“ไทยน้ำทิพย์” เริ่มลุยสโคป 3 เตรียมเปลี่ยนตู้เย็นร้านค้าสู่ระบบ Non CFC

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 58 Second

“ไทยน้ำทิพย์” เดินหน้านวัตกรรมยั่งยืน ต่อยอดสู่สโคป 3 ลดผลกระทบต่อชั้นโอโซน พร้อมนำบริษัทที่ปรึกษาร่วมวางแผน เดินหน้าเป้าหมาย Net Zero สอดคล้องบริษัทแม่ ล่าสุด เปิดโรงงานปทุมธานี โชว์กระบวนการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมด้านความยั่งยืน ครอบคลุมด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การใช้พลังงาน และบรรจุภัณฑ์

ปุณฑริกา สุสัณฐิตพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ องค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ และสังคม โดยในแต่ละด้านมีเป้าหมายและโร้ดแมปจนถึงปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ.2030) แผนงานด้านความยั่งยืนถูกผนวกอยู่ในแผนงานในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่แผนงานด้านทรัพยากรบุคคล การกำกับดูแลกิจการ ไปจนถึงแผนงานด้านซัพพลายเชน ซึ่งให้ความสำคัญกับ 3 เสาหลัก คือ การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ผ่านการวางแผนกลยุทธ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ทันสมัยและตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง จนถึงมือผู้บริโภค

ที่ผ่านมา ตลอดช่วง 3 ปี ไทยน้ำทิพย์ลงทุนด้านความยั่งยืนไปแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งด้านบรรจุภัณฑ์ การติดตั้งโซล่าเซลล์ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำ และอื่นๆ โดยหลังจากนี้ยังลงทันต่อเนื่อง และยังจ้างบริษัทที่ปรึกษา เข้าร่วมเก็บข้อมูล คิดคำนวณ และวางแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero

เทอดพงษ์ ศิริเจน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ไทยน้ำทิพย์มีโรงงานผลิตทั้งหมด 5 แห่ง ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและได้มาตรฐานระดับโลก รวมถึงได้รับการยกย่องในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคใต้ในด้านการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม มีสายการผลิตที่ 21 สาย กำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นกว่า 450 ล้านยูนิตเคสต่อปี โรงงานไทยน้ำทิพย์ ปทุมธานี สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2524 บนพื้นที่ 140 ไร่ มีสายการผลิต 7 สาย รวมถึงสายการผลิตเครื่องดื่มแบบกระป๋องที่มีความเร็วที่สุดในโรงงานผลิตเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องในประเทศไทย สามารถผลิตได้ถึง 2,000 กระป๋องต่อนาที ในด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับความยั่งยืน โรงงานไทยน้ำทิพย์ ปทุมธานี ใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย MBR (Membrane Bio Reactor) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและล้ำสมัยที่สุด

“น้ำ” ถือเป็นหัวใจสำคัญในทุกผลิตภัณฑ์ของไทยน้ำทิพย์ จึงมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้กลยุทธ์ 3R ประกอบด้วย Reduce, Reuse, Recycle ในกระบวนการผลิต ด้วยการ ลด (Reduce) ปริมาณการใช้น้ำ โดยหนึ่งในนวัตกรรมที่ทำมาใช้คือแอปพลิเคชัน “บำรุง” ที่พัฒนาโดยบริษัทไทย นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต

รวมถึง บำบัด (Recycle) น้ำที่ผ่านการใช้งานแล้ว เช่น ติดตั้งระบบ Membrane Bio Reactor บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบ R.O. (Reverse Osmosis) เพื่อนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดจนสะอาดได้มาตรฐาน กลับมาใช้ใหม่ ในขั้นตอนการผลิต (ไม่ใช่วัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องดื่ม) ซึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2566 โรงงานไทยน้ำทิพย์ทั้ง 5 โรงงาน สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 907 ล้านลิตร สะท้อนถึงความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม

ไทยน้ำทิพย์ยังเดินหน้าแนวทาง “ลด” (Reduce) การใช้บรรจุภัณฑ์ด้วยการลดปริมาณพลาสติกในบรรจุภัณฑ์ผ่านการ lightweight โดยยังคงรักษาคุณภาพและความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ไทยน้ำทิพย์สามารถลดการใช้เม็ดพลาสติกลงได้กว่า 7,645 ตัน เช่น การปริมาณพลาสติกที่ขวดน้ำทิพย์จาก 16.5 เหลือ 10.7 กรัม
ขวดโค้ก 38 กรัมเหลือ 34 กรัม เป็นต้น

