SET เพิ่มดีกรีความเชื่อมั่น ESG Rating พาบริษัทไทยเทียบมาตรฐานสากล

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 7 Second

ตลาดหลักทรัพย์ ผนึก FTSE Russell ยกระดับการประเมินความยั่งยิน บริษัทจดทะเบียน สู่มาตรฐานสากล สร้างความเขื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ เผยลงมืออบรม จัดเวิร์คช้อปให้ความรู้ทันที ก่อนเริ่มใช้จริงอย่างเป็นทางการ 1 ม.ค.2569

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือ SET กล่าวว่า ปัจจุบัน ESG มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ทุกบริษัทต้องกำหนดทิศทาง และวางกลยุทธ์ให้ครอบคลุมเรื่อง ESG ล่าสุตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (London Stock Exchange Group) โดย FTSE Russell ผู้ประเมิน ESG ระดับโลก พัฒนาศักยภาพตลาดทุนไทย ยกระดับการประเมินความยั่งยืน SET ESG Ratings สู่มาตรฐานสากล เน้นการประเมินจากข้อมูลที่บริษัทจดทะเบียน (บจ.) เปิดเผยสู่สาธารณะ (Public Disclosures) ซึ่งเป็น Methodology ที่ใช้ประเมินกว่า 8,000 หลักทรัพย์ทั่วโลก ที่สร้างความเชื่อมั่นพร้อมดึงดูดความสนใจผู้ลงทุน และสามารถเปรียบเทียบผลประเมินกับบริษัททั้งในและต่างประเทศด้วยมาตรฐานเดียวกัน โดยจะเตรียมความพร้อม บจ. และเริ่มโครงการประเมินนำร่องในปี 2567-2568 ก่อนการประเมินและประกาศผลคะแนน ESG สู่สาธารณะตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ศึกษาแนวทางการประเมิน ESG สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยมาตั้งแต่ปี 2565 และได้ข้อสรุปร่วมกับ FTSE Russell (บริษัทย่อยในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน หรือ LSEG) ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้ลงทุนสถาบันและ Asset Managers ชั้นนeทั่วโลก โดยมีมูลค่าทรัพย์สินกองทุน (AUM) สูงถึง 15.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐที่อ้างอิงดัชนีของ FTSE อยู่ในปัจจุบัน

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทิศทางและ RoadMap รวมถึงการพัฒนาเพื่อเปลี่ยนผ่าน ESG ต้องดำเนินการทั้งระบบ ตั้งแต่ซัพพลายไซด์ในฝั่งบริษัทจดทะเบียน ดีมานด์ไซด์ กองทุน ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายย่อย และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง นักวิเคราะห์ และที่สำคัญที่สุดคือ การรายงานข้อมูล การทำข้อมูลด้วยเรตติ้งที่โปร่งใส น่าเชื่อถือ ทันการ และเป็นมาตรฐานสากล

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การพัฒนาจากเรตติ้งที่ปัจจุบันใช้ SET ESG Rating และอนาคตกำลังจะยกระดับสู่สากลด้วยการพาร์ทเนอร์กับตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน โดย FTSE Russell ซึ่งจะทำให้รูปแบบการเก็บข้อมูลการประเมินเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน และมีความเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงให้บริษัทผู้ถูกประเมินทำแบบสอบถามกลับมา แต่ข้อมูลที่นำมาใช้ต้องเปิดเผยและมีความโปร่งใส เป็น Public Data Based ไม่ใช่แค่ Survey Based

FTSE Russell ใช้ข้อมูลที่ตอบอย่างเปิดเผยผ่าน Public นั่นคือเขาจะไม่ถามบริษัท แต่ดูข้อมูลที่เปิดเผยและตรวจสอบได้ ข้อดีของข้อมูลที่เป็น Public คือ การเปิดเผยสาธารณะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ทุกคนสามารถตรวจสอบได้ และยังสามารถขยายความครอบคลุมของบริษัทเรตติ้งได้

“การตอบคำถามเรื่อง ESG เป็นการทำงานที่ใช้ resourse จำนวนมาก ในการที่จะทำให้ครอบคลุม ตอนนี้ได้ 25% ของบริษัทที่จดทะเบียน หรือประมาณเกือบ 200 บริษัท แต่ถ้าใช้ข้อมูลที่เป็น Public Data เราจะขยายฐานออกไปได้อีก ข้อดีของตรงนี้คือ จะทำให้บริษัททั้งขนาดกลาง ขนาดเล็ก ได้รับการประเมิน และเป็นการประเมินจากข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ตรวจสอบได้ ซึ่งถ้าบริษัทเห็นข้อมูลการประเมินแล้ว แต่เขาไม่เห็นด้วย ก็สามารถไปทักท้วงได้ และยังมีบริษัทคู่เทียบมากกว่า 8,000 บริษัททั่วโลก ทำให้เราสามารถตรวจสอบความเหมือน ความต่าง สามารถใช้เป็นจุดที่บริษัทจดทะเบียนนำไปพัฒนาบริษัทของตัวเองต่อได้ด้วย”

