RISC เดินหน้างานวิจัย 7 ด้านเพื่อความยั่งยืน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:7 Minute, 53 Second

RISC by MQDC ตอกย้ำกุลยุทธ์ ‘For All Well-Being’ ประกาศงานวิจัย 7 ด้านหลักเพื่อความยั่งยืน สอดรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ RISC 7 Research Area and SDGs 2020

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เปิดเผยว่า RISC by MQDC เดินหน้างานวิจัยสำหรับสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับสรรพสิ่งบนโลก หรือ For All Well-Being พร้อมทั้งมีความตั้งใจที่จะเป็นศูนย์วิจัยเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน โดยในแต่ละปี มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา นักวิจัย และประชาชน เข้าศึกษาดูงานที่ RISC by MQDC เฉลี่ยสูงถึง 10,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ภายใต้งานวิจัยใน 7 ด้านหลัก ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : SDGs) มากถึง 12 ข้อ จากทั้งหมด 17 ข้อด้วยกัน เพื่อร่วมแนวคิดในการเปลี่ยนโลก ตระหนักถึงชุมชน สังคม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและการร่วมมือกันทุกภาคส่วน เพื่อนำเป็นพื้นฐานของกระบวนความคิดและการวิจัยภายใต้การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยั่งยืน ได้แก่

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC)

ข้อ 3 การรับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ (Good Health and Well-Being) ข้อ 4 การรับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน (Quality Education) ข้อ 5 การบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง (Gender Equality) ข้อ 6 การรับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (Clean Water and Sanitation) ข้อ 7 การรับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย (Affordable and Clean Energy) ข้อ 9 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่งถึง และสนับสนุนนวัตกรรม (Industry Innovation and Infrastructure)

ข้อ 11 การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) ข้อ 12 รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) ข้อ 13 การดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (Climate Action) ข้อ 14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Life Below Water) ข้อ 15 การปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน (Life on Land) และ ข้อ 17 สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals)

งานวิจัย 7 ด้านหลักของ RISC by MQDC ประกอบด้วย

1.สุขภาพและสุขภาวะที่ดี (Health & Wellness) สอดคล้องกับหลักการของสหประชาชาติในเรื่องของ Good Health and Well-Being, Clean Water and Sanitation, Sustainable Cities and Communities, และ Life on Land ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ในแต่ละวันเราใช้เวลาอยู่ในอาคารมากกว่า 90% จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายของ RISC ในการทำให้อากาศภายในอาคารมีคุณภาพที่ดี รวมถึงมีอุณหภูมิ ความชื้น และแสงที่เหมาะสม สำหรับภายนอกอาคารทาง RISC ได้พัฒนาหอฟอกอากาศระดับเมือง หรือ “ฟ้าใส” และ เครื่องฟอกอากาศแบบไฟฟ้าสถิต หรือ “Fresh One” เพื่อจัดการปัญหามลภาวะฝุ่นพิษ PM 2.5 และ PM 10 รวมถึงวิจัยในประเด็นของแสงและสีในที่อยู่อาศัยที่มีผลกระทบต่อร่างกาย สุขภาพจิต และสภาวะสมอง ซึ่งทำให้มีแนวโน้มการเจ็บป่วยโดยไม่รู้ตัว

2.วัสดุและการใช้ทรัพยากร (Materials & Resources) สอดคล้องกับหลักการของ Clean Water and Sanitation, Affordable and Clean Energy, Responsible Consumption and Production, Climate Action, Life Below Water และ Life on Land ซึ่งภายใต้ MQDC Standard คือ หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุก่อสร้างบางอย่างเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาว เช่น วัสดุจากไม้จริง (Solid wood) เพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำธรรมชาติและระบบนิเวศ และหลีกเลี่ยงวัสดุบางชนิดเพื่อลดแนวโน้มความเจ็บป่วย เช่น วัสดุจากใยหิน ใยแก้ว หินธรรมชาติ จากแหล่งมีแร่ยูเรเนียม อันเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด ไม่ใช้วอลเปเปอร์เพื่อลดความชื้นอันเป็นสาเหตุของอาการภูมิแพ้ รวมถึงการนำขยะที่มีอยู่แล้วมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างในโครงการต่างๆ (Upcycling) เพื่อลดปริมาณขยะและทำเป็นทางเดินเท้า และขอบคันหิน ตลอดจนความพยายามในการออกแบบที่เที่ยงตรงให้ได้มากที่สุด เพื่อลดขยะในกระบวนการก่อสร้าง รวมถึงการลดใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำ โดยการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่และหมุนเวียนในโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ (THE FORESTIAS)

3.ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) สอดคล้องกับหลักการด้าน Sustainable Cities and Communities, Climate Action และ Life Below Water รวมทั้ง Life on Land ของสหประชาชาติ โดยทุกโครงการของ MQDC จะมีการศึกษาและสำรวจสิ่งมีชีวิตต่างๆ ก่อนเริ่มพัฒนาพื้นที่ เพราะเราเชื่อว่า หากโลกนี้ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป คงจะไม่สมดุล ยกตัวอย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ลงพื้นที่สำรวจโครงการ THE FORESTIAS เพื่อหาแนวทางการดูแลและลดผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ ให้มนุษย์และธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กับเพิ่มพื้นที่ป่าในโครงการเพื่อเป็นบ้านของสัตว์และสิ่งมีชีวิต

