“แตร์พาวเวอร์” ส่งโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยั่งยืน นำแผงโซล่าเซลล์เก่า remanufacturing ช่วยจัดหาน้ำให้กับสัตว์ป่าและปศุสัตว์ ในพื้นที่ทะเลทราย รัฐแอริโซนา ต่อยอดจากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยชีวิตสัตว์ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเพิ่มการเข้าถึงแหล่งน้ำ
เป็นที่น่าสนใจ สำหรับรัฐแอริโซนา ที่เลือกใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นโซลูชันที่ยั่งยืนเพื่อช่วยชีวิตสัตว์ต่าง ๆ เช่น กวางเอลก์ กวาง หมี หมาป่าโคโยตี และบ็อบแคต โดยมีการสร้างแหล่งน้ำหลายพันแห่งทั่วรัฐ บนที่ดินของเอกชนและรัฐบาลกลาง เพื่อช่วยเหลือสัตว์เหล่านี้
จิม ลอว์เรนซ์ (Jim Lawrence) ผู้อำนวยการโครงการของสมาคมกวางแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona Deer Association) หรือ เอดีเอ (ADA) กล่าวถึงความจำเป็นในการหาพลังงานทางเลือกอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ต้องบำรุงรักษามากนัก แทนที่การใช้พลังงานฟอสซิล จึงได้สำรวจโซลูชันที่เป็นนวัตกรรม จนทำให้ได้พบกับ ออนทิลิตี (Ontility) ซึ่งเป็นแบรนด์โซลูชันวงจรพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจรภายใต้แตร์พาวเวอร์ (TerrePower) ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของ บริษัทบีบีบี อินดัสทรีส์ โดยแผงโซลาร์เซลล์ของออนทิลิตีมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์น้ำของเอดีเอได้อย่างสมบูรณ์แบบ
จอห์น โบเยอร์ (John Boyer) ประธานของแตร์พาวเวอร์ กล่าวว่า บริษัทฯ ใช้ประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในการนำแผงโซลาร์เซลล์เก่ามาผลิตใหม่ (remanufacturing) ที่โรงงานในเมืองสปาร์ตา ซึ่งมีกำลังการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ยั่งยืนได้มากกว่า 100,000 แผง และจะขยายกำลังการผลิตขึ้นในเร็วๆ นี้
ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่า นักอนุรักษ์ และเจ้าของฟาร์ม ได้มีการพยายามร่วมกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการเข้าถึงแหล่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สภาพอากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้ง
องค์กรอนุรักษ์ที่ไม่แสวงผลกำไรอย่าง เอดีเอ (ADA) ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในการรักษาแหล่งน้ำทั้งเพื่อสัตว์ป่าและปศุสัตว์ เช่น วัว โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เอดีเอได้วิจัยโครงการที่มีศักยภาพในการสกัดน้ำจากแหล่งอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง บ่อน้ำบางแห่งพึ่งพาเครื่องปั่นไฟฟ้าพลังงานน้ำมันดีเซล ในขณะที่แหล่งอื่น ๆ ไม่สามารถใช้การได้ เนื่องจากขาดแคลนแหล่งพลังงาน
นอกจากนี้ ยังศึกษาประโยชน์จากการใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานราว 25-30 ปี และยังสามารถนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์กลับมาใช้ซ้ำ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อีก ซึ่งสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้มากถึง 35% เมื่อเทียบกับการผลิตใหม่
“เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เราใช้แผงที่ผลิตอย่างยั่งยืน ในการเปลี่ยนบ่อน้ำที่ถูกทิ้งร้าง หรือบ่อน้ำที่ใช้เครื่องปั่นไฟแบบใช้น้ำมันดีเซล ไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทน ซึ่งบ่อน้ำไฮพอยท์ (High Point Well) ที่โอฮาโก แรนช์ (O’Haco Ranch) คือหนึ่งในนั้น โดยปัจจุบัน บ่อน้ำแห่งนี้จ่ายน้ำเป็นระยะทางกว่า 30 ไมล์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อปศุสัตว์และสัตว์ป่า” ลอว์เรนซ์ กล่าว
“ก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั้น บ่อน้ำนี้ใช้เครื่องปั่นไฟแบบใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งครั้งแรกที่ผมไปเยี่ยมเยียนที่นั่น พบว่าไม่มีหญ้าขึ้นสักใบในรัศมี 50 หลารอบบ่อน้ำเลย เนื่องจากมีน้ำมันดีเซลปนเปื้อน”
ลอว์เรนซ์ได้รับแผงโซลาร์เซลล์ชุดแรกในปี 2564 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน มียอดคำสั่งซื้อแผงรวมทั้งสิ้น 810 แผง โดยคำสั่งซื้อล่าสุดที่ 120 แผงในเดือนสิงหาคมเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่น แผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้มาจากโรงงานของแตร์พาวเวอร์ในเมืองสปาร์ตา รัฐเทนเนสซี ซึ่งดำเนินการผลิตเต็มกำลังเมื่อต้นปี 2566
สมาคมกวางแห่งรัฐแอริโซนานำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ ไม่เพียงแค่เพื่อฟื้นฟูที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังร่วมมือกับผู้เลี้ยงโคเพื่อลดต้นทุนและการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลลงได้อีกด้วย
“พลังงานแสงอาทิตย์คือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย” ลอว์เรนซ์ กล่าว “เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์เปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงานอื่นเพิ่มเติม ค่าบำรุงรักษานั้นถูกมาก พวกเขาไม่จำเป็นต้องเจอกับบิลค่าเชื้อเพลิง 16,000-18,000 ดอลลาร์ทุกปี”
การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการจ่ายน้ำไปยังพื้นที่ห่างไกลอาจเป็นข้อได้เปรียบ เนื่องจากมีการบำรุงรักษาน้อยและคุ้มค่า ซึ่งสมาคมกวางแห่งรัฐแอริโซนาซื้อแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้ด้วยเงินทุนจากการระดมทุน ทุนสนับสนุน และการบริจาค
ลอว์เรนซ์ กล่าวว่า การพัฒนาไซต์ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมตรวจสอบว่า แผงเหล่านี้ถูกซ่อมแซมและจัดส่งอย่างไรจึงตัดสินใจซื้อ แผงเหล่านี้ดูใหม่มาก เราพอใจอย่างยิ่งกับสภาพของแผง นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา อัตราความสำเร็จของโมดูลที่ได้รับการผลิตอย่างยั่งยืนนี้อยู่ที่ 100%