ซีพี-เมจิ จับมือ สระบุรีแซนบ็อกซ์ พัฒนาเมืองต้นแบบยั่งยืน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:6 Minute, 37 Second

“ซีพี-เมจิ” ประกาศเดินหน้าพันธกิจยั่งยืน เล็งบริหารจัดการสโคป 1-2 ให้ได้ 30% ภายในปี 2030 พร้อมเดินตามรอยบริษัทแม่ ซีพีเอฟ นำ ESG เป็นแนวปฏิบัติ ทรานสฟอร์มสู่พลังงานสะอาด จัดการขยะอย่างถูกวิธี ร่วมผลักดันสระบุรีเป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ

สลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ ซีพี-เมจิ กล่าวว่า ปี 2019 ซีพี-เมจิ ได้ปรับตัวสู่ Sustainability จริงจังขึ้น และนำมาเป็นกลยุทธ์ 4 เรื่องหลัก ทั้งวิชั่น มิชชั่น ความยั่งยืน และการเพิ่มคุณค่าชีวิต ปรับไปสู่การเป็น Purpose Organization

จากจุดแข็งขององค์กรคือนวัตกรรม ที่มีเรื่องของวิทยาศาสตร์เข้ามาผสมผสานต่อยอดสู่การแบรนดิ้ง ขณะเดียวกันก็ใช้เรื่องนวัตกรรมมาสร้างแรงบันดาลใจการทำเรื่องความยั่งยืน เสริมสร้างคุณภาพชีวืต

สลิลรัตน์ เล่าว่า งานด้านความยั่งยืนของซีพี-เมจิ เริ่มจากการทำ CSR จนมาถึงจุดเปลี่ยนจากเทรนด์ของโลกด้าน ESG ที่ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และ ธรรมาภิบาล (Governance) ที่ถูกพูดมากขึ้น ในบริบทของโลก คือไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างนวัตกรรมของซีพี-เมจิ อยู่แล้ว ด้วยแนวคิด “ถ้าเขาอยู่ไม่ได้ เราก็อยู่ไม่ได้” ไม่มีนม ซีพี-เมจิก็ไม่มีอะไรผลิต

เพราะฉะนั้น จึงนำแนวคิด การสร้างประโยชน์ให้กับบรรดา Stakhoder เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเติบโตไปด้วยกัน โดยมีทั้งการทรานสฟอร์เมชั่น การใช้พลังของทีม และการใช้งบประมาณ เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ มีซัพพลาย-ดีมานท์ ซึ่ง ซีพี-เมจิ เริ่มนำทุกอย่างเข้ามาทำเท่าที่สามารถทำได้ ตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งเป็นปีที่ปรับมาทำเรื่องความยั่งยืนให้จริงจังมากขึ้น โดยนำมาเป็นกลยุทธ์ เอาเรื่องความยั่งยืนมาเป็นกลยุทธ์ Purpose Organization และเพิ่มคุณค่าชีวิตเข้าไปด้วย

สลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ ซีพี-เมจิ

หากพูดถึงเรื่อง ESG ตัวแรกที่ให้ความสำคัญมากคือ E – Environment ส่วนสำคัญของการเดินหน้าสู่ Sustainability คือการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ร่วมกับเอสซีจี ผลักดันสระบุรีเป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ ด้วยการปลูกป่า 1,000 ไร่ รวมไปถีงการลดปริมาณขยะ เก็บกลับแพคเกจจิ้งพลาสติก ค่อยๆ ขยับปรับเปลี่ยนและให้ความรู้ มีการจัดรับตัวแกลลอนที่เป็นพลาสติกกลับมาให้สระบุรี โดยเพิ่งเริ่มทำปีนี้เป็นปีแรก ขณะที่สระบุรีแซนบ็อกซ์ ก็มีการตั้งธนาคารขยะ

ส่วนการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ นอกจากเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 1,000 ไร่ภายในปี 2573 แล้ว ยังตั้งโครงการ “ซีพี-เมจิ รักษ์ป่า รักษ์น้ำ” ภายใต้ MOU กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช วางแผนปลูกต้นไม้สองแสนต้น ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและใกล้เคียง เน้นการฟื้นฟูและรักษาผืนป่า ควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 52,000 ต้น บนพื้นที่ 260 ไร่ และมีเป้าหมายในการปลูกให้ได้รวม 74,000 ต้น บนพื้นที่ 370 ไร่ในปี 2567 เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ รักษาสมดุลของระบบนิเวศ เป็นแหล่งพืชอาหารของสัตว์ป่าและคนในชุมชนโดยรอบแนวเขตพื้นที่ และช่วยบรรเทาและลดปัญหาฝุ่นละออง

ที่เหลือคือ การทำ Responsible Sourcing นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ นำเสนอแนวทางและกระบวนการ ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทาน ในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานทุกคนต้องช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม และต้องมีกฎเกณฑ์ด้าน ESG กำกับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทาง ซีพี-เมจิ ต้องเข้าไปคุยเพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน

ทั้งนี้ ในด้านการจัดซื้อจัดหาอย่างรับผิดชอบ ซีพี-เมจิ ยังมีเป้าหมาย: 100% ของบรรจุภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือ นำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือสามารถย่อยสลายได้ (Compostable) และในปี 2566 บริษัทฯ ได้ริเริ่มโครงการนำร่อง “ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น” เพื่อรณรงค์การแยกขยะพลาสติกประเภทขวดขุ่น โดยให้ผู้บริโภคนำแกลลอนนมที่ใช้แล้ว ส่งไปยังจุดรับทิ้ง เพื่อรวบรวมและนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล นำมาผลิตเป็นถังขยะ ส่งมอบให้ชุมชนและอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสระบุรี โดยบริษัทวางแผนต่อยอดโครงการนี้จากกลุ่มผู้บริโภค มาสู่กลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจกาแฟในปี 2567 นี้

