NocNoc เชื่อมชุมชน สิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืนให้บ้าน ผ่าน “NocNoc Craft” จับมือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดันผู้ประกอบการท้องถิ่น สู่ตลาด Home and Living ออนไลน์
อนุพงศ์ ทะสดวก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้าและพาณิชย์ บริษัท เบ็ตเตอร์บี มาร์เก็ตเพลส จำกัด หรือ NocNoc กล่าวว่า NocNoc ขยายตลาดสินค้าตกแต่งบ้านงานคราฟท์ ผ่านการสะท้อนคุณค่าของชุมชน และสิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืนให้ “บ้าน” ภายใต้ชื่อ “NocNoc Craft” โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่อยู่บนแพลตฟอร์ม และผู้ประกอบการรายใหม่เข้าร่วม NocNoc Craft เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ ผ่านการทำการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ การให้ไอเดีย และแรงบันดาลใจ เพื่อให้สินค้าตกแต่งบ้านงานคราฟท์เข้าได้กับทุกสไตล์การแต่งบ้าน การสร้างประสบการณ์ช้อปที่ดีบนแพลตฟอร์ม NocNoc รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการท้องถิ่นทุกภาคทั่วไทยให้มีอาชีพ มีรายได้อย่างยั่งยืน
NocNoc เป็นแบรนด์ของคนไทย ที่มีแนวคิดในการดำเนินทำธุรกิจเพื่อผลักดันให้แบรนด์คนไทยด้วยกันมีการเติบโตอย่างมั่นคงและ ‘ยั่งยืน’ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการท้องถิ่นที่ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้านจากภูมิปัญญาไทย และวัตถุดิบเฉพาะถิ่น ที่มีอัตลักษณ์ตอบรับเทรนด์การแต่งบ้านร่วมสมัยได้อย่างลงตัว ให้เป็นที่รู้จักในตลาด Home and Living และสากล
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทำการคัดเลือกร้านค้าชุมชนที่มีศักยภาพ และมีสินค้างาน Craft เกรดพรีเมียมที่แสดงถึงอัตลักษณ์และภูมิปัญญาของชุมชน โดยมุ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ด้วยการร่วมมือกับแพลตฟอร์ม NocNoc ศูนย์รวมสินค้าและบริการเรื่องบ้านออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกลุ่ม Home and Living มีช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์อย่างประสิทธิภาพ และสร้างการเติบโตในการดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็วและยั่งยืน กระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นให้สามารถเพิ่มมูลค่าการเติบโตอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ
NocNoc ยังได้ผลักดัน NocNoc Craft สู่ตลาด Home and Living ที่งานบ้านและไลฟ์สไตล์ใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง NocNoc Fair 2024 ระหว่างวันที่ 23-28 ก.ค.2567 ณ ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชวนผู้ประกอบการท้องถิ่นร่วมแสดงสินค้า และขึ้นเป็นผู้ขายบนแพลตฟอร์ม NocNoc อาทิ ร้าน SAMART WOOD เฟอร์นิเจอร์ไม้สักในคอนเซ็ปต์ Handmade to Global ด้วยการออกแบบสินค้าไม้สักที่ทันสมัย ตรงตามความต้องการของตลาด ผลิตสินค้าแบบ Made to order ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรจากกระบวนการผลิต และช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างมั่นคง
สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย ร้าน LIVE FURNITURE ของใช้และของแต่งบ้านจากไม้ลำไย ที่มีการออกแบบเรียบง่ายและสง่างาม พร้อมใช้กระบวนการอบแห้งเปลี่ยนเนื้อ Green cells เป็น Dry cells ช่วยให้เนื้อไม้ทนทาน ไม่เป็นเชื้อรา และรักษากลิ่นหอมอ่อน ๆ ของไม้ลำไยไว้ได้อย่างดี
ร้าน TONE KHRAM PHRAE ผ้าหม้อห้อมทำมือจากวัตถุดิบผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ 100% โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยพวน บ้านทุ่งโฮ้ง ที่ถูกรื้อฟื้นและพัฒนาให้มีรูปแบบที่เรียบง่ายแต่ใส่ได้ทุกโอกาส และยึดแนวทางการผลิตแบบ Waste management ลดการสูญเสียทรัพยากรในทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี
ร้าน RERA CERAMIC แจกันเซรามิกและชามประดับ รังสรรค์ด้วยไอเดียความไม่สมบูรณ์แบบ เป็นศิลปะการปั้นอิสระด้วยมือ-ไม่เป็นรูปทรง ตามแนวคิดธรรมชาตินิยม ให้คุณค่ากับความเรียบง่ายที่เข้าได้กับทุกสิ่ง (Wabi-Sabi) โดยใช้ดินจากภาคเหนือที่รียูสจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยผ่านการเผาเพียงครั้งเดียวเพื่อให้เนื้อผิวที่แน่น พร้อมช่วยการลดการปล่อยขยะออกสู่สิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
ร้าน CHITA HOUSE ของใช้ภายในครัวเช่น ถ้วย ช้อน ชาม ครกจากไม้ที่ สนับสนุนงานฝีมือจากวิสาหกิจชุมชนไทยในภาคอีสาน เพื่อสร้างความยั่งยืน เนื่องจากกลุ่มชุมชนเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นคุณลุง คุณป้า ไม่มีความถนัดในการขาย และโปรโมทสินค้าแบบออนไลน์ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนยุคใหม่ ที่หันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์กันมากขึ้น ชิตา เฮาส์ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสินค้าให้เป็นที่รู้จัก และสร้างรายได้สู่ชุมชน