เทรนด์นักท่องเที่ยวไทยพร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่-ความท้าทาย- เทคโนโลยี

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:8 Minute, 11 Second

อะมาดิอุส เผย เทรนด์การเดินทางแห่งอนาคต นักท่องเที่ยวไทยพร้อมบุกเบิกประสบการณ์ใหม่ แสวงหาความตื่นเต้นในปี 2576 และนำเทคโนโลยีช่วยลดปัญหาระหว่างการเดินทาง

เทรนด์กลุ่มนักเดินทางใหม่ในอนาคต ซึ่งมาจากผลสำรวจนักเดินทางทั่วโลกกว่า 10,000 คนใน 14 ประเทศ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การรวบรวมข้อมูล 5.8 ล้านจุด และการประยุกต์ใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มเชิงจิตวิทยา
ผลสำรวจพบว่า 50% ของคนไทยเป็นนักเดินทางที่พร้อมบุกเบิกประสบการณ์ใหม่ (Pioneering Pathfinders) ที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบและมักมองหาการผจญภัยครั้งต่อไปอยู่เสมอ

การท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดินหน้าฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากตัวเลขของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นจาก 175 ล้านคนในปี 2564 เป็น ประมาณ 474 ล้านคน ในช่วงเดือนมกราคม ถึง กรกฎาคม 2565

แนวโน้มการเดินทางในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือในปี 2576 จะเป็นอย่างไร?

อะมาดิอุส (Amadeus) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลก และนอร์ทสตาร์ รีเสิร์ช พาร์ทเนอร์ส (Northstar Research Partners) บริษัทวิจัยระดับโลก ได้ร่วมกันจัดทำรายงานการสำรวจระดับโลก Traveler Tribes 2033 ซึ่งเป็นรายงานฉบับที่สามในโครงการศึกษาวิจัยที่เผยแพร่ครั้งแรกปี 2550

รายงานฉนับล่าสุดที่ระบุถึงเทรนด์กลุ่มนักเดินทาง (Traveler Tribes) 4 กลุ่ม ที่คาดว่าจะเป็นเทรนด์ท่องเที่ยวสำคัญในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะส่งผลกระทบต่อการเดินทาง ควบคู่ไปกับลักษณะนิสัย พฤติกรรม และความชอบของนักเดินทางเหล่านี้ เพื่อทำความเข้าใจว่านักเดินทางต้องการอะไรในอีกสิบปีนับจากนี้

รายงาน Traveler Tribes 2033 คาดการณ์ว่านักเดินทางจำนวนมากจะเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และต้องการที่จะเดินทางด้วยวิธีที่ยั่งยืนมากขึ้น แต่เนื่องจากนักเดินทางบางคนมีข้อกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงความต้องการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมการเดินทางจึงต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่านักเดินทางทุกคนจะได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

แนวทางเชิงจิตวิทยาในรายงานผลสำรวจล่าสุดนี้มิได้ใช้วิธีการแบ่งเทรนด์นักเดินทางแบบดั้งเดิมที่ยังมีข้อจำกัด แต่ได้ระบุถึง 4 กลุ่มนักเดินทางที่จะกลายเป็นเทรนด์ท่องเที่ยวสำคัญในปี 2576 ดังต่อไปนี้

นักเดินทางที่แสวงหาความตื่นเต้น (Excited Experientialists) – จำนวน 23% ของคนไทยอยู่ในกลุ่มนี้และมีแนวการใช้ชีวิตและการเดินทางแบบ ‘ลองทำดูก่อน’ (try it and see) โดย 44% ของนักเดินทางกลุ่มนี้ทั่วโลกไม่มีลูกและมีรายได้ระดับกลางถึงสูง อีกทั้งยังมีวิถีการทำงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถออกไปเดินทางสำรวจโลกได้อย่างง่ายดาย พวกเขานิยมวิธีการแบบ You Only Live Once (YOLO) (โอกาสที่จะใช้ชีวิตมีแค่ครั้งเดียว ควรใช้ให้คุ้ม) และมีแนวโน้มที่จะทำตามสัญชาตญาณมากกว่านักเดินทางกลุ่มอื่น ทำให้พวกเขาเป็นนัก ‘ต่อต้านการวางแผน’ แห่งปี 2576 ทั้งยังชอบเปิดรับประสบการณ์การเข้าพักที่คาดเดาไม่ได้หรือไม่ได้วางแผนไว้ รวมถึงมีความน่าตื่นเต้นมากกว่าที่พักทั่วไป พวกเขายังเปิดรับเทคโนโลยีที่ช่วย ‘เพิ่มความเร็ว’ ในบางแง่มุมของการเดินทาง โดยหลายคนคาดหวังว่าจะใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สนามบินด้วย


