อว.สัมมนาใหญ่ กระตุ้นการศึกษาไทย พัฒนาอย่างยั่งยืน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:6 Minute, 34 Second

อว.เปิดเวทีสัมมนา “งานวิชาการด้านพัฒนานักศึกษา ปี 2567″ มอบนโยบายการศึกษา บูรณาการ SDGs เข้าสู่หลักสูตรและการวิจัย “เซ็นทรัล” แชร์ไอเดีย-ประสบการณ์ พัฒนาการศึกษาไทย แนะต้องเร่งเพิ่มทักษะทุนชีวิต สอนให้ “คิดอย่างยั่งยืน ถูกจุด และต้องร่วมคิดไปด้วยกัน” พร้อมนำเสนอแนวทางวิธีคิดและการพัฒนาด้านการศึกษา เซ็นทรัล ทำ

งานสัมมนาวิชาการด้านพัฒนานักศึกษา ปี 2567 ภายใต้ธีม “เสริมพลังนิสิตนักศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: บูรณาการ SDGs สู่อุดมศึกษา” โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 620 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และที่สำคัญคือ นิสิตนักศึกษาผู้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต 

วราภรณ์ รุ่งตระการ ที่ปรึกษาด้านระบบบริหารการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วราภรณ์ รุ่งตระการ ที่ปรึกษาด้านระบบบริหารการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มอบนโยบายเกี่ยวกับ “พลังอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยเน้น 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย 1. การบูรณาการ SDGs เข้าสู่หลักสูตรและการวิจัย :  มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้หลักสูตรการเรียนการสอนทุกสาขามีความเกี่ยวข้องกับ SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยใช้ SDGs เป็นกรอบการคิด 

2. การสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม : มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนให้นักศึกษาเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจอย่างสมดุล และมุ่งเน้นการทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ส่งเสริมให้นักศึกษามีหัวใจที่พร้อมจะรับผิดชอบต่อส่วนรวม และ 3. สร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างสถาบัน : การสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่สามารถทำได้โดยลำพัง มหาวิทยาลัยควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการเชื่อมโยงกับภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อเสริมสร้างพลังในการขับเคลื่อน SDGs อย่างมีประสิทธิภาพ 

ในเวทีสัมมนา ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ ที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาการศึกษาและสังคมอย่างยั่งยืน บริษัท กลุ่ม เซ็นทรัล จำกัด ยังได้บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “พลังการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยกล่าวถึง “ทักษะทุนชีวิต” (Foundational Skill) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญด้านการศึกษา ซึ่งประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตด้านทักษะทุนชีวิต โดยสัดส่วนของประชากรอายุระวห่าง 15-64 ปี ถือว่าตกเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก

ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ ที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาการศึกษาและสังคมอย่างยั่งยืน บริษัท กลุ่ม เซ็นทรัล จำกัด

ทักษะทุนชีวิต (Foundational Skill) คือ ความสามารถด้านสมรรถนะ (Competency) ที่เยาวชนและคนในวัยทำงานจำเป็นต้องมี เพราะเป็นทักษะที่ต้องใช้ในการดำรงชีวิตและใช้ประโยชน์ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงยังเป็นทักษะที่เกี่ยวพันกับการทำงานในทุกๆ อาชีพ สามารถนำมาใช้ได้กับทุกๆ สถานการณ์ โดยทักษะเหล่านี้ ประกอบด้วย 1. การรู้หนังสือ (literacy skills) 2. ทักษะด้านดิจิทัล (digital skills) 3. ทักษะทางสังคมและอารมณ์ (socioemotional skills)

คนไทยอายุระหว่าง นี้ 15-64 ปี ขาดทักษะทุนชีวิต ในระดับที่เรียกว่าตกเกณฑ์เลยทีเดียว เพราะ 64.7% มีทักษะความรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ คนเหล่านี้ไม่สามารถอ่านและเข้าใจข้อความสั้นๆ อย่างฉลากยาได้ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ได้ และมากถึง 74.1% มีทุนทักษะชีวิตด้านดิจิทัลที่ต่ำกว่าเกณฑ์ เช่น ค้นหาข้อมูลง่ายๆ จากเว็บไซด์ไม่เป็น 

นอกจากนี้ มากว่า 30.3% อารมณ์ต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ไม่จินตนาการ ไม่มีความอยากรู้อยากเห็น

จากปัญหาทักษะทุนชีวิต 3 ด้านที่สอบตก ส่งผลให้ Productivity ของเราตกต่ำไปด้วย ซึ่งมีผลตรงนี้มีผลต่อการทำงาน เช่น คนที่ทักษะเหล่านี้ต่ำกว่าเกณฑ์ จะมีเงินเดือนเฉลี่ยน้อยกว่าเกณฑ์ จะมีรายได้จากการทำงานเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่ากลุ่มที่มีทักษะสูงกว่าเกณฑ์ถึง 6,324 บาทต่อเดือน และยังทำให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจมากถึง 3.3 ล้านล้านบาท หรือราว 20% ของ GDP ในปี 2565

