SB แนะธุรกิจ “ปฏิรูป” เพิ่มคุณค่า-มูลค่าความยั่งยืน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:9 Minute, 18 Second

SB ไทยแลนด์ ผนึก SB สเปน เติมองค์ความรู้ Regenerative พร้อมลงมือทำ เพื่อปฏิรูปความยั่งยืน อาหารและอนาคต เพื่อลด ละ เลิก และเติมเต็มความสมดุลย์ สร้างโลกที่ยั่งยืนอย่างมั่งคงแข็งแกร่ง

ดร. ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ SB ประเทศไทย กล่าวว่า Sustainable Brand (SB) THAILAND ก่อตั้งขึ้นมากว่า 8 ปี ทำงานสร้างแรงบันดาลใจ สร้างการมีส่วนร่วม และทำงานร่วมกับภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถจัดการการทำงานให้เติบโตและยั่งยืนได้ทั้งในระยะยาวและระยะสั้น ในปี พ.ศ.2566 Sustainable Brand THAILAND มองเห็นถึงวิวัฒนาการที่จําเป็นของแบรนด์ โดยเฉพาะการสร้างความความต่อเนื่องของสถานะที่เป็นอยู่และความสามารถของการไปต่อในอนาคต กับมุมมองของ Regenerative Brands แนวคิดที่พยายามจะฟื้นคืน และสร้างมูลค่าให้กับทุกสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อส่งมอบคุณค่าที่มากขึ้น ให้แบรนด์เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ท้าทาย สามารถต้านทานและพลิกฟื้นสภาพที่เป็นอยู่ของโลก สังคม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างดีขึ้น

ดร. ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ SB ประเทศไทย

ที่สำคัญต้องการให้แบรนด์มองหาการปรับปรุงระบบวิถีการขับเคลื่อนในแนวทาง regenerative มากขึ้น สําหรับพวกเราทุกคน เพื่อฟื้นคืนสมดุลโลก สร้างอนาคตที่ทุกชีวิตทั้งคนและธรรมชาติมีความยั่งยืนร่วมกันได้อย่างแท้จริง

แนวคิดของงานในปีนี้ คือ “Regenerative Food, Regenerative Future” จัดทั้งี่กรุงเทพฯ และจันทบุรี ซึ่ง ดร.ศิริกุล ได้นำแนวคิด Regenerative เข้าไปสู่ชุมชนและปรับให้เข้ากับสังคมของประเทศไทย โดยเลือกความสำคัญของธุรกิจอาหารซึ่งเป็นหัวใจหลักของประเทศ เพราะถ้าระบบอาหารมีการเปลี่ยนแปลงและแข็งแรง จะสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตให้เกื้อกูลไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไปได้ไกลกว่าเดิม

หลังจาก Regenerative ได้รับการพูดถึงจากคอนเซปท์มาสู่การขับเคลื่อนแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนานกว่า 2 ปี ดังนั้นในปี 2023 นี้ SB ประเทศไทย จึงเลือกแนวคิดใหม่ Regenerative มานำเสนอกันอย่างจริงจังในงานประชุมเชิงปฏิบัติการ SB’23 BANGKOK CHANTHABURI: Regenerative Food, Regenerative Future ภายใต้ความร่วมมือกันของ SB ประเทศไทย และ SB ประเทศสเปน และเป็นครั้งแรกที่เป็นความร่วมมือระหว่าง SB ทั้ง 2 ประเทศ โดยในงานประชุมจะเต็มไปด้วยกิจกรรมที่จะทำให้ทุกคนรู้จักกับแนวคิด Regenerative ผ่านหัวข้อใหญ่ 2 เรื่องที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาธุรกิจและศักยภาพของประเทศ

งานประชุม SB’23 BANGKOK CHANTHABURI จะนำเสนองานประชุมที่ผสานการเรียนรู้ และ การปฏิบัติจริงบนพื้นที่จริง ที่จันทบุรี โดยกิจกรรมในงานประชุมจะช่วยนำพาให้ทุกคนรู้จักกับแนวคิด Regenerative ผ่านระบบการเกษตร ระบบอาหาร(food system) และการฟื้นฟูและสร้างพื้นที่สร้างสถานที่ให้กลับมาสมบูรณ์ (placemaking) เพื่อให้เป็นระบบเชื่อมต่อที่จะผสานการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา(resilience) นำสิ่งที่หายไปกลับมา(restore) และสร้างอนาคตที่ทุกชีวิตทั้งคนและธรรมชาติมีความยั่งยืนร่วมกันได้อย่างจริงแท้(regenerate) ทั้งในประเทศไทย และในโลกใบนี้

