“คาโอ” ส่งนวัตกรรม ‘NEWTLAC’ กู้โลกเปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นถนน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 24 Second

คาโอ คิดค้นนวัตกรรม “NEWTLAC” ผสานพอลิเมอร์ชนิดพิเศษผสมยางมะตอย ใช้สร้างถนน ที่ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาขยะ แต่ยังสร้างถนนที่แข็งแรงทนทานยิ่งกว่าเดิม ปฏิวัติวงการก่อสร้างถนนในไทย นำร่องถนนในนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ชลบุรี และ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao โดย “คาโอ เคมิคอล” เคมีภัณฑ์ เพื่อคุณภาพชีวิต หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักคาโอจากธุรกิจสินค้าอุปโภคที่เป็นสินค้าคู่เรือนคนไทยมากว่า 60 ปี ไม่ว่าจะเป็นผงซักฟอก แอทแทค น้ำยาซักผ้าขาวไฮเตอร์ หรือผ้าอนามัยลอรีเอะ แต่จริงๆ แล้วคาโอยังมีอีกหนึ่งธุรกิจ คือคาโอ เคมิคอล จำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีความเชื่อมโยงกับหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมทางการเกษตร เคมีภัณฑ์เพื่อการก่อสร้างและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เคมีภัณฑ์เพื่อโรงหล่อ พลาสติก ยาง และอื่นๆ โดยคาโอ ประเทศไทย ยังเป็นศูนย์วิจัยพัฒนา พร้อมผลิตเคมีภัณฑ์ที่หลากหลายด้วยกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างครบวงจร และเคมีภัณฑ์ของเรานั้นยังไปอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าอุปโภคในชีวิตประจำวันอีกหลากหลายชนิดที่สามารถสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

  • จากขวดน้ำสู่ถนนคุณภาพ

NEWTLAC คือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนจาก คาโอ เคมิคอล ที่สามารถปรับปรุงคุณภาพยางมะตอย ซึ่งเกิดจากการนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้ผงละเอียดสีเหลืองคล้ายน้ำตาลทราย จากนั้นนำไปผสมกับยางมะตอยปกติ ผลลัพธ์ที่ได้คือยางมะตอยชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติโดดเด่นทั้งด้านความแข็งแรง ความทนทานกว่าเดิม ทนการกัดเซาะน้ำได้ดี และยืดอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเดิม

ผลการวิจัยของ KAO Corporation ประเทศญี่ปุ่น พบว่าการสร้างถนนด้วย NEWTLAC ทุก 100 ตารางเมตร สามารถนำขยะขวดพลาสติก PET มารีไซเคิลได้มากถึง 1,430 ขวด นอกจากนี้ ยางมะตอยผสม NEWTLAC นี้ ไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพทัดเทียมหรือดีกว่ายางมะตอยแบบ PMA (Polymer Modified Asphalt) แต่ยังช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยอนุภาคละเอียดที่เกิดจากยางมะตอย ช่วยลดมลพิษทางอากาศ และปัญหาขยะขวดพลาสติกที่เป็นวิกฤตระดับโลก นับว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ล่าสุด NEWTLAC ได้ถูกนำไปใช้งานจริงแล้วในสองพื้นที่สำคัญ ได้แก่ ถนนในนิคมอมตะซิตี้ ชลบุรี จังหวัดชลบุรี บริเวณหน้าอาณาเขตของโรงงานคาโอฯ พื้นที่รวม 500 ตารางเมตร ใช้ NEWLTAC จำนวน 140 กิโลกรัม และได้รับความร่วมมือจากทางกรุงเทพมหานคร ในการปูถนนแยกนิมิตรใหม่ เขตมีนบุรี ในกรุงเทพมหานคร พื้นที่รวม 750 ตารางเมตร ใช้ NEWLTAC จำนวน 180 กิโลกรัม อีกทั้งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการทดลองใช้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในแต่ละพื้นที่นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของคาโอต่อไป

  • “การไม่สร้างขยะ”

คาโอประสบความสำเร็จในการทำให้ขยะที่ไปฝังกลบ (Landfill) เป็นศูนย์ (Zero Waste) ในโรงงานผลิตของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563 โดยสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้เกือบ 100% เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยลดการสร้างขยะพลาสติก คาโอตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2570 บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100%

NEWTLAC ของคาโอ จึงไม่เพียงแต่เป็นนวัตกรรมที่จะปฏิวัติวงการก่อสร้างถนนเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ระยะยาวของบริษัทในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคาโอมีเป้าหมายสู่ความยั่งยืนในปี 2583 เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ด้วยการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเป็นศูนย์ และบรรลุเป้าหมายให้ขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติกเป็นศูนย์ กล่าวคือ ปริมาณพลาสติกที่ใช้ต้องเท่ากับปริมาณพลาสติกที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ ถูกนำมารีไซเคิล

นวัตกรรม NEWTLAC ถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่สอดคล้องกับเป้าหมายนี้อย่างชัดเจนในการสร้างนวัตกรรมนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมาใช้ในการสร้างถนน ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะถูกทิ้งกลับสู่สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ และการสร้างสังคมที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

นพดาซุปเปอร์ฟู้ดส์ เปิด Flagship Store บน LazMall ยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่น

นพดาซุปเปอร์ฟู้ดส์ จับมือ ลาซาด้า พัฒนาศักยภาพชุมชนและเกษตรกรไทย ยกระดับ ‘กระเทียมดำ B-Garlic’ เปิด Flagship Store บน LazMall ผลักดันวัตถุดิบท้องถิ่นสู่สินค้าพรีเมียมบนแพลทฟอร์ม

You May Like