ซีพีเอฟ ริเริ่มโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่สังคม ได้มีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ ล่าสุด เปิดตัวรายงานความยั่งยืนประจำปี 2563 ตอกย้ำกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ สนับสนุนการบริหารจัดการธุรกิจให้ดำเนินไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
วิกฤติภัยธรรมชาติและโรคระบาดโควิด -19 ที่เกิดขึ้นในปี 2563 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเกิดวิถี New Normal ของพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่หันมาให้ความสำค้ญกับเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าการมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอในทุกสถานการณ์ เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ทุกคนก้าวข้ามวิกฤติได้
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร ตระหนักดีถึงภารกิจสร้างความมั่นคงทางอาหาร พร้อมยืนหยัดเคียงข้างสังคมไทยมาโดยตลอด เป็นบริษัทแรกๆที่ส่งความช่วยเหลือสู่สังคม ผ่านโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ซึ่งริเริ่มโดย นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมส่งมอบอาหารปลอดภัย เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้ทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และครอบครัว เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้กักตัวเอง ผู้มีรายได้น้อย แรงงานข้ามชาติ กลุ่มเปราะบาง ฯลฯ ได้มีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ
นอกจากการส่งมอบอาหารปลอดภัยแล้ว ซีพีเอฟเป็นบริษัทไทยรายแรกที่ประกาศยกระดับความปลอดภัยของพนักงานขึ้นระดับสูงสุด พร้อมทั้งปรับแผนการดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้า โดยจัดทำโครงการ Faster payment ลดระยะเครดิตเทอมเหลือ 30 วัน ให้แก่คู่ค้ากว่า 6,000 ราย เพิ่มสภาพคล่องและรักษางานของลูกจ้างในกลุ่มคู่ค้า กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิด -19 บริษัทมีการบริหารจัดการกระบวนการผลิตไม่ให้หยุดชะงัก ยกระดับคุมเข้มความปลอดภัยขั้นสูงสุดในการดำเนินงานทุกขั้นตอน สอดคล้องนโยบายของภาครัฐ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งในไทยและทั่่วโลกไม่อยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมอาหารรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย เพื่อสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี
ภายใต้การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร บริษัทบูรณาการการดำเนินงานเข้ากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยปัจจุบัน ซีพีเอฟสนับสนุนเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด 13 เป้าหมาย จาก 17 เป้าหมาย และมีการทบทวนกลยุทธ์ความยั่งยืนให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ สนับสนุนให้ธุรกิจเดินหน้าและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ภายใต้การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ CPF ผนวกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) เข้ากับกลยุทธ์ความยั่งยืน 3 เสาหลัก โดยสนับสนุนเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด 13 เป้าหมาย จาก 17 เป้าหมาย มีการทบทวนกลยุทธ์ความยั่งยืนให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ สนับสนุนให้ธุรกิจเดินหน้าและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด CPF ได้เปิดตัวรายงานความยั่งยืนประจำปี 2563 ตอกย้ำกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ สนับสนุนการบริหารจัดการธุรกิจให้ดำเนินไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อผลิตอาหารคุณภาพดี ปลอดภัย เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ควบคู่กับการมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตามวิสัยทัศน์ “ครัวของโลกที่ยั่งยืน”
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส หน่วยงานความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน CPF กล่าวว่า ในรายงานความยั่งยืนฉบับนี้ ได้แสดงความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ CPF จากโครงการต่างๆ และการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สามารถติดตามรายละเอียดของรายงานความยั่งยืนได้ที่ https://www.cpfworldwide.com/th/sustainability/report
สำหรับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ปี 2573 (ปี 2030) จะเน้นสร้างนวัตกรรมอาหาร การพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การผลิตที่มุ่งสู่เป้าหมาย Net-zero ลดก๊าซเรือนกระจกและขยะอาหารโดยใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับกลุ่มอุตสาหกรรม ประเทศและโลก พร้อมทั้งแบ่งปันคุณค่าร่วมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่สร้างความมั่นคงทางอาหารของโลกอย่างยั่งยืน