TCP เร่งสปีด ก้าวต่อสู่ แบรนด์ที่เก่งกว่าเดิม และดีมากขึ้นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จัด ‘TCP SUSTAINABILITY FORUM 2023’ ประชุมเพื่อความยั่งยืน ‘เร่งการลงมือ’ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ ‘เป็นศูนย์’ เพราะโลกที่ดี ต้อง NETZERO
“สราวุฒิ อยู่วิทยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเผยในงาน ‘TCP SUSTAINABILITY FORUM 2023’ ว่า งาน TCP SUSTAINABILITY FORUM ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อช่วยขยายองค์ความรู้ สร้างความตระหนักกับประชาชน ที่ขณะนี้ความร้อนของโลกขยับขึ้นสู่ Global Boiling หรือ ภาวะโลกเดือดแล้ว และพวกเราเริ่มได้เห็นผลของความเดือดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ฝนตกติดต่อกัน 7 วันในหลายเมืองทั่วโลก งานก่อสร้างต้องทำกลางคืนเพื่อเลี่ยงอากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน และอีกหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก เพราะฉะนั้น ทุกคนต้องเร่งลงมือปรับเปลี่ยนเดี๋ยวนี้ มันคือภารกิจที่ยิ่งใหญ่ กับความท้าทายของสภาวะอากาศแบบสุดขั้ว
“เวทีนี้ เป็นเวทีของแอคชั่น องค์ความรู้ที่เราจะเสริมซึ่งกันและกันได้ ในองค์กรเราต้องเปลี่ยนมายด์เซ็ท CSR อย่างเดียวไม่ใช่แน่ๆ ในเรื่องของคุณค่า เราต้องทำให้ตรงจุด และเพื่อธุรกิจของเราด้วย และกลุ่ม TCP เอง ก็อยากจะเป็นตัวเราที่เก่งขึ้นกว่าเดิม และต้องเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิมในสายตาของผู้เกี่ยวข้องทุกคน”
สิ่งที่กลุ่ม TCP ดำเนินการ คือการปรับเปลี่ยนตัวเอง ระบบโลจิสติกส์ ในโรงงาน ในมุมการตลาด มี 4 แกนสำคัญในการขับเคลื่อน คือ
- Product Excellence นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ถ้าผลิตออกมาขายไม่ได้ คือผิดตั้งแต่เริ่มต้น ผลิตภัณฑ์ต้องตอบโจทย์ผู้บริโภค
- Circular Economy ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน TCP มีเป้าหมายปรับเปลี่ยนแพคเกจจิ้งโปรดักส์ทั้งหมด ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี พ.ศ.2567
- Water Sustainability ส่งเสริมการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน TCP วางเป้าหมายสู่น้ำสุทธิเป็นบวก ภายในปี พ.ศ.2573
- Low Carbon Economy ตั้งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ.2593
ส่วนของการใช้พลังงานยั่งยืน
- กลุ่ม TCP สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 4% หรือลดคาร์บอนได้ประมาณ 2,300 ตันคาร์บอนเทียบเท่า จากการติดตั้งโซล่ารูฟที่โรงงาน และนำไฟฟ้าจากโซล่ารูฟเข้ามาใช้ประมาณ 23% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของโรงงาน
- สร้าง Smart Manufacturing พัฒนาระบบการผลิตให้สูญเสียน้อยลง ได้ผลลัพธ์มากขึ้น เรื่องการออกแบบ ออฟฟิศ สำนักงานใหม่ ได้ แพลทตินั่ม
- โลจิสติกส์พยายามมองเรื่องรถอีวี ปี ค.ศ. 2024 จะนำรถอีวีมาประมาณ 23% และปี ค.ศ.2030 จะใช้ 30%
แพคเกจจิ้งยั่งยืน
- การดีไซน์ ให้ความสำคัญกับการลดน้ำหนักแพคเกจจิ้ง โดยลดน้ำหนักกระป๋องอลูมิมิเนียมลง 10% ฝากระป๋องอะลูมิเนียม 7% ขวดแก้ว 21% ขวดพลาสติก 9%
รวมถึงการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ ในการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดกฎหมาย EPR (Extended Producer Responsibility) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตสร้างความรับผิดชอบไปยังช่วงต่าง ๆ ของวงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์ สามารถช่วยให้ผู้ผลิตได้คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเริ่มต้นคิด การออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก การจัดส่งกระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ จนนำมาสู่การนำกลับมาใช้ใหม่