งานครั้งนี้ มีนักคิดระดับโลก 2 ท่าน คือ Marc Buckley และ Jenny Andersson มาร่วมแบ่งปันความรู้ พร้อมนำการทำเวิร์คช็อปด้วยตนเอง ในช่วงระหว่างวันที่ 3 – 5 พฤศจิกายน 2566 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

3 พฤศจิกายน 2566, โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพ เพลินจิต (เวลา 08.30 – 17.30 น.): มาเรียนรู้ พูดคุยกันที่โรงแรมที่เป็นแบรนด์ที่สร้างธุรกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืน

o Plenary Hall: การเรียนรู้ พูดคุย และแลกเปลี่ยน กับนักคิดและนักปฏิบัติกาและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิดและการสร้าง Regenerative ระดับโลก: Marc Buckley, Jenny Andersson, Sandra Pina และ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ที่จะนำเสนอ ส่งตรงแนวคิด แนวปฏิบัติจากตัวอย่างจริง เพื่อให้ทุกท่านที่ข้าร่วมงานได้ร่วมกันค้นพบคำตอบว่า ทำไมความยั่งยืนจึงไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว

o มาร์ค บัคลีย์ (Marc Buckley) นักคิด และ นักปฏิบัติการด้านอาหารและตัวแทนความยั่งยืนจาก UN SDG พูดคุยในหัวข้อ “The Regenerative Food System : Food That Save The Future” และร่วมเวิร์คช็อปถึงวิธีที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ในประเทศไทย

o เจนนี่ แอนเดิร์สสัน (Jenny Andersson) ซีอีโอจาก We Activate The Future, ผู้ร่วมก่อตั้ง The Really Regenerative Centre พูดคุยในหัวข้อ “The Regenerative Future : Real Business Cases” และร่วมเวิร์ค ช็อปถึงศักยภาพที่ประเทศไทยจะสามารถทำให้สำเร็จ

o ซานดร้า พิน่า (Sandra Pina) ผู้อำนวยการจาก SB ประเทศสเปน และ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการจาก SB ประเทศไทย พูดคุยในหัวข้อ “Role of The Regenerative Brands” และร่วมเวิร์คช็อปว่าแบรนด์จะทำอย่างไรในการฟื้นคุณค่าจากสิ่งที่คุณมีให้เป็นจริงได้

60 นาที กับ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องความยั่งยืนอย่างแท้จริง 3 คนมา ตั้งคำถาม และหาคำตอบกับตัวจริง เสียงจริง นักคิดและนักปฏิบัติกาและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิดและการสร้าง Regenerative ระดับโลก: Marc Buckly, Jenny Andersson เป็น session เพื่อคนรุ่นใหม่ได้ยิน ได้ฟังจากประสบการณ์ และกรณีศึกษาจริงในเรื่อง regenerative ของโลก

o Mini Workshops: การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนการประชุมแบบปฏิบัติการกลุ่มย่อยถึง 4 กลุ่ม ได้แก่ Regenerative Food กับ Marc Buckley, Regenerative Place กับ Jenny Andersson, Regenerative Branding กับ Sandra Pina และ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล, Regenerative THAI กับ ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ

o ปิดท้ายด้วย The Regenerative Food Cocktail Reception กับเชฟสเปน และ เชฟคนไทยชื่อดังจากรายการ Iron Chef Thailand ในช่วงเวลา 18.00 – 19.30 น. มาเอร็ดอร่อยและเรียนรู้ไปกับการผสมผสาน อาหารสเปน อาหารไทย ในแนวคิด regenerative ครั้งแรกของประเทศไทยกันในงานนี้

