Sustainable Value Creation ..รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 28 Second

ผลสำรวจดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ปี 67 กลุ่มคนไทย 3 ช่วงวัย พบคุณธรรม-ทุนชีวิต ปี 2567 อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ความพอเพียง วินัยรับผิดชอบ และสุจริต อยู่ในระดับน้อย ความกตัญญู และจิตสาธารณะ อยู่แค่ระดับพอใช้ผยความพอเพียง จิตสาธารณะ ต้องเกิดจากความสมัครใจไม่ใช่บังคับ ขณะที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัว นำแนวทางความยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หลัก สร้างมูลค่าให้แก่ผู้บริโภค

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม เผยสถานการณ์คุณธรรมปี 2567 ว่า ปัจจุบันได้มีการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ประจำปี 2567 ด้วย 2 เครื่องมือ คือดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ในกลุ่มคนไทย 3 ช่วงวัย คือ อายุ 13-24 ปี อายุ 25-40 ปี และ อายุ 41 ปีขึ้นไป รวม 29,432 คน ใน 6 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ พบผลสำรวจที่น่าสนใจคือ ดัชนีชี้วัดคุณธรรมภาพรวม 3 ช่วงวัยอยู่ในระดับพอใช้ อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.32 จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน เปรียบเทียบกับปี 2566 ที่อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 4.73 ลดลง 8.67% และคุณธรรม 5 ด้าน ภาพรวม 3 ช่วงวัย พบว่า คุณธรรมด้านพอเพียง วินัยรับผิดชอบ และสุจริต อยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 4,17, 4.27 และ 4.19 ตามลำดับ

ส่วนคุณธรรมด้านกตัญญู และจิตสาธารณะ อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 4.64 และ 4.35 และเป็นที่น่าสังเกตว่าคุณธรรมด้านสุจริต อยู่ในระดับน้อยทั้ง 3 ช่วงวัย คือ อายุ 13-24 ปี ค่าเฉลี่ย 4.21 อายุ 25-40 ปี ค่าเฉลี่ย 4.04 และอายุ 41 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ย 4.31

จากผลสำรวจฯ มีจุดที่น่าสังเกตถึงช่องวางในด้านความพอเพียง จิตสาธารณะ และการเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนออกแบบกิจกรรมจิตอาสาที่สร้างสรรค์และบูรณาการ ต้องเกิดจากความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับหรือสั่งการ รวมถึงควรรณรงค์ให้เกิดความเข้าใจ และรู้เท่ากระแสบริโภคนิยมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านวินัยทางการเงิน ส่งเสริมรูปแบบการบริโภคที่ยั่งยืน และ ส่งเสริมให้เกิดการเตรียมความพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของคนวัยทำงานในด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเรียนรู้ เพื่อรองรับการก้าวสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ของไทย ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2583

ส่วนเวทีเสวนา ภายใต้แนวคิด Sustainable Value Creation “รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน” วิทยากรที่ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล อาทิ ณัฐกร เวียงอินทร์ หัวหน้าแผนกเนื้อหา และแบรนด์ดิ้ง บริษัท ไลค์มี จำกัด ร่วมพูดคุยและให้มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโตอย่างไรในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ และความยั่งยืน คือแรงขับเคลื่อนโลก

ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมตัวคือ ในยุคที่ AI และ ความยั่งยืน ขับเคลื่อนโลก ต้องเติบโตตามเทรนด์หลัก ได้แก่ Technology & AI ประกอบไปด้วย การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible AI), AI Agent ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน AI Talent Shortage หรือการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ AI กำลังเป็นปัญหาสำคัญ เทรนด์ความยั่งยืน กฎหมายความยั่งยืนจะบังคับให้ธุรกิจต้องปรับตัวตาม (Legislationization)

การเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจะสร้างคุณค่าให้กับชุมชน (ESG Disclosure Management) และการปรับตัวอย่างยืดหยุ่น (Resilience) Aging Society ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นต้องการนวัตกรรมดูแลใหม่ การทำการตลาดที่จริงใจ เพื่อเน้นความซื่อสัตย์และจริงใจ และการนำภูมิปัญญาโบราณมาใช้เพื่อสร้างความยั่งยืนและสมดุลในชีวิต เราสามารถเรียนรู้และเติบโตได้ ด้วยการปรับทักษะ มุมมอง และพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อเตรียมรับกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และต้องทำความเข้าใจ แล้วใช้เทคโนโลยี ด้วยความรับผิดชอบ

ส่วนกูรูด้านความยั่งยืนของเมืองไทย ได้แก่ อนันตชัย ยูรประถม ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาธุรกิจยั่งยืน, อมรพล หุวะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มอร์ลูป จำกัด (Moreloop) ร่วมคุยกันในเรื่อง “มองกรอบความยั่งยืนแบบไหน เพื่อในคนสุข โลกดี ธุรกิจมีกำไร ไปพร้อมกัน”

อนันตชัย ยูรประถม สรุปไอเดียจากการพูดคุยกันว่า การสร้างกรอบความยั่งยืนที่ทำให้ คนสุข โลกดี ธุรกิจมีกำไร ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ภาคธุรกิจที่บริษัทต้องปรับตัวโดยการนำแนวทางความยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หลัก เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผู้บริโภค ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังสามารถรักษาผลกำไรได้ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และภาครัฐควรกำหนดนโยบายและกฎหมายที่ส่งเสริมและบังคับใช้แนวทางความยั่งยืน โดยการใช้ เทคโนโลยี และ สื่อสารมวลชน เป็นเครื่องมือสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนแปลงนี้

ด้าน เอซ ธนบูรณ์ สมบูรณ์ ผู้ก่อตั้ง Greenery เครือข่ายผู้บริโภครุ่นใหม่ที่สนใจการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน รวมถึง พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ อดีตพิธีกรดังสตรอเบอรี่ชีสเค้ก เจ้าของเพจ Pear is Hungry ที่นำเสนอเนื้อหาในด้านการลดปริมาณอาหารเหลือทิ้ง Food waste ในหัวข้อ “เศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยให้โลกเย็นขึ้นได้อย่างไร” โดยสรุปประเด็นนี้ว่า

การบริโภคอย่างรับผิดชอบ ช่วยให้โลกเย็นขึ้นได้โดยการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สังคม และโลก หรือ เลือกบริโภคอาหารจากแหล่งที่ปลูกแบบยั่งยืน ใช้สินค้าที่ย่อยสลายง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนการท่องเที่ยวและธุรกิจท้องถิ่น โดยที่การบริโภคอย่างรับผิดชอบ ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคที่ต้องตระหนักถึงผลกระทบจากพฤติกรรมการบริโภค และเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ยั่งยืนขึ้น ภาคเอกชน ที่ควรใส่ใจต่อการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และภาครัฐที่ควรออกนโยบายสนับสนุนและบังคับใช้มาตรการที่ส่งเสริมการบริโภคและผลิตอย่างยั่งยืน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอย่างรับผิดชอบ เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้โลกเย็นขึ้นและยั่งยืนมากขึ้นในระยะยาว

*สนใจ สามารถรับฟังงานเสวนาฯด้านความยั่งยืนฯ ในหัวข้อดังกล่าว ย้อนหลังเพื่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/share/v/14KgCYuMC4/

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

'ทอดไม่ทิ้ง' รับซื้อน้ำมันใช้แล้ว กัมพูชา-เมียนมาร์ ผลิต SAF

BSGF เดือนเครื่องผลิตเมษายน 2568 เผยมีบริษัทน้ำมันรายใหญ่จับจองแล้ว 30-40% จากกำลังผลิต 1 ล้านลิตรต่อวัน คาดทำรายได้ปีแรก 18,000 ล้านบาท ล่าสุดจับมือ MK Group ร่วมส่งต่อน้ำมันใช้แล้ว จากร้านอาหารในเครือ 11 แบรนด์ 1,400 สาขา พร้อมขยายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน กัมพูชา เมียนมาร์ รับซื้อน้ำมันใช้แล้วเพิ่ม

You May Like