Braskem ผนึกไทยบุกตลาด Bio-PE เอเชีย เพิ่มโอกาสลด CO2

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 47 Second

Braskem เร่งสรุปแผนด้านวิศวกรรม กรอบการทำงาน และต้นทุนการผลิต ผลักดันไทยสู่ฐานการผลิตพลาสติกชีวภาพระดับโลกรองรับตลาดเอเชียและสหรัฐอเมริกา เผยกระบวนการทางเคมีเสริมศักยภาพไทยลดปล่อย CO2

บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) หรือ SCC โดยบริษัทไทยโพลิเอทิลีน จํากัด (หรือ “TPE”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จํากัด (มหาชน) (หรือ “SCGC”) (ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมด)ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับบริษัท Braskem S.A. ผ่านบริษัทย่อยคือ Braskem Netherland B.V. และบริษัท Braskem Europe GmbH (หรือรวมเรียกว่า “Braskem”) เมื่อสิงหาคม 2023 จัดตั้งบริษัทร่วมทุนสําหรับ ผลิตไบโอ-เอทิลีนจากเอทานอล (หรือ “Green-Ethylene from ethanol”) ในสัดส่วน Braskem 51% และ TPE 49% โดยจะมีการจัดตั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพ พอลิเอทิลีน (Bio-PE) ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท กำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี

ล่าสุด วอลเมียร์ โซลเลอร์ (Walmir Soller) รองประธานโอเลฟินส์/โพลิโอเลฟินส์ยุโรปและเอเชีย และซีอีโอ Braskem Netherland B.V. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาทางด้านวิศวกรรม การพัฒนากรอบการทำงาน (regulatory framework) รวมถึงเรื่องของต้นทุน และเงื่อนไขต่างๆ ในการปฏิบัติการทำงาน ซึ่งจะสรุปได้ภายในสิ้นปี 2024 และจะตัดสินใจดำเนินการภายในต้นปี ค.ศ.2025

โปรเจคนี้ประโยชน์ไม่ใช่แค่การผลิตไบโอ-พอลิเอทิลีน หรือ Bio-PE เท่านั้น แต่ยังขยายโอกาสให้ไทยในการทำตลาดเอทานอลได้ดีขึ้น เพราะนอกจากปริมาณรถไฟฟ้าที่จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ แบรนด์ใหญ่ๆ ในโลก ยังสามารถผลิตสินค้าที่ใช้ผลิต Bio-PE ที่ตรงมาตรฐานสากล ผลักดันอุตสาหกรรมอ้อยและเอทานอลให้กับไทยไปพร้อมๆ กัน

Braskem ดำเนินธุรกิจ Biobased หรือการผลิตพลาสติกที่ทำมาจากพืช เช่น อ้อยหรือข้าวโพด โดยผลิตที่บราซิลส่งออกไปยังทุกภูมิภาค สำหรับการทำโปรเจคร่วมกับ TPE ของ SCGC ทาง Braskem จะใช้โมเดลเดียวกันกับที่บราซิล โดยให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต Bio-PE ซึ่งจะเริ่มกระจายตลาดไปทั่วเอเชีย หลังจากนั้น จะขยายเพื่อส่งออกไปยังยุโรป และสหรัฐอเมริกาผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก

วอลเมียร์ โซลเลอร์ (Walmir Soller) รองประธานโอเลฟินส์/โพลิโอเลฟินส์ยุโรปและเอเชีย และซีอีโอ Braskem Netherland B.V.

ปัจจุบัน Braskem ผลิตไบโอ-พอลิเอทิลีนอยู่ที่ 2.6 แสนตันต่อปี เพิ่มจากเดิมที่ผลิตได้ราว 2 แสนตันต่อปี โดยมีแบรนด์ I’m GreenTM ซึ่งเป็นไบโอ-พอลิเอทิลีน ที่ช่วยดูแลโลกควบคู่กับการตอบความต้องการของลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยมีฐานลูกค้าใหญ่ในยุโรป – เอเชียรวม 85% นอกจากนี้ ยังมีอเมริกาเหนือ เแม้จะเป็นตลาดที่เริ่มช้าหน่อย แต่เห็นการเจริญเติบโตที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว

สำหรับตลาดในเอเชีย เป็นตลาดที่มีขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่ และอีกหน่อย จะมีการนำไปประยุกต์ใช้ไบโอ-พอลิเอทิลีนมากขึ้น ทั้งแบรนด์ต่างๆ รวมทั้งรัฐบาลของแต่ละประเทศก็เห็นความสำคัญตรงนี้มากขึ้น ตลาดเอเชียจึงเป็นโอกาสที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงมากในอนาคต

ที่สำคัญคือ Braskem มีเทคโนโลยีและขั้นตอนการผลิตที่ช่วยลดปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากผลิตภัณฑ์ I’m green™ ทุกครั้งที่ผลิตออกมา จะมีการไปดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศ ทุกครั้งที่ผลิตไบโอ-พอลิเอทิลีนขึ้นมา 1 กิโลกรัม เราสามารถดึงคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้ 2 กิโลกรัม และยังลดการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตที่ปกติต้องเพิ่มขึ้น 3 กิโลกรัม ทำให้โดยรวมการผลิตไบโอ-พอลิเอทิลีน สามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ทันที 5 กิโลกรัม

กระบวนการทำงานทั้งหมด สอดคล้องกับแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนของ Braskem จากผลิตภัณฑ์ 2 แบบ อันหนึ่งคือ Biobased ที่ใช้วัตถุดิบจากพืช และอีกอัน คือ การใช้วัตถุดิบจากวัสดุที่เป็นรีไซเคิล ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของ Braskem คือการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการใช้วัสดุที่เป็น Biobased ส่วนเรื่องของรีไซเคิลคือ ความพยายามในการลดขยะพลาสติก โดย Braskem มีเป้าการเป็นองค์กรที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2050

Braskem เป็นผู้ผลิตเทอร์โมพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาและเป็นผู้ผลิตไบโอ-พอลิเมอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก รวมทั้งเป็นผู้ผลิตพอลิโพรพิลีนที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ในปี 2022 Braskem มียอดขายสุทธิประมาณ 18,731 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสินทรัพย์รวมประมาณ 17,775 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

'ฮีทสโตรก' ภัยร้ายหน้าร้อนใกล้ตัว

ช่วงที่มีอุณหภูมิร้อนจัดและความชื้นในอากาศสูง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดได้ง่าย ซึ่งโรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินร้ายแรง ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิต

You May Like