กิจกรรมทั้งหมดนี้เพื่อให้การค้นหาวิธีการดำเนินการสร้าง Regenerative เกิดขึ้นเป็นจริงได้ในการสร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจ และ ดำเนินชีวิตควบคู่ โอบอุ้มไปด้วยกันได้อย่างเป็นจริง ยิ่งไปกว่านั้น อยากจะชักชวนผู้เข้าร่วมงานมาสนุกสนานกับการเห็นจากของจริง และจับจ่ายอย่างยั่งยืนกับตลาด Sustainable Market, พอแล้วดี Market รวมถึงการออกร้านจากแบรนด์ทรงคุณค่าของประเทศไทยและสเปน ที่จะมานำเสนอ Regenerative Products ให้ได้สนุกสนาน และมองเห็นว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่ใกล้แบบทำได้จริง จนเราทุกคนสามารถเรียนรู้และสามารถปรับใช้กับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน องค์กร หรือประเทศชาติได้จริงอย่างไม่ยากเกินไป เพียงแค่คิดที่จะเริ่มทำก็มีแนวทางให้ทำทันที

4 พฤศจิกายน 2566, เรือนราย วังสวนบ้านแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี: The Regenerative Dinner – The Lost Recipe

o อิ่มอร่อยกับมื้ออาหารค่ำของรสจันท์ที่จางหายภายใต้แนวคิดการกู้คืนสูตรตำหรับอาหารเมืองจันทน์ที่แท้จริงให้ฟื้นกลับคืนมา “Herb – Heritage – Hope” มื้อค่ำสุดพิเศษที่หลอมรวมคุณค่าอันหลากหลายของเมืองจันทน์เอาไว้ตามแนวคิด Regenerative สัมผัสกับรสจันทน์ที่กำลังจะจางหาย รับรู้ รับฟังจากปากคนรุ่นเก่า ต้นตำรับอาหารจันทบูรณ์ และเชฟรุ่นใหม่ที่ใส่ใจอดีต และใฝ่หาอนาคตที่สมดุลทุกเมนูที่ได้ดื่มด่ำ จะพานึกย้อน และบันดาลใจให้อยากฟื้นฟูและฟื้นคืนอนาคตของคนกับธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันอย่างที่เคยเป็นยั่งยืน

5 พฤศจิกายน 2566, สุธีร์ ออร์แกนิกฟาร์ม จันทบุรี: The Regenerative Food & The Regenerative Placemaking

o ร่วมทำกิจกรรม workshop ใน 2 หัวข้อตามที่สนใจ ได้แก่ The Regenerative Food และ The Regenerative Placemaking ร่วมเรียนรู้การนำแนวคิด Regenerative ไปใช้จริงในระบบเกษตร และ อาหาร และระบบการฟื้นฟูเมืองที่ไม่ใช่แค่การท่องเที่ยว แต่เป็นการกอบกู้ชีวิตและเสน่ห์ที่แท้จริงของเมืองจันท์ให้กลับมาอีกครั้ง ผ่านเรื่องราวของวัตถุดิบหลักของจันทบุรี คือ พริกไทย และกระวาน พืชสำคัญของประเทศไทย ที่อุดมคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และแง่มุมประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันพืชสำคัญสองชนิดนี้กำลังจางหายไป มาร่วมตั้งคำถามและหาคำตอบกับคนจันทบุรีว่าจะฟื้นคืนคุณค่าให้กลับมาได้อย่างไร

มาร์ค บัคลีย์ (Marc Buckley) นักคิดและนักปฏิบัติการด้านอาหารและตัวแทนความยั่งยืนจาก UN SDG กล่าวเสริมว่า หากเราไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคต เราจะไม่สามารถย้ายข้ามผ่านวิกฤตต่างๆ ไปได้ เพราะมนุษย์เราได้เดินทางผ่านไปหลายยุคของอารยธรรมแล้ว บางสิ่งบางอย่างก็สูญพันธ์ไปตามกาลเวลา และกาลเวลาก็คือหนึ่งในเหตุผลหลักที่นำไปสู่ความล่มสลายของอีกหลายอารยธรรมด้วย

มาร์ค บัคลีย์ (Marc Buckley) นักคิดและนักปฏิบัติการด้านอาหารและตัวแทนความยั่งยืนจาก UN SDG