4.เทคโนโลยีการออกแบบและการก่อสร้าง (Smart & Sensible Design & Construction) สอดคล้องกับหลักการของสหประชาชาติในด้าน Good Health and well-being, Industry Innovation and Infrastructure, Sustainable Cities and Communities และ Responsible Consumption and Production ซึ่ง MQDC ถือเป็นภาคเอกชนรายแรกๆ ของไทยที่มีการนำระบบ Building Information Modeling (BIM) มาใช้ในการพัฒนาและบริหารจัดการก่อสร้างโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการ 101 ทรู ดิจิทัล พาร์ค ซึ่งยังเป็นโครงการที่มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแรงสั่นสะเทือนของการเดินและยังมีการออกแบบและก่อสร้างภายใต้ MQDC Standard ทุกโครงการ เพื่อการรับประกันได้นานถึง 30 ปี ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ การรั่วซึมของหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร โครงสร้างอาคาร การใช้งานประตูหน้าต่าง และงานระบบท่อน้ำและสายไฟ เพื่อคุณภาพที่ดี ลดการซ่อมแซม ลดการใช้วัสดุทรัพยากรธรรมชาติตลอดช่วงอายุอาคาร

5.เทคโนโลยีและการควบคุมอัตโนมัติ (Technology & Automation) สอดคล้องกับหลักการทางด้าน Good Health and well-being ของสหประชาชาติ โดยการนำระบบเติมอากาศแบบแลกเปลี่ยนอุณหภูมิ (ERV: Energy Recovery Ventilator) ทำให้สามารถหมุนเวียนอากาศที่ดีเข้ามาในที่อยู่อาศัย และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในห้องปรับอากาศให้เหมาะสมกับปริมาณผู้อยู่อาศัย พร้อมทั้งทำงานร่วมกับระบบบ้านอัจฉริยะ (Home Intelligent System) อีกด้วย รวมถึงการนำระบบ Central Utilities Plant (CUP) และ “หุบความเย็น” (Cooling Basin) มาใช้ในโครงการ THE FORESTIAS ช่วยลดจำนวนคอยด์ทำความร้อนในที่อยู่อาศัย โดยระบบจะรวมความร้อนไปรวมที่จุดเดียว แล้วส่งน้ำเย็นเปลี่ยนเป็นแอร์เย็นหล่อเลี้ยงบ้านผู้อยู่อาศัย ดังนั้น ทำให้อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์สู่อากาศถึง 30,000 ตันต่อปี เทียบเท่ากับปลูกต้นไม้ 750,000 ต้น หรือ ปลูกป่าถึง 30,000 ไร่ และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 40% เมื่อเทียบกับโครงการทั่วไป

6.การลดผลกระทบจากการเดินทาง (Active & Low impact Mobility) สอดคล้องกับหลักการของสหประชาชาติในเรื่องของ Good Health and well-being และ Climate Action โดยการออกแบบเพื่อลดการใช้รถยนต์ ลดการตัดถนน ส่งเสริมพฤติกรรมการเดิน ซึ่งจะช่วยลดมลภาวะจากการใช้รถยนต์ลงได้ อย่างโครงการ 101 True Digital Park ได้มีการสร้างสกาย วอล์ค เชื่อมต่อเข้าสู่โครงการ และยังมีการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางที่ส่งเสริมการเดิน การใช้จักรยาน หรือแม้แต่มีการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า (EV Charger) รวมถึงโครงการ THE FORESTIAS ที่จะมีการออกแบบพื้นที่ปิดชัดเจน รถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ออกแบบสร้างพื้นที่การเรียนรู้ และพักผ่อนหย่อนใจที่มีความร่มรื่น ส่งเสริมให้เกิดการเดินและใช้ชีวิตภายนอกอาคารมากขึ้น

7.การสร้างชุมชน เผยแพร่ความรู้ และความเข้าใจคนทุกวัยทุกชนชาติ (Community & Intergens) สอดคล้องกับหลักการของสหประชาชาติในเรื่องของ Quality Education, Gender Equality และ Partnerships for the Goals โดยการศึกษาทำความเข้าใจทุกการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์เพื่อนำมาสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย ตั้งแต่เริ่มมีชีวิตในท้องแม่ จนเติบโตเข้าสู่วัยเรียน วัยทำงาน และวัยชรา เพื่อที่จะได้ออกแบบที่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของคนทุกช่วงวัย และส่งเสริมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ดังเช่น การศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่พบว่า ความสุข คือ การได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น ทำให้การออกแบบโครงการเน้นการมีพื้นที่ส่วนกลางให้เกิดกิจกรรมร่วมกัน อาทิ โครงการภายใต้แบรนด์ Mulberry Grove มีการออกแบบเพื่อให้ทุกเจนเนอเรชั่นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ลดความขัดแย้งภายในครอบครัว รวมทั้ง RISC ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาการทำงานของสมองโดยใช้เครื่องมือวัดคลื่นสมองว่าแต่ละสภาพแวดล้อมมีผลต่อการรับรู้อย่างไร เพื่อมาออกแบบเป็นที่อยู่อาศัยที่สร้างความสุขให้กับลูกบ้านยิ่งขึ้น

“RISC by MQDC” เป็นศูนย์วิจัยแห่งแรกของเอเชียที่มุ่งเน้นด้านการส่งเสริมสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกสรรพสิ่งบนโลก หรือ ‘For All Well-Being’ มีความพร้อมในการทำงานวิจัย 7 ด้านหลัก เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับทุกชีวิต และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) ทั้ง 12 ข้อ และขยายเป็น 17 ข้อในอนาคต

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

โคคา-โคล่า ร่วมติดตั้งเครื่องดักขยะ คลองลาดพร้าว

โคคา-โคล่า จับมือ เทอร์ราไซเคิล และ กรุงเทพมหานคร จัดทำ “โครงการติดตั้งเครื่องดักขยะในคลองลาดพร้าว” เพื่อทำความสะอาด และ ส่งเสริมการเปลี่ยนพฤติกรรมคนในชุมชน

You May Like