน้นทักษะด้าน AI และ Big Data ทักษะด้านเครือข่ายและความปลอดภัยทางข้อมูล ความฉลาดในการใช้งานเทคโนโลยี และทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์

    ดังนั้น การที่แรงงานไทยจะอยู่รอด ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก โดยมีกลยุทธ์สำคัญ 5 ประการ

    1. พิ่มทักษะที่จำเป็นให้แก่บุคลากร: เตรียมคนไทยให้พร้อมด้วยความรู้และทักษะที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน
    2. สรรหาบุคลากรที่มีทักษะใหม่ๆ: ค้นหาและสนับสนุนผู้ที่มีศักยภาพในทักษะที่ตรงกับความต้องการของเศรษฐกิจยุคใหม่
    3. ยกระดับกระบวนการทำงาน ด้วย Automation: ใช้ระบบอัตโนมัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน
    4. ปรับบทบาทการทำงานของบุคลากร: ให้บุคลากรมีคุณค่าเพิ่มในงานยุคใหม่
    5. ผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เข้ากับการทำงาน: เชื่อมโยงเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เพิ่มคุณค่าและความสามารถในการแข่งขัน

    ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็น ’The University of AI‘ มหาวิทยาลัยที่มุ่งสร้าง “คนพันธุ์ใหม่” หรือ “Future Human” ที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญในการใช้งาน AI (Artificial Intelligence) แต่ยังเปี่ยมด้วยทักษะที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง II (Instinctual Intelligence) หรือ “ปัญญาสัญชาตญาณ” ซึ่งสร้างสรรค์ปัญญาที่ไม่อาจประดิษฐ์ขึ้นได้ ที่สำคัญ ‘คนพันธุ์ใหม่’ จะต้องไม่ได้มีเพียงสมองที่ชาญฉลาด แต่ต้องมีหัวใจที่ดีงาม ที่จะเปลี่ยนความสามารถทางเทคโนโลยีให้เป็นพลังที่สร้างคุณค่าแก่ทั้งตนเองและสังคม

    Happy
    Happy
    0 %
    Sad
    Sad
    0 %
    Excited
    Excited
    0 %
    Sleepy
    Sleepy
    0 %
    Angry
    Angry
    0 %
    Surprise
    Surprise
    0 %

    Average Rating

    5 Star
    0%
    4 Star
    0%
    3 Star
    0%
    2 Star
    0%
    1 Star
    0%

    Leave a Reply

    Next Post

    จับตาไทย กับเส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน 2025

    ปี 2025 อีกหนึ่งปีแห่งความท้าทายของภาครัฐและเอกชนไทย ที่ต้องเผชิญกับขวากหนามบนเส้นทางสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน 2050 ด้วยประเด็นที่หลากหลาย ทั้งด้านการเงิน ความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยี-เอไอ รวมทั้งการลงลึกในแนวทาง ESG ที่แต่ละฝาย แต่ละองค์กร

    You May Like