และเมื่อการปฏิวัติทางดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนแปลงมนุษย์และโลก มันทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปด้วย ย้อนกลับไป 7 ปีที่แล้ว มนุษย์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน และเราพบว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงต่อชีววิทยามากเกินกว่าที่เราจะคิดออก คิดได้ ดังนั้นเมื่อเราประสานการใช้เทคโนโลยีกับระบบชีวิต และธรรมชาติอย่างเคารพในวิถีของทุกสิ่งภายใต้แนวคิด regenerative ผลลัพธ์ที่เราได้รับจะเป็นผลลัพธ์ที่เป็นคำตอบที่สุดยอด (super exponential)

ดร. ศิริกุล กล่าวย้ำว่า Regenerative คือ แนวคิดใหม่ที่ต่อยอดขึ้นไปจากความยั่งยืน (sustainability) เมื่อก่อนเราจะรู้ว่าหลักของความยั่งยืนหรือ sustainability เน้นไปที่หลัก 3 Rs ได้แก่ Reuse นำกลับมาใช้ซ้ำ Reduce ลดการใช้สิ่งที่ย่อยสลายยากซึ่งอาจกลายเป็นภาระของโลกในระยะยาวนับพันปี เช่น พลาสติก และ Recycle การเปลี่ยนรูปแบบของที่เคยใช้แล้วผ่านกรรมวิธีให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประโยชน์ แต่สำหรับ Regenerative จะให้คุณค่า ใส่ใจทั้งระบบที่เกื้อกูลกันให้กลับมา (Restore) ไม่ใช่แค่ยืดเวลาจากสิ่งที่มีอยู่ให้นานที่สุด แต่มองอย่างสัมพันธ์ และมองไปไกลถึงโลกอนาคต นำความอุดมสมบูรณ์กลับมา ไม่ใช่แค่ลดการใช้ แต่สร้างสิ่งที่เสียไปหรือหายไปให้กลับมาขยายตัวเพิ่ม เป็นโอกาสและทางออกที่สังคมและสิ่งแวดล้อมกำลังต้องการในตอนนี้ เป็นความจริงที่ต้องยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างอาจเกิดขึ้นมาและหายไป เมื่อไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น แต่เรื่องที่มีคุณค่าที่โดนมองข้าม บางครั้งเพียงแค่หันกลับไปมองและหยิบขึ้นมา เพื่อค้นหาว่าคุณค่าของสิ่งนั้นอยู่ที่ไหน อาจสร้างความมหัศจรรย์ให้กับคนในยุคนี้และยุคต่อไปได้

เฉกเช่นคุณอาจคิดว่าแพลงตอน เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญจนพบว่าแพลงตอนเหล่านี้มีคุณค่ากับโลกใต้น้ำมากแค่ไหน ถ้าคุณไม่เห็นระบบที่เอื้อและเกื้อกูลต่อกัน คุณจะไม่สามารถฟื้นอะไรขึ้นมาได้จากฐานรากได้เลย เพียงเพราะสิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในระบบชีวิตของเรา ก็ไม่ได้แปลว่ามันไม่สำคัญในระบบของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และโลกด้วย เพราะสุดท้ายแล้วแบรนด์ของคุณจะไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์ให้ผู้บริโภคนึกถึง แต่การค้นพบถึงคุณค่าของแบรนด์จากแก่นข้างในสามารถเปลี่ยนโลกของคนทำแบรนด์และผู้คนที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด รวมทั้งต่อให้เจออีกกี่วิกฤต เราก็จะกลับมาเข้มแข็ง (resilience) และพร้อมจะฟื้นฟูคุณค่าของทุกสิ่งที่สำคัญ ที่สัมพันธ์กับทุกชีวิตและธรรมชาติให้เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างงดงามเสมอและตลอดไป

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ม.เกษตร - กกพ. พัฒนาทักษะพลังงานเด็กรุ่นใหม่รับเศรษฐกิจ BCG ฟรี

ม.เกษตร ร่วมกับ กกพ. เปิดอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะพลังงานในยุคเศรษฐกิจ BCG ฟรี ให้ผู้สนใจทั้งบุคคลทั่วไป นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการ

You May Like