อินโดรามา เวนเจอร์ส ฉลองครบรอบ 10 ปี โครงการประกวด “RECO Collective” ดึงพันธมิตร ต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์ดีไซเนอร์ สู่คอมเมอร์เชี่ยล สวมใส่ได้จริง ขายได้จริง หวังต่อยอดเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
โครงการประกวด “RECO Collective” โครงการใหญ่ประจำปีของ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการนำวัสดุรีไซเคิลมาผลิตเป็นสินค้าแฟชั่น ส่งเสริมคุณค่าของวัสดุรีไซเคิลควบคู่ไปกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งอินโดรามาฯ ทำต่อเนื่องมาถึงปีที่ 10
อาราธนา โลเฮีย ชาร์มา รองประธาน บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการ “RECO Collective” เป็นโครงการส่งเสริมคุณค่าของวัสดุรีไซเคิล ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่ปีนี้ได้ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ และการสร้างธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของแฟชั่นยั่งยืน ให้มีความยั่งยืนต่อไป ด้วยโอกาสทางการตลาด และยังส่งต่อแฟชั่นยั่งยืนรักษ์โลกของเหล่าบรรดาดีไซเนอร์ สู่ผู้ใช้อย่างแท้จริง
อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้สร้างแพลทฟอร์ม ที่รวมเหล่าพาร์ทเนอร์ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเสื้อผ้าและแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็นโรงทอ รีเทล ช่องทางออนไลน์ และองค์ความรู้ต่างๆ ในการสร้างธุรกิจมาส่งต่อให้กับดีไซเนอร์ ซึ่งส่งผลให้งานแฟชั่นในปีนี้ นอกจากโดดเด่นทางด้านดีไซน์จากวัสดุรีไซเคิลแล้ว ยังเน้นสวมใส่ได้ และจำหน่ายได้จริง
“ปีนี้ เรื่องแฟชั่นความยั่งยืน เราพยายามสร้างบิซิเนสโมเดล ทำให้ดีไซเนอร์ได้เรียนรู้การสร้างธุรกิจ ซึ่งคอร์สของเรามี อ.อุ้ม – กมลนาถ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการหลักสูตร RECO Incubation Lab มาพัฒนาหลักสูตรให้ ทั้งมาร์เก็ตติ้ง กาเรจรจา การเซ็ท ราคา การหาช่องทางจัดจำหน่าย และมีไทยแทฟฟิต้า มาสนับสนุนผ้ารีไซเคิล รวมทั้งส่งเสริมช่องทางการขายทางออนไลน์ของบริษัท แดพเพอร์ เจ็นเนอรัล อะแพเร็ล จำกัด และมี Ecotopia เข้ามาช่วยเสริม ารจัดจำหน่ายหลังแฟชั่นโชว์”
สุพจน์ ชัยวิไล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยแทฟฟิตา จำกัด บริษัทผู้ผลิตสิ่งทอครบวงจร กล่าวว่า โปรเจคนี้ได้ต่อยอดจากแค่กิจกรรมซีเอสอาร์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรคืสำหรับแฟชั่นยั่งยืน ซึ่งงานลักษณะนี้ จะใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ถ้าทำคนเดียวจะเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องเริ่มตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
อินโดรามา นำขวด มาส่งให้ ไทยแทฟ ก็เป็นเส้นใยผ้า ไปส่งต่อดีไซเนอร์ สุดท้ายก็มี อ.อุ้ม อีโคโทเปีย เดปเปอร์ ….ถือเป็นแพลทฟอร์มตัวอย่าง ที่บุกเบิกตลาด และทำให้เกิดขึ้นได้จริง เป็นคอมเมอร์เชี่ยลได้แล้ว Sustainability ต้องมาพร้อมกับความร่วมมือ ไม่งั้น คอมเมอร์เชี่ยลก็เกิดไม่ได้
ศิริทิพย์ ศรีไพศาล ผู้อำนวยการธุรกิจ บริษัท แดพเพอร์ เจ็นเนอรัล อะแพเร็ล จำกัด กล่าวว่า ปีนี้พิเศษกว่าที่ผ่านมา จะไม่แค่ประกวด ใส่เดินไม่ได้ แต่คราวนี้มีวิชั่นที่จะทำให้เขาเข้าใจในส่วนของบิซิเนส แดพเพอร์เข้ามาช่วยเสริมในแง่ธุรกิจ ทำให้แบรนด์เขาเกิดได้จริง ขายได้จริง โดยโฟกัสไปที่ออนไลน์ สร้างเป็น E-Catalog ทำ SEO และ Google Search ต่างๆ
กานต์สิริ วิชชุวิวรรธณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารสินค้า ฝ่ายบริหารสินค้า Discovery Retail และ Ecotopia กล่าวว่า สินค้าแฟชั่นรักษ์โลก ถือเป็นสินค้าที่ได้รับการตอบรับดี
กมลนาถ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการหลักสูตร RECO Incubation Lab กล่าวว่า โครงการนี้เป็นปีที่สิบ มีการเติบโต จากเริ่มต้นด้วยครีเอทีฟมากๆ จบที่โชว์ แต่เมื่อพูดถึงความยั่งยืน เรื่องการดีไซน์เป็นส่วนเดียวเล็กๆ ที่อินสไปร์ให้คนเห็นได้จริง ก็ต้องอาศัยการร่วมมือกัน ต้องใช้องค์ควารู้หลากหลาย
Incubation Lab มีการออกแบบตั้งแต่ความรู้เรื่องแบรนดดิ้ง การสร้างแบรนด์ เป็นสปริงบอร์ดให้กับพวกเขา มันทั้งง่าย และยาก แค่มีเครื่องมือไม่พอ ต้องทำแบรนด์ให้โดดเด่น และเข้าถึงวัตถุดิบรีไซเคิล พอได้วัตุดิบ ก็มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คิดตั้งแต่ต้นทาง ให้เกิดของเสียน้อยที่สุด และตรงใจผู้บริโภคมากที่สุด เพราะถ้าไม่ตรงใจก็ขายไม่ออก และคิดคำนึงถึงปลายทาง สินค้าไปถอดประกอบแยกชิ้น หรือรีไซเคิล หรือรับคืนจากลูกค้าอย่างไร เพื่อให้เขาไปประยุกต์ต่อ คิดทั้งระบบ และออกแบบเมอร์เชนไดร์ฟซิ่ง และยังติดต่อโรงงานในการผลิตให้ด้วย เรากำลังสร้าง Professionalism หรือความเป็นมืออาชีพให้นักออกแบบ