“มาซาร์ส” แนะตรวจเช็คสถานภาพธุรกิจ เพื่อปรับแผนสู้โควิด

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 47 Second

มาซาร์ส” แนะ ผู้ประกอบการ เช็คสถานภาพธุรกิจ ปรับแผน ปรับโครงสร้างธุรกิจ ต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 ประกาศพร้อมให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจที่รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งด้านกฎหมาย ภาษี บัญชีและการเงิน เพื่อตรวจเช็คสถานภาพ 

นายชัชวัสส์ เกรียงสันติกุล หุ้นส่วน บริษัท มาซาร์ส ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า จากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ที่ยืดเยื้อยาวนานกว่าปีครึ่ง ตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 เป็นต้นมา ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหลายแห่งต้องปิดตัวลงไป และยังมีอีกหลายกิจการที่ยังคิดไม่ตกว่าจะเลือกทางไหนดี จะสู้ต่อ ปิดตัวชั่วคราว หรือปิดกิจการไปเลย จากประสบการณ์ของมาซาร์ส ในการให้คำปรึกษาแนะนำลูกค้าธุรกิจที่เผชิญปัญหาจากปัจจัยต่าง ๆ โดยนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ มาวิเคราะห์และประเมินองค์กรอย่างเป็นกลาง เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการต่อไป

​สิ่งที่มาซาร์สให้ความสำคัญที่สุดคือ กระแสเงินสดหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และการคงสภาพคล่องของกิจการเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกรรมต่างๆต่อไปได้ ซึ่งธุรกิจหลายๆประเภทได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขาดรายได้หรือมีรายได้ลดลง จนทำให้กระแสเงินสดรับมีไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป จากสภาวการณ์ปัจจุบันที่รัฐได้ออกข้อจำกัดต่างๆเพื่อควบคุมการระบาดของโรค และข้อจำกัดเหล่านั้นได้ส่งผลต่อธุรกิจในหลายประเภท ทั้งที่ไม่สามารถดำเนินกิจการได้เลย หรือสามารถดำเนินกิจการได้เพียงบางส่วน 

ธุรกิจที่ดำเนินกิจการได้ตามปกติ แต่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อกำหนดต่างๆ นั้นทำให้เกิดสภาวะการขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการขาดรายได้ การมีรายได้ลดลง และมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น หลายๆ ธุรกิจจึงต้องหาเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจการ ทั้งจากการเพิ่มทุน และการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ และต้องพยายามคงสภาพคล่องของกิจการ โดยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงเช่น การปลดพนักงานบางส่วนออก การเจรจาต่อรองกับคู่ค้า และ เจ้าหนี้ รวมไปถึงการขอลดค่าเช่า ค่าสินค้า หรือค่าบริการต่างๆลงเท่าที่สามารถจะทำได้ การขอพักชำระหนี้ ขอลดดอกเบี้ย ขอชะลอการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น หรือบางรายอาจจะจำเป็นต้องหยุดชำระหนี้ แล้วเจรจาขอประนอมหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ หรือเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมาย หรือดำเนินการทางกฎหมายเพื่อให้ธุรกิจนั้นล้มละลายไป

​ในความเป็นจริง การเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอพักชำระหนี้โดยไม่ผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการในศาล อาจจะทำได้ยากโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่มีอำนาจในการเจรจาต่อรองมากนัก การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้เกิดสภาวะพักการชำระหนี้ (Automatic Stay) จึงน่าจะเป็นทางเลือกซึ่งผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง SMEs ควรจะพิจารณามากขึ้น เพราะสามารถทำได้ในจำนวนหนี้ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับบุคคลธรรมดา และตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปสำหรับนิติบุคคล 

ศาลผู้พิจารณารับคำขอฟื้นฟูกิจการจะพิจารณาถึงเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือไม่โดยความเห็นชอบของเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด และเมื่อศาลพิจารณารับคำขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ สภาวะพักการชำระหนี้จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติตามกฎหมาย และทำให้ลูกหนี้สามารถเก็บกระแสเงินสดรับไว้ใช้จ่ายในกิจการชั่วคราวเพื่อเพิ่มสภาพคล่องก่อนทำแผนและเสนอศาลเพื่อพิจารณาอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ต่อไป

​ไม่ว่าผู้ประกอบการจะเลือกนำบริษัทเข้าสู่แผนการฟื้นฟูกิจการในศาล หรือจะเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้และคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการควรพิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานควบคู่กันไปด้วย เช่น การให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน การนำระบบไอทีมาใช้ การสร้างระบบความปลอดภัยทางไอที และอื่น ๆ โดยในการให้คำแนะนำกับลูกค้า มาซาร์ส จะวิเคราะห์ผลกระทบที่ธุรกิจได้รับจากการที่จะต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และกระแสเงินสดเป็นสำคัญ

