AIS อุ่นใจ CYBER เปิด “ผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024” ปีที่ 2 เผยคนไทยความรู้ความเข้าใจด้านไซเบอร์ยังอยู่ในระดับพื้นฐาน ไม่มีความรู้ความเข้าใจการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ การใช้ Wi-Fi สาธารณะทำธุรกรรมทางการเงิน เสี่ยงภัยมิจฉาขีพ เร่งหนุนใช้ Digital Health Check สแกนมิจฉาชีพ
สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า ภายใต้โครงการ AIS อุ่นใจ CYBER AIS ได้ต่อยอดสู่การพัฒนาเครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์แบบรายบุคคล หรือ Digital Health Check เป็นครั้งแรกในไทย เพื่อทำให้ทุกคนสามารถประเมินระดับความสามารถ ในการรับมือจากภัยไซเบอร์ พร้อมศึกษาความรู้จากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เพื่อยกระดับทักษะดิจิทัลได้ด้วยตัวเอง
นอกจากนี้ AIS ยังขยายความครอบคลุมบริการ AIS Secure Net เพิ่มประสิทธิภาพการกรองเว็บไซต์อันตรายทั้งในและต่างประเทศ โดยลูกค้า AIS สามารถใช้บริการ AIS Secure Net ฟรีเป็นเวลา 12 เดือน
AIS เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 พบว่า คนไทยเกินครึ่งขาดทักษะความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ในปีที่ผ่านมา AIS ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการ เปิดตัวดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index ฉบับแรกของไทย ที่ทำให้เห็นถึงระดับทักษะการรับรู้และความเข้าใจการใช้งานดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่คนไทยยังคงต้องพัฒนาทักษะความรู้เพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหยิบเอาผลการศึกษาของเราไปต่อยอดในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้ได้ตรงกลุ่มอายุ อาชีพ หรือแม้แต่พื้นที่อย่างสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน
สำหรับปีนี้ผลการศึกษาก็ยังสะท้อนให้เห็นว่า แม้คนไทยจะมีการพัฒนาความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น จนผลในภาพรวมอยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ยังมีจุดที่น่ากังวล เพราะคนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเสี่ยงต่อภัย ที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การไม่มีความรู้ความเข้าใจการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งง่ายต่อการคาดเดา แม้แต่การไม่ทราบว่าการเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะเป็น HTTPS เป็นต้น
ปัจจุบันคนไทยขาดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานง่ายๆ อย่างเรื่องการโอนเงิน ต้องไม่ใช่ Wifi สาธารณะในการโอนเงินโดยเด็ดขาด หรือเมื่อมีเบอร์แปลกๆ โทรเข้ามาก็ไม่ควรรับ หรือรับแล้ววางแล้วโทรกลับเบอร์เดิม หากไม่มีสัญญาณหรือติดต่อไม่ได้ นั่นคือเบอร์จากมิจฉาชีพ หรือ การใช้งานโทรศัพท์มือถือขณะชาร์จแบต เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสายชาร์จแบตบางรุ่นมันดูดข้อมูลได้ หากมือถือเครื่องนั้นเปิดใช้งานอยู่
ระยะเวลา 2 ปี 5 เดือน ประเทศเราเสียหายไปกับการถูกมิจฉาชีพฉ้อโกงเกือบ 7 หมื่นล้านบาท กรกฎาคม 2567 เดือนเดียวมีความเสียหายเกิดขึ้น 3,471 ล้านบาท
เดิม AIS Secure Net มีบริการ AIS Secure Net KID ซึ่งบล็อกเวปที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก และมี Google Family Link ตอนนี้ได้จับมือกับ Google ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการ Google Family Link ได้ฟรี ทำให้ผู้ปกครองสามารถจำกัดการใช้อินเตอร์เน็ตในเครื่องของลูกได้
ในแกนของ Wisdom จะสื่อสารเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น และพยายามขับเคลื่อน AIS Secure Net สู่ประชาชนให้มากขึ้น เพื่อให้ทุกคนได้เช็คสุขภาพด้านไซเบอร์ของตัวเอง เอามาเทียบกับ index จะทำให้รู้ว่าเราควรต้องเติมความรู้ทางด้านไหน
ในเชิงของเทคโนโลยี AIS เริ่มจากการแจ้งเบาะแส สำหรับ AIS Secure Net ลูกค้าต้องแสดงความประสงค์ให้ AIS ช่วยบล็อกเวปอันตราย และอนาคต เน็ทเวิร์คจะมีความสามารถในการบล็อกลิงค์ บล็อกการโทรเข้าที่รวดเร็วกว่าเดิม และแจ้งเบาะแสได้ ซึ่งมีการร่วมกับตำรวจสอบสวนกลางแชร์ข้อมูลกัน ปัจจุบัน กว่าจะบล็อกได้ใช้เวลา 2-3 วัน ต่อไปจะบล้อกได้เป็นรายชั่วโมง ขณะนี้ AIS Secure Net ได้เติมเวปอันตรายทั่วโลก และเริ่มใส่เวปไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567
AIS ได้จับมือกับภาครัฐ เพื่อตัดตอนวงจรให้มากที่สุด เช่น การลงทะเบียนซิม ตอนนี้เรียกมาลงทะเบียนใหม่แล้วทั่วประเทศ กฎของ กสทช. คือ 1 คนห้ามเกิน 5 ซิม ทำให้ซิมที่ไม่รู้ว่าเป็นใครหายไปจากตลาด
นอกจากนี้ AIS ยังมีบริการแจ้งเบอร์โทรมิจฉาชีพ ผ่านเบอร์ 1185 (โทรฟรี) ซึ่งจะให้บริการผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติและช่องทางแชทอุ่นใจ เพื่อให้ลูกค้าทำรายการได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อ Call Center
AIS ทำงานควบคู่กันทั้งการส่งเสริมทักษะความรู้ และพัฒนาเครื่องมือปกป้องการใช้งาน ล่าสุด ได้พัฒนาเครื่องมือ “Digital Health Check” เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง พร้อมทั้งแนะนำช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ในการป้องกันภัยไซเบอร์ให้แก่ลูกค้าและคนไทย”
ส่วนการสมัครใช้งาน AIS Secure Net สามารถกด *689*6# สมัครได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG ชูจุดเด่นปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานออนไลน์ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ ในราคาเดือนละ 39 บาทเท่านั้น สมัครง่ายๆ เพียงกด *689*10# โทรออก
ผู้ที่สนใจตรวจเช็กสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเอง ได้ที่ https://digitalhealthcheck.ais.th และสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index