TCMA ย้ำ อาเซียนซีเมนต์ 7 ประเทศ มุ่งสู่การลดคาร์บอน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 55 Second

TCMA รวมพลังอาเซียนซีเมนต์ 7 ประเทศ มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้วิกฤติโลกเดือด ชูนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้วัสดุทดแทน ใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามแนวทาง Circular Economy

ดร. ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) กล่าวว่า จาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การลดก๊าซเรือนกระจก เป็นวาระเร่งด่วนของโลกที่ทุกคนต้อง “ร่วมมือกัน” และ“เร่งลงมือทำ” TCMA ในฐานะเจ้าภาพประชุมสมาพันธ์ผู้ผลิตปูนซีมนต์แห่งอาเซียน (AFCM)ครั้งที่ 44 (AFCM: ASEAN Federation of Cement Manufacturers 44th Council Meeting) ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2566 ได้ชูประเด็นหลัก “ความร่วมมืออาเซียนซีเมนต์มุ่งสู่การลดคาร์บอน”

ดร. ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA)

สมาชิก AFCM 7 ประเทศ ที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย Butra Heidelberg Cement Sdn Bhd, Indonesia Cement Association (ICA), The Cement & Concrete Association of Malaysia (C&CA), Cement Manufacturers’ Association of the Philippines, Inc. (CeMAP, Cement & Concrete Association of Singapore (CNCAS) สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) และ Vietnam National Cement Association (VNCA)

รวมทั้ง Cambodia Cement Manufactures Association (CCMA) เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในประชุม AFCM เป็นครั้งแรก ในการประชุมได้ชูประเด็นการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรม เป็นประเด็นหลัก โดยหัวข้อประชุมหารือครอบคลุม ทิศทางของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในอาเซียน แนวโน้ม และความท้าทาย รวมทั้งความร่วมมือด้านเทคนิคในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม การใช้วัสดุทดแทนในการผลิตปูนซีเมนต์ การใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล/ ถ่านหิน การใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม/คุ้มค่า ตามแนวทาง Circular Economy เป็นต้น

TCMA ปักธงชัดเจนในการขับเคลื่อนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ Thailand 2050 Net Zero Cement & Concrete Roadmap ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยเชื่อมโยงไปกับโมเดลระดับโลกแบบบูรณาการ เพื่อบรรลุเป้าหมายลดคาร์บอนในซีเมนต์และคอนกรีตเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2593

ด้านปูนซีเมนต์และคอนกรีต และภาครัฐของไทย ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีความยั่งยืนควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) พร้อมตอบโจทย์วิกฤติโลกเดือด โดยได้รับเกียรติจาก Mr. Thomas Guillot, Chief Executive of Global Cement and Concrete Association (GCCA) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกด้านซีเมนต์และคอนกรีต ครอบคลุมกำลังการผลิตของทั้งโลกกว่า 80% รวมด้วยนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายวรกาญจน์ โกศลพิศิษฐ์กุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริม-การลงทุน 3 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ ดร. ชนะ นายก TCMA พร้อมด้วยสมาชิก

ดร. ชนะ กล่าวว่า การจะบรรลุเป้าหมายลดคาร์บอนได้ เป็นการดำเนินงานที่ท้าทาย และทุกระดับต้องร่วมกันดำเนินงาน ทั้งนโยบาย มาตรการ กลไกดำเนินงาน และการลงมือทำ ในการประชุมครั้งนี้ จึงจัดให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมอง/ แนวทางขับเคลื่อน ‘The Collaboration towards Decarbonization’ มุ่งเน้นสร้างความร่วมมือจากผู้ผลิตปูนซีเมนต์ชั้นนำในแต่ประเทศสมาชิก AFCM กับองค์กรต่างๆ เพื่อส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และสร้างความสามารถในการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมในระยะยาวได้ โดยสมาชิก AFCM จะมีส่วนร่วมดำเนินการที่สำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของแต่ละประเทศที่กำหนดไว้

“การดำเนินงานตามโรดแมป ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยสู่ Net Zero ในอีกประมาณ 30 ปีข้างหน้า นับเป็นบทบาทสำคัญของไทยในการขับเคลื่อน Decarbonization ของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในภูมิภาคอาเซียนให้ไปทิศทางเดียวกัน

การทำงานเชิงกลยุทธ์ ผ่านการกระชับและเสริมสร้างความร่วมมือ รวมถึงเข้าใจกลไกการทำงาน และเชื่อมโยงความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาชีพ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ทั้งในส่วนกลาง และในระดับพื้นที่/ จังหวัด รวมถึงระดับภูมิภาค เช่น AFCM และระดับโลก เช่น GCCA ด้วยแนวทาง Public-Private-People Partnership (PPP) นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อความก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายตามโรดแมป และจะช่วยให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องในประเทศตามมา รวมถึงดึงดูดอุตสาหกรรม Smart & Sustainability

AFCM ก่อตั้งเมื่อปี 2520 เพื่อเป็นเวทีส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างผู้ผลิตปูนซีเมนต์จากประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งด้านการพัฒนาธุรกิจ (Business Development) และด้านเทคนิค (Technical Cooperation) รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง AFCM และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ที่จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของอาเซียนมีความเติบโตก้าวหน้า สมาชิก AFCM ประกอบด้วย บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ปัจจุบันมาเลเซีย ทำหน้าที่ประธาน AFCM โดยประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทุกปี

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

บพท. พัฒนากลไก-ระบบนิเวศน์ข้อมูล ปั้นเมืองอัจฉริยะ

บพท.สานพลังภาคี ตอบโจทย์ กระจายความเจริญ-ลดเหลื่อมล้ำ-เติมความสามารถการแข่งขัน พัฒนากลไก-ระบบนิเวศน์ข้อมูลเมือง กรุยทางปั้นเมืองน่าอยู่เมืองอัจฉริยะ

You May Like