​สำหรับกิจการที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ก็ควรพิจารณาว่า ควรปรับแผนธุรกิจ วางแผนการเงิน การบริหารกระแสเงินสด ค่าใช้จ่ายต่างๆ และหนี้ที่มีอยู่อย่างไร หากต้องกู้เงินมาใช้จ่ายเพิ่มเติมในการดำเนินงาน จะสามารถจ่ายดอกเบี้ยและใช้คืนเงินต้นได้หรือไม่  หรือจะต้องหาแหล่งเงินทุนอื่น เช่น จากผู้ถือหุ้นเดิม หรือแหล่งอื่นๆ ในกรณีที่ไม่สามารถทำธุรกิจได้เลย เพราะข้อห้ามตามกฎหมาย ในการที่จะหยุดกิจการชั่วคราวนั้น จะต้องพิจารณาถึงรายจ่ายที่ไม่สามารถตัดให้ลดลงได้ และจำนวนเงินสดในมือด้วยว่าสามารถหยุดกิจการได้นานแค่ไหน เพียงใด และหากพิจารณาแล้ว เห็นว่าไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มี ไปจนกว่าจะกลับสู่สถานการณ์ปกติได้ ก็ควรพิจารณาเลิกกิจการ และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

​มาซาร์ส ให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การตรวจเช็คสถานะของธุรกิจ การให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการต่างๆไม่ว่าผู้ประกอบการจะตัดสินใจหยุดกิจการชั่วคราว เลิก หรือทำธุรกิจต่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตรวจทานสัญญาต่างๆการเข้าร่วมเจรจากับคู่ค้า และเจ้าหนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแรงงาน หรือเลิกจ้างพนักงาน การดำเนินการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาตต่างๆที่มี การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ การทำแผนธุรกิจ แผนฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนการเลิกและชำระบัญชี ซึ่งความโดดเด่นที่ได้เปรียบของมาซาร์ส คือ การเป็นบริษัทที่ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (one stop service)  นอกจากนี้ มาซาร์ส ยังมีบริการให้คำปรึกษาด้านทำบัญชี (Accounting) ด้านตรวจสอบบัญชี(Audit) ด้านการเงิน (Financial advisory ) และ ภาษี (Tax) มาช่วยลูกค้าอีกด้วย

​นายชัชวัสส์  ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มาซาร์ส เป็นบริษัทที่มีการให้บริการเป็นที่ปรึกษาอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในตลาดเมืองไทย เราให้บริการลูกค้าทุกขนาดตั้งแต่บริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจระดับโลก ตลอดจนธุรกิจสตาร์ทอัพและองค์กรหน่วยงานสาธารณะ และสามารถบริการให้คำปรึกษาได้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ บริษัท มาซาร์ส ประเทศไทย มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญรวมมากกว่า 280 คน จุดเด่นของการดำเนินธุรกิจของเราอยู่ที่ความหลากหลายของผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มาจากประเทศต่าง ๆหลากหลายสัญชาติ ทำให้มั่นใจได้ว่า เราคือที่ปรึกษาที่ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้ทั้งธุรกิจในประเทศและธุรกิจข้ามชาติได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทมาซาร์ส เป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำระดับนานาชาติที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านงานผู้สอบบัญชี งานจัดทำบัญชี ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ภาษีและที่ปรึกษาทางกฎหมาย กลุ่มมาซาร์สทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจมากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก มีบุคลากรซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่พร้อมให้บริการลูกค้าทุกธุรกิจ ทุกขนาดและให้บริการได้ทุก ๆขั้นตอนของธุรกิจ อยู่ทั่วทุกมุมโลกมากกว่า 42,000 คน ในจำนวนนี้เป็นบุคลากรภายในกลุ่มมาซาร์ส 26,000 คน และอีก 16,000 คนเป็นผู้เชี่ยวชาญในเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจมาซาร์สในทวีปอเมริกาเหนือและแคนาดา 

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ซีพีเอฟ ปลูกฝังพนักงานตอบแทนสังคม ดูแลชุมชน สร้างความยั่งยืนร่วมกัน

ซีพีเอฟ ส่งเสริมพนักงานในองค์กร สร้างสรรค์นวัตกรรมต่อยอดโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สานประโยชน์สู่ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต เดินตามเป้าหมาย SDGs

You May Like