ส่วนรายละเอียดของ FTSE Rating จะมีการประเมินจาก 0 – 5 ใน 3 มิติ ทั้ง E S และ G โดยแบ่งเป็น 14 ธีม E จะตรวจสอบทั้งเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความหลากลายทางชีวภาพ BioDiversity, Climate Change, มลภาวะ เรื่องน้ำ รวมไปถึงซัพพลายเชน ส่วนเรื่อง S เช่น แรงงาน สิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยในที่ทำงาน เรื่องของลูกค้า และซัพพลานเชนด้านโซเชียล และ G คือ เรื่องการต่อต้านการคอรัปชั่น บรรษัทภิบาล การบริหารความเสี่ยง ความโปร่งใสด้านภาษี มี indicator ที่ใช้มากกว่า 300 ข้อ ซึ่งเยอะมากกว่าการประเมินที่ SET ทำอยู่ปัจจุบันหลายเท่า

“เดิมใช้ 140 -150 ตัวชี้วัด ประมาณ 90% เป็นคำถามทั่วไป แบบใหม่ 120 -300 กว่า ชี้วัด ขึ้นกับกลุ่มอุตสาหกรรม โดย 56%. เป็นคำถามทั่วไป อีก 44% จะถามเฉพาะเจาะจงในแต่ละสาขา เวลาเราพูดถึงเรื่อง ESG ต้องดูปัจจัยที่เกี่ยวโยงกับบริษัท และต้อง Customise ในระดับหนึ่ง ในแต่ละสาขาได้…นี่คือข้อต่าง”

ดร.ศรพล กล่าวว่า ในส่วนของระบบการประเมินใหม่ จะเริ่มดูจาก ESG Rating ใน 192 บริษัท และ SET100 ทั้งหมด ที่ไม่ได้อยู่ใน ESG Rating จะรวมกลุ่มเหล่านี้อยู่ใน FTSE Rating

ขณะที่การประเมินรูปแบบเดิม จะทำควบคู่กันไป โดยเพิ่มความครอบคลุมข้อมูลมากขึ้น ควบคู่ไปกับกลุ่มที่ต้องการได้รับการประเมิน ซึ่งมีเป้าหมายขยายไปสู่บริษัทขนาดกลางและเล็กที่อยูใน SET 100 ให้เข้ามาประเมิน เพราะจะได้รับการประเมิน และโค้ชชิ่งไปด้วยกัน และในปี 2569 จะเป็นปีที่เริ่มใช้ FTSE Russell ประเมินอย่างเป็นทางการ

ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีเวลาอีกประมาณปีครั้ง ในการเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทจดทะเบียน ในการรับการประเมินวิธีใหม่ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้โปร่งใสมากขึ้น และสามารถได้รับการยอมรับในระดับสากลมากขึ้น โดยการประเมินแบบใหม่จะใช้เวลาสั้นลงและกว้างขึ้น จากเดิมเริ่มตั้งแต่ เมษายน ตอบแบบประเมิน และตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำการตรวจสอบ และ ประกาศผลปลายปี แต่วิธ๊ใหม่วิธีประเมินจะกว้างมากขึ้น เพราะข้อมูลที่เปิดเผยตั้งแต่กรกฎาคม หลังจากประเมินในเบื้องต้นแล้ว จะให้บริษัทได้รีวิว และชี้แจง เห้นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เพื่อให้ฟีดแบค และจะประกาศในช่วงปลายปี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในช่วงปลายปี ทั้ง SET ESG Fund การให้ Awards ต่างๆ

การประกาศผล จะประกาศในทุกช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทจดทะเบียนที่เข้ามาประเมินจะได้ข้อมูลและละเอียด เพื่อนำไปปรับปรุง การดำเนินงานต่อไป

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

Sea จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กผู้หญิง ก้าวสู่อาชีพ STEM

Sea เล็งเห็นความพร้อม และโอกาสการก้าวสู่เส้นทางอาชีพ STEM ที่ยั่งยืนของเพศหญิง หลังพบมีเพียง 29.2% เท่านั้นที่เป็นแรงงานหญิง ทั้งๆ ทั้งทักษะความสามารถไม่แตกต่างจากเพศชาย เดินหน้าสร้างความเท่าเทียมทางอาชีพ ขยายโอกาสการทำงานและการเติบโตในสาขาอาชีพอย่างยั่งยืน ให้หญิงไทยในอนาคต

You May Like