ดร.ชาติชาย ย้ำว่า งานการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง การพัฒนาคุณภาพคน จะโยนไปให้สถาบันการศึกษาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีความร่วมมืทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ซึ่งนั่นคือแนวทางที่กลุ่มเซ็นทรัล ภายใต้ “เซ็นทรัล ทำ” ซึ่งกลุ่มเซ็นทรัลได้ร่วมมือกับภาครัฐและชุมชน ช่วยกันคิดและลงมือทำร่วมกันในการพัฒนาการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

เซ็นทรัล ทำ ภายใต้ Sustainable Development Goals (SDGs) 17 ข้อ ได้ถูกรวบรวมและแปลงมาเป็น 4 เสาของการดำเนินงาน คือคน การศึกษา, ชุมชน ปากท้อง เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม ความร่วมมือมือ ความสงบสุข และวัฒนธรรม – กีฬา .โดยทั้ง 4 เสานี้จะต้องเดินไปด้วยกัน เพียงแค่ว่าชุมชนไหนจะเริ่มที่เสาไหนก่อน นี่คือ สิ่งที่เป็นแนวทางการทำของ 6 โปรแกรม ในการเดินไปสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย 1. Inclusion ลดความเหลื่อมล้ำ  2. Community Contribution ส่งเสริมเศรษฐกิจ ชุมชน สร้างอาชีพ และบรรเทาสาธารณภัย 3. Human Capital Development พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4.Ciircular Economy & Waste Management ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย 5. Food Loss & Food Waste Reduction ลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขยะอาหาร และ 6. Climate Action ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะและหลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน  

วิธีการทำงานของเซ็นทรัล ทำ คือ การดูทั้ง Hard Side และ Soft Side โดยมีการทำโครงการหลักๆ ทางการศึกษา อาทิ โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา และ หลักสูตรห้องเรียนอาชีวะ รวมทั้งการร่วมเป็นหนึ่งใน 12 บริษัท ก่อตั้งโครงการโรงเรียนประชารัฐ (ConnextEd) พัฒนาการศึกษาระดับประถมถึงมัธยมศึกษา 3 ล่าสุด เวิลด์แบงก์ ยังให้ความสนใจร่วมทดลองโมเดลการสร้างงานสร้างอาชีพให้นิสิตนักศึกษาระหว่างเรียน เตรียมและสร้างอาชีพ 

ดร.ชาติชาย กล่าวว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทั้งเศรษฐกิจและโอกาสการเข้าถึง สิ่งที่จะทำให้การศึกษาไทยพัฒนาได้อย่างยั่งยืน คือ การฝึกคนให้คิดอย่างยั่งยืน ต้องคิดให้ถูกจุด และคิดด้วยกัน การพัฒนาการศึกษาทั้งหมดต้องเป็น Education System ปัญหาใหญ่ของระบบการศึกษา คือ การคิดเรื่องการศึกษาเป็นท่อนๆ ไม่เป็นท่อ ทำให้ Share Value ไม่เกิด

กลุ่ม เซ็นทรัล มีความเชื่อว่าการพัฒนาการศึกษาเชื่อมโยงทุกระดับ จะก่อให้เกิดพลังการศึกษาอย่างมาก เนื่องจากต้องมีการเตรียมความพร้อมให้นักเรียน นักศึกษาอย่างต่อเนื่องในแต่ละระดับ ซึ่งการเรียนการสอนแต่ละระดับมีความเชื่อมโยงกัน รวมทั้งต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ด้วยการพัฒนาทักษะและความรู้ที่เป็นประโยชน์ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และต้องพัฒนาทักษะทางสังคมในแต่ละระดับไปพร้อมๆ กัน 

สิ่งที่รัฐบาลควรตระหนัก เพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน คือ รัฐควรกำหนดนโยบายการศึกษาที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม (Concrete Education Policy) พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการศึกษา และการบริหารด้านการศึกษาต้องมีความต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือ (Collaboration) จากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม

นอกจากนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การพัฒนาทักษะทุนชีวิต (Foundational Skill) เพราะนั่นคือพื้นฐานที่สำคัญของการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบัน และอนาคต 

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ไขรหัส SUSTAINABLE WELLNESS ไร้โรค รักษ์โลก

ปลดล็อกมิติสุขภาพกับความยั่งยืน SUSTAINABLE WELLNESS : รักษ์โลก ไร้โรค เพราะสุขภาพดี คือ สมบัติที่สำคัญที่สุด

You May Like