เป๊ปซี่โค โดย มูลนิธิเป๊ปซี่โค สานกลยุทธ์ Pep+ ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารผ่านเทศกาลศิลปวัฒนธรรม สนับสนุนโครงการ “Little Chef Course” ในงานสีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 11 นำเยาวชนเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นจังหวัดเชียงราย
สุดิปโต โมซุมดา กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอาหารอินโดจีน บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายมันฝรั่งทอดกรอบ “เลย์” กล่าวว่า เปีปซี่โคร่วมจัดกิจกรรมอาสาสมัคร “One Smile At A Time-Give Together” และมูลนิธิเป๊ปซี่โค มอบเงินบริจาคจำนวน 19,000 ดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 690,000 บาท) แก่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อใช้ในโครงการ “Little Chef Course” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน “สีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 11” จะจัดขึ้น ณ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 4 ธันวาคม 2567 – 26 มกราคม 2568 การสนับสนุนกิจกรรมครั้งนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Pep+ (PepsiCo Positive) ของเป๊ปซี่โค เพื่อส่งเสริมความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและความมั่นคงด้านอาหารเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้คน
เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหาร พยายามส่งเสริมระบบการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ผ่านการสนับสนุนโครงการเกษตรยั่งยืน ซึ่งเน้นการใช้วัตถุดิบหลักภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรไทยมาอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนงานสีสันแห่งดอยตุง ซึ่งเป็นเทศกาลด้านศิลปวัฒนธรรมครั้งสำคัญ
วัฒนธรรมด้านอาหารถือเป็นอีกหนึ่งอัตลักษณ์ท้องถิ่น ที่เชื่อมโยงสู่วิถีชีวิตที่ผาสุกและยั่งยืน โดยเฉพาะโครงการ Little Chef Course ซึ่งมุ่งเน้นการปลูกฝังเยาวชนให้แสวงหาวัตถุดิบที่มีอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นเมนูอาหารอย่างมีเอกลักษณ์และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว ผ่านกิจกรรมเวิร์กช็อปและการวางแผนกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างพื้นฐานการทำงานอย่างมีระบบ ถือนับเป็นการปลูกฝังแนวคิดความมั่นคงทางอาหารในหมู่เยาวชนที่เป็น ‘ต้นน้ำ’ ในมิติทางสังคม
ฮาทิม คานน์ ผู้อำนวยการอาวุโส มูลนิธิเป๊ปซี่โค กล่าวว่า ความมั่นคงทางอาหารเป็นปัญหาระดับโลก ที่ต้องการแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชน ที่ผ่านมา มูลนิธิเป๊ปซี่โค ทำงานร่วมกับเครือข่ายทั่วโลก เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารผ่านวิธีการต่างๆ รวมถึงโครงการอาสาสมัครของพนักงาน ‘Give Together’ ซึ่งเปลี่ยนชั่วโมงอาสาสมัครของพนักงานให้เป็นเงินทุน ที่สนับสนุนการทำงานขององค์กรการกุศลในแต่ละประเทศ มุ่งมั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชน เพื่อนำไปสู่ผลกระทบที่ยั่งยืนในสังคมของไทยและทั่วโลก
โครงการ “Little Chef Course” อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ จ. เชียงราย ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกของยาวชนให้ตระหนักถึงอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรม ความมั่นคงทางอาหาร และความสำคัญของการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อรักษาแหล่งอาหารที่ยั่งยืนของชุมชน ผ่านการดำเนินงานหลัก 3 ขั้นตอน ได้แก่ EXPLORE – การค้นหาแหล่งวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจด้านอาหาร EXPERT – การฝึกฝนและเวิร์กช็อปกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประยุกต์องค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง และ EXPERIENCE – การสัมผัสประสบการณ์การทำงาน ผ่านการออกร้านในงานสีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 11
http://www.pepsicofoundation.comมูลนิธิเป๊ปซี่โค เป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านการทำประโยชน์สาธารณะและสังคมของบริษัทเป๊ปซี่โค เรามีพันธกิจที่จะสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเจริญก้าวหน้า โดยเน้นการส่งเสริมองค์ประกอบที่จำเป็นเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืน มูลนิธิเป๊ปซี่ทำงานร่วมกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรและผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ชุมชนได้รับการเข้าถึงความมั่นคงทางอาหาร การเข้าถึงน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคและบริโภค และเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ
มูลนิธิฯ มุ่งเน้นการสร้างผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ให้กับชุมชนที่เราอาศัยและทำงานอยู่ รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจ องค์กรท้องถิ่น องค์กรนานาชาติ และพนักงานของเป๊ปซี่โค เพื่อส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในวงกว้างเกี่ยวกับขอบข่ายของปัญหาที่มีความสำคัญของประเทศ ตลอดจนปัญหาในระดับโลกเช่นเดียวกัน สามารถเรียนข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pepsicofoundation.com
เป๊ปซี่โค ประเทศไทย มุ่งสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่มูลค่า ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนแก่กลุ่มเกษตรกรของประเทศ การใช้กระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้โรงงานที่ดำเนินงานตามแนวคิด ESG ไปจนถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เอื้อต่อกระบวนการรีไซเคิล รวมไปถึงแง่มุมอื่น ๆ อีกมากมาย
การร่วมสนับสนุนงานสีสันแห่งดอยตุง ถือเป็นการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารผ่านมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแง่มุมที่เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านเทคโนโลยีการผลิต เพื่อร่วมพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมอาหารควบคู่ไปกับการส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุนชมต่าง ๆ ในประเทศอย่างยั่งยืน