นักเดินทางที่ต้องการสร้างความทรงจำสุดประทับใจ (Memory Makers) – มีคนไทยเพียง 12% เท่านั้นที่อยู่ในกลุ่มนี้ นักเดินทางกลุ่มนี้มีเป้าหมายและสไตล์การท่องเที่ยวที่เรียบง่ายกว่า นั่นคือการสร้างความทรงจำและเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดย 44% ของนักเดินทางกลุ่มนี้ทั่วโลกมีอายุ 42 ปีขึ้นไปและมีพฤติกรรมเฉพาะตัวในการเดินทาง พวกเขามองว่าอนาคตเป็นสิ่งที่น่ากังวลและให้ความสำคัญกับผู้คนเป็นอันดับแรก และให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและความยั่งยืนรองลงมา พวกเขารู้สึกมั่นใจและอุ่นใจกับวิธีการเดิม ๆ

อย่างไรก็ตาม แม้พวกเขาจะกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่ก็ยังรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับทัวร์ชมตัวอย่างด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual reality: VR) และความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) โดยคาดว่านักเดินทางกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะใช้ทัวร์ชม VR ก่อนจะตัดสินใจซื้อทัวร์


นักเดินทางที่ชอบใช้เทคโนโลยีในการท่องเที่ยว (Travel Tech-fluencers) – จำนวน 15% ของคนไทยจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งรวมถึงนักเดินทางเพื่อธุรกิจรุ่นใหม่ในปัจจุบันที่มีมุมมองการใช้ชีวิตที่พร้อมปรับเปลี่ยนไปกับอนาคต โดย 48% ของนักเดินทางกลุ่มนี้ทั่วโลกมีอายุต่ำกว่า 32 ปี และมุมมองของพวกเขาปรับไปตามอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่พวกเขามีและใช้อยู่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาอาจยังไม่แน่ใจเมื่อพูดถึงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นและกังวลเกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยีและการเดินทาง แม้หลายคนต้องการเดินทางอย่างยั่งยืน แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะให้ความสำคัญกับวิธีเดินทางเพื่อความยั่งยืนมากกว่าที่พักเพื่อความยั่งยืน


นักเดินทางที่พร้อมบุกเบิกประสบการณ์ใหม่ (Pioneering Pathfinders) – คนไทยครึ่งหนึ่ง (50%) จัดอยู่ในกลุ่มนักเดินทางนี้ โดยเป็นกลุ่มที่มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบและมองหาการผจญภัยครั้งต่อไปอยู่เสมอ นักเดินทางกลุ่มนี้ทั่วโลกใช้ชีวิตแบบเต็มที่และสุดเหวี่ยง โดย 82% ของกลุ่มนี้มีอายุระหว่าง 23 ถึง 41 ปี พวกเขาชอบวางแผนแต่ก็ไม่กลัวความเสี่ยงและเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ พร้อมเต็มใจมากกว่านักเดินทางกลุ่มอื่น ๆ ที่จะเลือกความยั่งยืนในการเดินทาง พวกเขาสบายใจมากที่จะใช้วิธีการชำระเงินทางเลือกทุกรูปแบบในปี 2576 ไม่ว่าจะผ่านสกุลเงินดิจิทัลหรือผ่านเทคโนโลยี VR ก็ตาม


ผลสำรวจยังเผยให้เห็นว่าคนไทยตั้งตารอที่จะ:

  • นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยลดปัญหาระหว่างการเดินทาง (42%)
  • วางแผนการเดินทางได้รวดเร็วขึ้นด้วย AI (38%)
  • เดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น (38%)
  • ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีใหม่ 3 อันดับแรกที่คาดว่านักเดินทางชาวไทยจะสนใจในปี 2576 ได้แก่ การสามารถชำระเงินเพื่อทริปการเดินทางด้วยสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะในรูปแบบเสมือนจริงหรือผ่านการจดจำใบหน้า รวมถึงการใช้ข้อมูลเพื่อสร้างการเดินทางที่เกี่ยวข้อง และการใช้แอปพลิเคชันที่มีทุกอย่างที่จำเป็นในการวางแผนการเดินทาง

นายเดซิอัส วัลมอร์ไบดา (Decius Valmorbida) ประธานฝ่ายการเดินทางของอะมาดิอุส กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้บริการในอุตสาหกรรม เราต้องการส่งมอบประสบการณ์การเดินทางที่ทั้งสร้างแรงบันดาลใจและน่าประทับใจให้แก่นักเดินทาง และเราสามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยการทำความเข้าใจเหล่านักเดินทางว่า พวกเขาต้องการอะไรทั้งในปัจจุบันและอนาคต เมื่อมองไปยังอนาคตข้างหน้า มันชัดเจนว่าสิ่งที่นักเดินทางที่แสวงหาความตื่นเต้น (Excited Experientialists) ต้องการจะแตกต่างจากนักเดินทางที่ต้องการสร้างความทรงจำที่ประทับใจ (Memory Makers) และเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นด้วย AI, ไบโอเมตริก และเมตาเวิร์ส (Metaverse) เราก็จะสามารถส่งมอบประสบการณ์การเดินทางที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักเดินทางแต่ละกลุ่มได้อย่างเฉพาะตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการด้านความเร็ว ความสะดวกสบาย ความอุ่นใจและมั่นใจ หรือความตื่นเต้นแปลกใหม่ก็ตาม”

