กลุ่ม TCP กระตุกต่อมคิดคนรุ่นใหม่ ใส่ใจวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 3 Second

กลุ่มธุรกิจ TCP หนุน NARIT ประสาน CNSA นำ ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ ร่วมบูท NARIT presented by TCP Group งาน อว. แฟร์ เติมเต็มองค์ความรู้ พร้อมปลุกพลังสร้างแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่ ใส่ใจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

ปิดฉากไปแล้วกับนิทรรศการ “Empowering Thailand through FRONTIER RESEARCH presented by TCP Group” บูทนิทรรศการของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT ที่นําเสนอผลงานวิจัยระดับแนวหน้าสุดล้ำจากการใช้โจทย์ดาราศาสตร์ ซึ่งสามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมอีกมากมายที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลก ไฮไลต์สำคัญในงานคือ ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ ที่กลุ่มธุรกิจ TCP (TCP Group) สนับสนุน NARIT ในการประสานงานกับองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA) นำมาจัดแสดงนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย ในงาน “อว. แฟร์ : SCI-POWER FOR FUTURE THAILAND” มหกรรมวิทยาศาสตร์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี โดยงานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้นำในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของไทย กล่าวว่า ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ นอกจากจะเป็นตัวอย่างจากดวงจันทร์ที่เก็บกลับมายังโลกได้สำเร็จในรอบ 40 ปี ยังเป็นการนำตัวอย่างกลับมาเป็นครั้งแรกของจีนแล้ว ความพิเศษอย่างหนึ่งของดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 คือ การเก็บมาจากตำแหน่งลงจอดในส่วน Oceanus Procellarum หรือ “มหาสมุทรแห่งพายุ” ซึ่งเป็นแอ่งลาวาเก่าแก่ขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ บนเนินที่มีชื่อว่า Mons Rümker ที่มีดินและหินที่มีอายุกว่า 2 พันล้านปีซึ่งจะช่วยเปิดเผยให้ทราบถึงประวัติช่วงสำคัญของดวงจันทร์ที่ยังขาดหาย

กลุ่มธุรกิจTCP ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปลุกพลัง สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยตื่นตัวและสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนมีมุมมองต่อเรื่องดาราศาสตร์ ว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เราจึงให้การสนับสนุนทาง NARIT โดยร่วมมือกับ CNSA ในการนำ ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ มาจัดแสดงที่ประเทศไทยในครั้งนี้ ด้วยกระแสตอบรับอย่างท้วมท้นในงาน

กลุ่มธุรกิจ TCP เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการปลูกฝังความเป็นนักคิด ปลุกพลังเยาวชนคนรุ่นใหม่และกลุ่มประชาชนทั่วไป ได้ร่วมค้นหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์และเข้าถึงชุดข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ จากผลงานวิจัยระดับแนวหน้าของ NARIT ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ที่ต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลก โดยหวังว่า สิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้ทุก ๆ คน มีพลังทำในสิ่งที่มุ่งหวังและช่วยกันทำให้โลกใบนี้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

นอกเหนือจากการจัดแสดง ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ แล้ว ภายในบูทนิทรรศการ Empowering Thailand through FRONTIER RESEARCH presented by TCP Group ของ NARIT ยังมีโซนให้ความรู้และโซนกิจกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจมากมาย ตั้งแต่ โซนโครงการความร่วมมือด้านอวกาศไทย-จีน ที่ยกอุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์ของคนไทยชื่อ ‘MATCH’ หรือ Moon-Aiming Thai-Chinese Hodoscope ที่จะติดตั้งไปกับยานโคจรรอบดวงจันทร์ของภารกิจฉางเอ๋อ 7 เพื่อตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงภายใต้รังสีคอสมิกในอวกาศ

โซนเทคโนโลยีทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์ ที่จัดแสดงผลงานวิจัยและพัฒนาชิ้นงานนวัตกรรมสุดล้ำ อาทิ กล้องจุลทรรศน์กระตุ้นสองโฟตอน ที่นำมาใช้ในงานวิจัยทางด้านการแพทย์และจุลชีววิทยา และมีห้อง ‘EXPLORING THE UNIVERSE’ จัดแสดงภาพโฮโลแกรม 3D ของจักรวาลที่ทั้งสวยงามและได้ความรู้ โซนเทคโนโลยีเมคาทรอนิกส์ ที่นำเทคโนโลยีสุดล้ำอย่างฐานกล้องโทรทรรศน์ พร้อมระบบควบคุมเพื่อติดตามวัตถุท้องฟ้าความแม่นยำสูงมาจัดแสดงให้ชมแบบใกล้ชิด ที่สามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้กับการสำรวจอวกาศห้วงลึกต่อไปได้

โซนเทคโนโลยีอวกาศ ที่โชว์เคสผลงานจากโครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium) ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม NARITCube-1 หรือดาวเทียม TSC-1ซึ่งทาง NARIT ทุ่มสุดตัวนำอุปกรณ์ของจริงบินจากเชียงใหม่มาจัดแสดง เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสศึกษาเรื่องเทคโนโลยีอวกาศแบบเจาะลึกและเข้าถึงง่าย ตลอดจนโซนเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงด้านต่าง ๆ อีกมากมาย อาทิ เทคโนโลยีคลื่นวิทยุและสัญญานดิจิทัล วิทยาศาสตร์บรรยากาศ และเทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง ให้ทุกคนได้ยลโฉมแบบจัดเต็ม

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีความร่วมมืออวกาศไทย กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโดยใช้โจทย์ทางดาราศาสตร์มีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์ไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการวางรากฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็งให้กับสังคมไทย ที่จะช่วยสร้างโอกาสและส่งเสริมการพัฒนากำลังคนในประเทศ

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีความร่วมมืออวกาศไทย

ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรวิจัยรุ่นใหม่ของไทยให้เติบโต และขยายขีดจำกัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทยไปสู่ระดับสากล อันนำไปสู่การต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมอีกมากมายที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลกได้ต่อไปในอนาคต

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

เบทาโกร พัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอลเยาวชน สู่เส้นทางนักเตะมืออาชีพ

“เบทาโกร” สร้างแรงบันดาลใจเยาวชน ปูทางสู่นักเตะอาชีพ จับมือ “ลำพูน วอริเออร์” จัดกิจกรรมฟุตบอลคลินิก “Road to Better Growth” ที่ จ.ลำพูน

You May Like