เอสซีจี ระดมความรู้พัฒนานวัตกรรม ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ปลอดติดเชื้อ รวมทั้งคนไข้ ลดเสี่ยง พร้อมทำการรักษาโรคได้อย่างปลอดภัย
ติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ที่ได้รับเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องเก็บตัวทั้งในและนอกโรงพยาบาล ผ่านระบบออนไลน์แบบเรียลไทม์ ลดความเสี่ยงจากการสัมผัสใกล้ชิด
ภายใต้โจทย์ “ทำอย่างไรจึงจะรักษาชีวิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ให้รอดปลอดภัยจากการติดเชื้อ” นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และประธานกรรมการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า ทีมงานเอสซีจีจึงได้เร่งพัฒนานวัตกรรมป้องกันเชื้อโควิด-19 มอบให้โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นต้นแบบและหน่วยงานประสานหลักในการจัดแผนรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ประกอบด้วย
“ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล (Tele-Monitoring)” เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี IoT นวัตกรรมจาก Living Solution ส่งต่อมูลนิธิเอสซีจี มอบให้โรงพยาบาล ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ สามารถติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ที่ได้รับเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเก็บตัวทั้งในและนอกโรงพยาบาล ผ่านระบบออนไลน์แบบเรียลไทม์ ลดความเสี่ยงจากการสัมผัสใกล้ชิด
“วชิระชัย คูนำวัฒนา” Head of Living Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า นวัตกรรมนี้เกิดจากการที่ทีมงานได้พูดคุยกับหมอและพยาบาล ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด โดยพบว่าหนึ่งในปัญหาสำคัญ คือ การที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเข้าไปดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และหอผู้ป่วยในแต่ละห้องจะมีผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้ระยะเวลาในการอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสกับผู้ป่วย ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีโอกาสได้รับเชื้ออย่างมาก
นวัตกรรมนี้ ประกอบด้วย เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermometer) เครื่องวัดความดัน (Blood Pressure) เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximeter) ที่เชื่อมต่อกับระบบบลูทูธ และมี Base Unit ที่สามารถใช้พูดคุยและส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ (Nurse Call) โดยข้อมูลสุขภาพเหล่านี้จะแสดงผลผ่านคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต และแจ้งเตือนไปยังพยาบาลหรือผู้ดูแลเมื่อเกิดความผิดปกติผ่านทาง LINE Application เพื่อให้ทีมแพทย์เข้าไปดูแล ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ลดการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง จึงลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับพวกเขาได้อีกทาง
“นพ.พรเทพ พงศ์ทวิกร” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเข้ามายังชุมชนและสถานพยาบาล โรงพยาบาล จึงมีมาตรการรองรับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อหรือผู้ที่มีความเสี่ยงให้ได้รับการดูแลและควบคุมโรคที่ดี ที่สำคัญ คือ ต้องทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัยสูงสุด
โรงพยาบาลจึงนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ ที่มีความเสี่ยงจะติดต่อกันได้ง่าย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยได้โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด อย่างชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเอสซีจีนี้ จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัส
เทคโนโลยี Tele-Monitoring โรงพยาบาลยังนำมาประยุกต์ใช้กับผู้ที่มีความเสี่ยง และต้องเก็บตัวเพื่อเฝ้าดูอาการอยู่กับบ้าน ทำให้ทีมแพทย์และพยาบาลสามารถติดตามดูแลจากระยะไกลได้ ช่วยลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อของบุคลากรทางแพทย์
นอกจากนั้น ยังพัฒนาห้องตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Screening & Swab Unit) รวม 18 ห้อง นวัตกรรมจาก SCG HEIM และ Living Solution จุดเด่นอยู่ที่ใช้เวลาติดตั้งที่หน้างานเพียง 2 วัน ออกแบบแยกสัดส่วนพื้นที่ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง พร้อมระบบควบคุมแรงดันและคุณภาพอากาศที่เหมาะสม จึงช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ3) ห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom) 12 ห้อง ผลิตพร้อมใช้งานจากโรงงาน ทำความสะอาดฆ่าเชื้อง่าย แยกการใช้งานระหว่างบุคลากรการแพทย์และผู้ป่วยติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง
อุปกรณ์ทางการแพทย์ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ได้แก่ แคปซูลความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ (Isolation Capsule) 5 แคปซูล ห้องตรวจเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Isolation Chamber) 1 ชุด (3 ห้อง) กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย (Aerosol Box) ช่วยในปฏิบัติการใส่ท่อช่วยหายใจของบุคลากรทางการแพทย์ 5 กล่อง พร้อมมอบอุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตาจากสารคัดหลั่ง (Face Shield) ที่พนักงานจิตอาสาร่วมทำ 200 ชิ้น