นายปาโก้ เปเรซ-โลซาโอ รือเธอร์ (Paco Pérez-Lozao Rüter) ประธานฝ่ายการบริการของอะมาดิอุส กล่าวว่า “การเดินทางเป็นเรื่องของสถานที่ที่เราพัก จุดหมายปลายทางที่เราไปเยือน และประสบการณ์ที่เราได้รับ สิ่งสำคัญที่พวกเราต้องตระหนักก็คือเมื่อเราเดินทาง เราจะต้องสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสถานที่ที่เราไปเยือน และเป็นมุมมองที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ความชอบของนักเดินทางจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รายงานการสำรวจล่าสุดนี้ช่วยให้เราเห็นภาพรวมของการเดินทางในอนาคต เราทุกคนมีความต้องการด้านการเดินทางที่แตกต่างกัน โดยสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับว่าเราเดินทางกับใคร และประสบการณ์ที่เรามองหาคืออะไร ความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมนี้คือการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้คน เพื่อให้แน่ใจว่าจุดหมายปลายทางและสถานที่ต่าง ๆ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักเดินทางได้อย่างตรงจุด”

นายการุณ พุทธราชา (Karun Budhraja) รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาดด้านการเดินทางประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของอะมาดิอุส กล่าวว่า ภูมิทัศน์ด้านการเดินทางในตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิกนั้นมีความหลากหลายอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง รายงาน Traveler Tribes 2033 ได้เผยให้เห็นภาพรวมของปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับนักเดินทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่ยั่งยืนหรือเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ไปจนถึงพฤติกรรมและค่านิยมที่เหล่านักเดินทางมองหาสำหรับการเดินทาง ปัจจัยเหล่านี้จะกำหนดรูปแบบอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวในปี 2576 และในอนาคตต่อ ๆ ไป

รายงาน Traveler Tribes 2033 เป็นรายงานฉบับที่สามในโครงการรายงานศึกษาวิจัย Traveler Tribes ของอะมาดิอุส ซึ่งเผยแพร่รายงานฉบับแรกในปี 2550 และฉบับที่สองในปี 2558 รายงานการสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจความมุ่งมั่นของอะมาดิอุสในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในระดับต่าง ๆ และช่วยยกระดับประสบการณ์การเดินทางให้ดีขึ้นสำหรับทั้งนักเดินทางและบริษัทท่องเที่ยวทุกแห่งทั่วโลก

นายแจ็ค ไมล์ส (Jack Miles) หัวหน้านักวิจัยและผู้อำนวยการอาวุโสของนอร์ทสตาร์ รีเสิร์ช พาร์ทเนอร์ส กล่าวว่า การคาดการณ์อนาคตเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเดินทาง เนื่องจากการเดินทางเป็นเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ วิธีคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องซับซ้อนเนื่องจากพฤติกรรมของผู้คนไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม การใช้รายงานการวิจัยนักเดินทางอย่างครอบคลุมอาศัยข้อมูลการวิเคราะห์ด้านพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาผู้บริโภค ควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงลึกของผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เช่น การคาดการณ์ เทคโนโลยีและวิชาการ และการวิเคราะห์ข้อมูล รายงานผลสำรวจล่าสุดนี้ได้เผยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกมากมายที่ช่วยให้เราเข้าใจนักเดินทางและคาดการณ์พฤติกรรมในอนาคตของพวกเขาได้ ด้วยความสำคัญและความท้าทายในเรื่องของความยั่งยืน ไปจนถึงความต้องการสร้างความมั่นใจให้กับนักเดินทางเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ การเดินทางจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการทำให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้นเมื่อเราก้าวสู่ปี 2576

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Traveler Tribes 2033 และเทรนด์กลุ่มนักเดินทางในอนาคต ได้ที่ นี่

มาลองทำแบบทดสอบของเรา! เพื่อดูว่าคุณเป็นนักเดินทางประเภทใด:

https://amadeussurvey.typeform.com/traveler-tribes
Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ม.มหิดล – สะหวันนะเขต ร่วมวิจัย และพัฒนา เมืองสมุนไพร

จากแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 – 2564 ที่ประกาศให้ “จังหวัดอำนาจเจริญ” เป็นหนึ่งใน เมืองสมุนไพร (Herbal City)

You May Like