พร้อมกันนี้ ยังออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ (Redesign) เพื่อให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2568 และใช้วัสดุรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อย่างน้อย 50% ภายในปี พ.ศ. 2573 ไทยน้ำทิพย์ได้เปลี่ยนขวด “สไปรท์” จากขวดสีเขียวเป็นขวดใส เพื่อเพิ่มความสามารถในการนำบรรจุภัณฑ์กลับไปรีไซเคิล

สุดท้ายคือ สนับสนุนการจัดเก็บและรีไซเคิลขวดพลาสติกและกระป๋องที่ใช้แล้ว (Collection & recycling) เพื่อสร้างวงจรปิดของบรรจุภัณฑ์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และองค์กรไม่แสวงผลกำไร เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลขยะพลาสติกในประเทศไทย และกระตุ้นให้ผู้บริโภครับรู้ และมีส่วนร่วมในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับบรรจุภัณฑ์ เป้าหมายคือต้องเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ให้ได้ 100% ตอนนี้สามารถเก็บกลับได้แล้วราว 50% เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 40%

นอกจากนี้ ไทยน้ำทิพย์ยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดภายในกระบวนการผลิต ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงงานไทยน้ำทิพย์ครบทั้ง 5 แห่ง คือ โรงงานรังสิต โรงงานปทุมธานี โรงงานนครราชสีมา โรงงานขอนแก่น และโรงงานลำปาง ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานสะอาดรวม 12.6242 MWp คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน

นอกจากนี้ ยังมีการนำรถพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในรถยกสินค้า (EV Forklift) ในคลังสินค้า และรถขนส่งสินค้า (EV Truck) ซึ่งที่นำมาทดลองก่อน 2 คัน เพื่อศึกษาการทำงาน และระบบการใช้งานรถอีวีที่เหมาะสม พร้อมนำระบบ Telematics มาใช้บริหารจัดการการขนส่ง ซึ่งช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกล้อง AI ช่วยมอนิเตอร์ความเสี่ยงของพฤติกรรมการขับขี่ เพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงานขับรถ ในปีพ.ศ. 2566 สามารถลดการใช้พลังงานได้ 34.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ขณะเดียวกัน ยังให้ความสำคัญกับ “World Without Waste” ซึ่ง “โคคา-โคล่า” มีเป้าหมายที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2568 และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกโดยใช้วัสดุรีไซเคิลอย่างน้อย 50% รวมถึงช่วยเก็บรวบรวมและรีไซเคิลขวดหรือกระป๋องในจำนวนเทียบเท่ากับที่จำหน่าย ภายในปี 2573

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ไทยน้ำทิพย์ ร่วมกับ “โคคา-โคล่า” เปิดตัวขวด “โค้ก” ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล 100% (ไม่รวมฉลากและฝา) หรือ Recycled PET (rPET) ในบรรจุภัณฑ์ขนาด 1 ลิตร และปีนี้ได้เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ขนาด 300 มิลลิลิตร และ 510 มิลลิลิตร เพิ่มเติม ที่วางขายแล้วในห้างสรรพสินค้าชั้นนำและร้านสะดวกซื้อทั่วไป

ไทยน้ำทิพย์ได้ปรับสายการผลิตให้รองรับการผลิตขวด rPET ที่ทำจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัย (Food Contact Grade) และเป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และมาตรฐานระดับโลกของ “โคคา-โคล่า” โดยมีแผนงานในการเพิ่มสัดส่วนการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล (rPET) ในทุก ๆ ปีตามโร้ดแม็ปที่กำหนดไว้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
100 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

TEI แนะ "ภาคประชาสังคม" เตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

TEI เปิดข้อเสนอแนะกระบวนการหนุนเสริม “ภาคประชาสังคม” เพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชนและเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คนในชุมชนต้องลุกขึ้นเป็นผู้นำหลัก มีการหนุนเสริมจากภาครัฐ พร้อมซัพพอร์ตด้วยข้อมูล

You May Like