เรื่อง S : Social คือคน คอนซูเมอร์ของซีพี-เมจิ จะต้องได้สารอาหารและต้องเป็นสืนค้านี้มีประโยชน์ เป้าหมายคือทำให้มีโภชนาการ (nutrition) และลดสิ่งที่ก่อให้เกิดโรค ลดน้ำตาล ลดไขมัน

คนอีกกลุ่มหนึ่งคือ คอมมูนิตี้ ชุมชนรอบๆ โรงงาน ต้องเข้าไปช่วยดูแล ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน วัด รอบๆ ชุมชน เช่น การข่วยเด็กด้วยการดื่มนมแล้ววัดส่วนสูง ทำอะไรแล้ววัดผลได้ไหม คือสิ่งที่เราทำ และทำต่อเนื่อง

คน อีกกลุ่มคือคู่ค้า ซีพี-เมจิ ส่งเสริมบาริสต้าไทยให้ไปเวทีโลก ทำให้เขาได้ไปแข่งสร้างชื่อเสียง โดยที่ซีพี-เมจิทำหน้าที่สนับสนุนด้านการเงินให้ ด้วยการเป็นสปอนเซอร์ชิฟ ทำให้เกิดการต่อยอดไปสู่คนรุ่นใหม่

ที่เหลือ คือการพัฒนาอาชีพเกษตรกร มีการวัดคุณภาพและปริมาณน้ำนมคุณภาพตั้งแต่โรงงาน และเช็คคุณภาพ ตรงไหนขาดก็ไปให้ความรู้เขา เราไม่ให้นมมีสารที่ก่อมะเร็ง ค่าแฟต และสารอาหารอื่นๆ รวมทั้งเข้าไปช่วยพัฒนาที่ศูนย์น้ำนมดิบ ปีที่แล้วที่มีวิกฤตน้ำนม ซีพี-เมจิเข้าไปคุย และเชิญเจ้าของศูนย์นม เกษตรกรมาพูดคุย กับเขาและดูปัญหาว่าจะช่วยทำอะไรได้ไหม ซีพี-เมจิ เข้าไปข่วยพัฒนาคุณภาพ และจะเข้าไปรับซื้อ เพื่อสร้างความมั่นใจ ไม่ให้เขาขายวัว โดยต่อวันาประมาณ 580-600 คันต่อวัน ในการรับซื้อน้ำนมดิบ ซีพี-เมจิ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาชีพเกษตรกรมั่นคงขึ้น และมีเป้าหมาย 100% ของฟาร์มโคนมที่ส่งนมให้ซีพี-เมจิ ต้องผ่านมาตรฐานคุณภาพระดับ Gold Standard

รวมทั้งยังทำ Roadmap การจัดการฟาร์ม เพื่อให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพและปริมาณตามมาตรฐาน ภายใต้ MOU กับทีมนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส่วน G Governance เป็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยความโปร่งใส และมีธรรมาภิบาล นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าหมาย: 70% ของผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน Healthier Choice Certificate และตรวจสอบย้อนกลับได้ 100% และยังมีเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ลดการใช้น้ำ 25% ลดการเกิดขยะฝังกลบ 25% จากกระบวนการผลิต

รวมทั้งริเริ่มและดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้เป้าหมายของซีพีเอฟในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายในปี 2593 สอดคล้องตามมาตรฐานขององค์กร Science Based Targets initiatives (SBTi)

สลิลรัตน์ กล่าวว่า ในมุมของ Sustainability ตอนนี้วางเป้าไปถึงปี 2030 และเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง ESG มากับการลงทุน ในระบบเรื่องการเทสต์ การทำ สโคป 1-2 คือผลระยะยาวที่จะทำ จริงๆ ซีพี-เมจิ ปรับการทำธุรกิจมาได้ 5-6 ปีแล้ว คนที่ได้สัมผัสดื่มนมจากขวดทุกหยดมีค่า สิ่งที่ผู้บริโภคกิน ซีพี-เมจิ เป็นตัวกลางที่เข้าไปส่งเสริม ถ้าสามารถทำให้อุตสาหกรรมโต ต้นน้ำก็จะโตด้วย เพราะฉะนั้น จะพยายามสื่อสารให้เป็นเรื่องเดียวกัน

ซีพี-เมจิ มีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปยัง 7 ประเทศนอกจากประเทศไทย ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง โดยนอกจากประเทศไทยแล้ว ซีพี-เมจิยังครองอันดับหนึ่งในตลาดนมพาสเจอร์ไรส์ในประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง อีกด้วย โดยปี 2566 ซีพี-เมจิมีมูลค่ายอดขายสุทธิอยู่ที่ประมาณ 12,200 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปี 2565 ถึงกว่า 12% และตั้งเป้าการเติบโตปี 2567 นี้ที่ประมาณ 5% หรือ 12,700 ล้านบาท

อัตราการบริโภคนมพาสเจอร์ไรส์ในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้น 9.7% ในเชิงปริมาณ และ 11.8% ในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2566 ขณะที่อัตราการเติบโตของซีพี-เมจิอยู่ที่ 17.7% ในเชิงมูลค่า ถือว่ามีอัตราการเติบโตสูงกว่าตลาด

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

บางกอกแอร์เวย์ส คว้า ออสก้า สกายแทร็กซ์ สายการบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในโลก

บางกอกแอร์เวย์สครองแชมป์โลก 8 ปีซ้อน คว้าสองรางวัลออสก้า “สกายแทร็กซ์” สายการบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในโลก และดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2024

You May Like