WWF ดึง LINE MAN Wongnai – foodpanda ลดขยะพลาสติก

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:6 Minute, 11 Second

WWF ประเทศไทย ดึงภาคธุรกิจร่วมขับเคลื่อนการลดใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน ผนึกกำลัง LINE MAN Wongnai และ foodpanda ภายใต้แนวคิด ‘ลด-เพิ่ม-แลกเปลี่ยน’ ขยายผลโครงการ Plastic ACTion สู่ระดับประเทศ

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand) ผนึกกำลังภาคเอกชนร่วมลดการรั่วไหลของพลาสติกสู่ธรรมชาติ หวังขับเคลื่อนการปรับรูปแบบและกระบวนการดำเนินธุรกิจให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้โครงการลดพลาสติกขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลอย่าง Plastic ACTion (PACT) พร้อมประกาศความร่วมมือครั้งแรกกับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ LINE MAN Wongnai และ foodpanda มุ่งส่งเสริมการลดใช้พลาสติกในอุตสาหกรรมฟู้ดเดลิเวอรี ภายใต้แนวคิด ‘ลด-เพิ่ม-แลกเปลี่ยน’ เดินหน้าขยายผลโครงการฯ จากธุรกิจท้องถิ่นใน 4 เมืองทางภาคใต้ สู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ ตั้งเป้าต่อยอดความร่วมมือกับภาคธุรกิจอื่นๆ และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายระยะยาวระดับโลกขององค์การฯ ในการลดขยะพลาสติกลง 30% ภายในปี 2030

รัฐพล พิทักษ์เทพสมบัติ รองผู้อำนวยการฝ่ายอนุรักษ์ WWF ประเทศไทย เปิดเผยว่า ขยะพลาสติกเป็นประเด็นปัญหาระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราทุกคน ทุกปีมีการผลิตพลาสติกถึง 430 ล้านตันทั่วโลก ในประเทศไทย มีขยะพลาสติกถึง 75% หรือราว 1.5 ล้านตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารแบบใช้ครั้งเดียว ไม่มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่[1] ซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วไหลสู่ธรรมชาติและสามารถตกค้างอยู่ในมหาสมุทรได้เป็นเวลาหลายร้อยปี ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ การแก้ไขปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกเป็นภารกิจที่ WWF ให้ความสำคัญ และมุ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตและบริโภค รวมถึงกระบวนการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพที่ครอบคลุมตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle) ของพลาสติก

โครงการ Plastic ACTion (PACT) ริเริ่มขึ้นโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศสิงคโปร์ (WWF Singapore) และขยายไป เกาหลีใต้ ฮ่องกง โคลัมเบีย เปรู เอลกวาดอร์ และไทย ภายใต้โครงการ ‘No Plastic in Nature Initiative’ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการแก้ไขปัญหาพลาสติกอย่างยั่งยืน ผ่านการแบ่งปันองค์ความรู้ นวัตกรรม และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ในการผลิตและบริโภคอย่างรับผิดชอบ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่ไม่จำเป็น โดยในประเทศสิงคโปร์ WWF ได้จับมือกับองค์กรธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ในปี 2019 ในการริเริ่มฟีเจอร์ ‘ไม่รับช้อนส้อมพลาสติกแบบอัตโนมัติ’ บนแอปพลิเคชัน และสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้มากกว่า 1 ล้านชิ้นต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ ยังทำ Green Hotel ลดการใช้บรรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่จำเป็น ส่วนภาคโลจิสติกส์ พยายามหาโมเดลในการใช้ Reusable Packaging และภาครีเทล มีการเก็บเงินค่าถุงพลาสติก สำหรับลูกค้าที่ต้องการ

ดร.บุญชนิต ว่องประพิณกุล ผู้จัดการโครงการ Plastic Smart Cities องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย (WWF) กล่าวว่า WWF มีเป้าหมายลดการใช้พลาสติก โดยวิธีการระบุปัญหาและคิดโซลูชันในการแก้ไข ปัญหาที่พบปัญหาแรก คือ ปัญหาด้านการปลดปล่อย โซลูชั่นในการแก้ไขคือการทำอีโคดีไซน์ รีไซเคิลให้ได้ง่ายขึ้น ปัญหาถัดมาคือ วัสดุทดแทน ในส่วนนี้พยายามทำกลไกตลาดให้เอื้อ และประเด็นสุดท้าย คือ การรั่วไหลของพลาสติกสู่ธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันมีพลาสติกที่ถูกกำจัดอย่างเหมาะสมเพียง 25% และจากแนวคิดเหล่านี้ WWF ได้พัฒนาและผนึกกำลังภาคเอกชน ร่วมลดการรั่วไหลของพลาสติกสู่ธรรมชาติ ภายใต้โครงการลดพลาสติก Plastic ACTion (PACT)