“เรื่อง EPR จะเข้ามา มันจะเป็นภาคบังคับ อันนี้เราเห็นด้วย ใครทำร้ายสิ่งแวดล้อม คุณต้องจ่าย แต่ต้องดูไฟนอลกฎระเบียบออกมาอย่างไร และเชื่อว่า กฎระเบียบอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ แต่บางประเทศ ก็ยังทิ้ง ในขณะที่ญี่ปุ่น เขาปลูกฝังมาตั้งแต่เล็ก กม.ไม่ได้แย่ แต่เขาปลูกฝังมา น่าจะดีกว่า”
ปัจจุบัน TCP ใช้กระป๋องที่จำหน่ายทั้งหมดในประเทศไทย เป็นกระป๋องที่ผลิตจากรีไซเคิลอะลูมิเนียม ซึ่ง TCP ได้ดำเนินโครงการนำกระป๋องเข้าสู่การรีไซเคิลได้มากกว่า 63 ล้านใบ หรือราว 803 ตัน และสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 7,339 ตันคาร์บอนเทียบเท่า ส่วนกล่องกระดาษที่ใช้ 99% เป็นกระดาษที่ได้มาตรฐาน FSC
ส่วนเรื่องของน้ำ ขณะนี้สามารถดำเนินการได้ 100% แล้ว สำหรับการรีไซเคิลน้ำผ่านการบำบัด รวมทั้งยังทำโครงการโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนใน 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำบางปะกง และลุ่มน้ำโขง ครอบคลุม 7 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย พิจิตร ปราจีนบุุรี นครนายก สระแก้ว อุบลราชธานี ด้วยการจัดการน้ำบนดินและน้ำใต้ดิน คืนน้ำให้ชุมชน 15 ล้านลูกบาศก์เมตร
ด้านของผลิตภัณฑ์ ขณะนี้ 70% ของ TCP เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
“สราวุฒิ” บอกอีกว่า แผนต่อไปของ TCP คือ การตั้งเป้าสู่
- Zero Carbon Beverage แม้จะรู้ว่ายาก แต่ TCP ต้องทำ
- Supply Chain Transparency
- Water-Stress Mitigation เรื่องน้ำเป็นเรื่องที่ต้องทำต่อเนื่อง
- Health and Nutrition Focus การสร้างสรรค์โปรดักส์ที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ และตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ก็ยังต้องเดินหน้าต่อเนื่องเช่นกัน
ส่วนโรงงานของกลุ่ม TCP ในต่างประเทศ อย่างที่จีน ก็ต้องเดินหน้าสู่เป้าหมายเดียวกันกับไทย ซึ่งกำลังศึกษาและเดินเรื่องการทำ Smart Manufacturing รวมทั้งการบริหารจัดการยน้ำ การทำแพคเกจจิ้ง ซึ่งจะมีการปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศจีน
“เรื่องยากสุด คือ สโคปสองและสาม เรื่องวัตถุดิบ เราต้องไปคุย แล้วตัวอื่นๆ คาร์บอนจะเป็นอย่างไร เราเริ่มบินไปพูดคุยกัยกับซัพพลายเออร์ ดูเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นของเขาเป็นอย่างไร ต้องทำอย่างไร ชัดเจนไหม”
ปัญหาใหญ่ คือเรื่องของเวลา มันทำงานแข่งกับเวลา เราจะมาบอกว่า ถ้าไม่ใช่แล้วเลิก พร้อมแล้วค่อยทำ เราทำแบบนั้นไม่ได้ ทุกคนรู้ว่าต้องทำและยินดีที่จะทำ แต่จะเสร็จและเมื่อไรได้ และต้นทุนด้วย ต้องมีคนยอมจ่าย ภาครัฐควรสนับสนุน เพราะมันมีความยากในทางปฏิบัติหลายอย่าง ที่ต้องปลดล็อคไปเรื่อยๆ
กลุ่ม TCP เริ่มทำเรื่องของความยั่งยืน มีการเก็บข้อมูลและแผนดำเนินงานชัดเจนในระยะเวลา 2-3 ปี โดยใช้งบเฉลี่ยราว 100 ล้านบาทต่อไป แต่ต่อไป งบในส่วนของความยั่งยืนจะเข้าไปผสมผสานอยู่ในงบของการลงทุนทั้งหมด จากเดิมที่เคยแยก
ภาพรวมของความยั่งยืน มันเป็นความท้าทาย ทำไมทุกคนตั้งตัวเลขไปไกลๆ เพราะตอนนี้วิทยาศาสตร์ยังตอบโจทย์ได้ไม่หมด จะเป็นศูนย์ไหม ยังไม่มีใครชัวร์ แต่มันจะการพัฒนาไปเรื่อยๆ