ล่าสุด คือ การประกาศความร่วมมือกับ LINE MAN Wongnai และ foodpanda ส่งเสริมการลดใช้พลาสติกในอุตสาหกรรมฟู้ดเดลิเวอรี่ ภายใต้แนวคิด ‘ลด-เพิ่ม-แลกเปลี่ยน’ ขยายผลโครงการฯ จากธุรกิจท้องถิ่นใน 4 เมืองทางภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี เกาะสมุย สงขลา และหาดใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการ Plastic Smart Cities โดยให้คำปรึกษา สนับสนุนเครื่องมือ ทักษะในการวัดและประเมินผลข้อมูล สนับสนุนด้านการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสร้างเครือข่ายให้แก่ธุรกิจตลอดห่วงโซ่เพื่อดำเนินมาตรการ PACT อย่างเป็นรูปธรรม

เป้าหมายต่อไป คือการสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ ซึ่งจะขยายไปใน ภูเก็ต พัทยา โคราช และจังหวัดอื่นๆ ต่อไป โดยตั้งเป้าต่อยอดความร่วมมือกับภาคธุรกิจอื่นๆ และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายระยะยาวระดับโลกขององค์การฯ ในการลดขยะพลาสติกลง 30% ภายในปี 2030

สำหรับหน่วยงานที่เซ็นสัญญาร่วมโครงการ PACT กับ WWF ใน 6 มาตรการ มี 38 ราย โดยมาตรการต่างๆ ประกอบด้วย

  • การปรับปรุงระบบการจัดการขยะ
  • ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • การสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ได้
  • สนับสนุนผู้บริโภคนำผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์มาเอง แล้วได้ส่วนลด
  • สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ให้บรรจุภัณฑ์ตามที่ลูกค้าร้องขอ

ส่วนความร่วมมือกับ LINE MAN Wongnai และ foodpanda ในโครงการ Plastic ACTion โดยเราจะทำงานร่วมกันเพื่อขยายผลของกิจกรรมด้านการลดใช้พลาสติก และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับอุตสาหกรรมต่อไป” นายรัฐพล กล่าวเสริม

ความร่วมมือครั้งนี้ LINE MAN Wongnai และ foodpanda ร่วมส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่แนวทางการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืนใน 3 ด้าน

ลด: สนับสนุนการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในระบบการจัดส่งอาหาร

เพิ่ม: ส่งเสริมการใช้วัสดุที่ยั่งยืน บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เพื่อทดแทนการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง

แลกเปลี่ยน: แบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การดำเนินงานตามนโยบาย กรณีศึกษาและแนวปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

ดร.มาลียา โชติสกุลรัตน์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายนโยบายสาธารณะ และรัฐกิจสัมพันธ์ LINE MAN Wongnai กล่าวว่า ที่ผ่านมา LINE MAN Wongnai เปิดใช้บริการฟีเจอร์ “ไม่รับช้อนส้อมพลาสติก” บนแอปพลิเคชัน ตั้งแต่ปี 2021 ทำให้สามารถลดขยะพลาสติกลงได้ 3,286 ตันในระยะเวลา 2 ปีกว่า ล่าสุด พัฒนาฟีเจอร์ “ไม่รับเครื่องปรุง” จากการทดลองพบว่าสองเดือนที่ผ่านมา ประหยัดเครื่องปรุงไปได้ 20 ล้านซอง

LINE MAN Wongnai พยายามให้คนใช้ภาชนะที่เป็ฯมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าร้านอาหารเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราจะช่วยทำให้เขาได้รับการมองเห็นมากขึ้น ตอนนี้ 1,400 ร้าน และทำให้คนเห็นร้านค้าเขาเยอะขึ้นจริง

จุฑารัตน์ มณิปันตี ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ foodpanda ประเทศไทย กล่าวว่า การลดปริมาณขยะพลาสติก foodpanda ดำเนินการ 3 แนวทาง เริ่มจาก ฟีเจอร์ไม่รับช้อนพลาสติก ตั้งแต่ปี 2018 ใน 11 ตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิก และมีลูกค้า 85% ที่กดฟีเจอร์นี้ ทำให้ลดพลาสติกได้ 246 ตัน ตลอด 6 เดือนที่ดำเนินการลดไปได้ 2,500 ตันพลาสติก

สองคือ เสริมสร้างการรับรู้ เรียกว่า on boarding เชิญชวนลูกค้ามาใช้บรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และถ้าหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกไม่ได้จริงๆ ก็ต้องรู้วิธีกำจัดที่ถูกต้องก่อน

นอกจากนี้ ยังให้ร้านค้าพันธมตรมีประสบการณ์จริงในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับ Gracz ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป้ฯมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แจกจ่ายให้กับร้านค้า ทำให้ลดปริมาณพลาสติกไปได้ 1.5 ล้านชิ้น

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

SX 2024 ปีที่ 5 ย้ำแพลทฟอร์ม สร้างการเรียนรู้-ลงมือทำ เพื่อโลกยั่งยืน

SX 2024 รวมพลังสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ยั่งยืน ระหว่างกลุ่ม B2C2B ขยายความร่วมมือและส่งต่อความรู้จาก องค์กรสู่คอนซูเมอร์ ต่อยอดสู่องค์กรธุรกิจ พร้อมชักชวนองค์กรต่างประเทศร่วมให้ความรู้โชว์นวัตกรรม “เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน”

You May Like