ลอรีอัล สนองตอบการพัฒนางานวิจัยนักวิทยาศาสตร์หญิง

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 20 Second

3 นักวิจัยสตรีผู้รับทุนโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” เสนอความคิดเห็น การสนับสนุนนักวิจัยไทยเริ่มปรับตัวทั้งจากภาครัฐและเอกชนลงทุนมากขึ้น ขณะที่ลอรีอัล กรุ๊ป ยังเดินหน้าผลักดันนักวิจัยสตรีสายงานวิทยาศาสตร์ มอบทุนวิจัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 22

  • สนับสนุนทุนวิจัยนักวิทยาศาสตร์หญิง

แพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา กล่าวว่า ลอรีอัล กรุ๊ป ในฐานะบริษัทความงามระดับโลก เชื่อว่าความงามมีรากฐานมาจากวิทยาศาสตร์ ลอรีอัลจึงตระหนักดีว่านวัตกรรมวิทยาศาสตร์มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโลกใบนี้ จึงเดินหน้าให้การสนับสนุนต่อเนื่อง ผ่านโครงการ “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2567 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 22

นักวิจัยที่ได้รับทุนลอรีอัล 3 ทุน ในปีนี้ เป็นนักวิจัยสตรีจาก 2 สาขาวิทยาศาสตร์ เริ่มจาก สาขาวิทยาสาสตร์ชีวภาพ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คำแก้ว จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับงานวิจัยหัวข้อ “การพัฒนาสารไวแสงและระบบนาโนนำส่ง เพื่อเป็นทางเลือกแบบแม่นยำสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง” ตามมาด้วยสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ 2 คน ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับงานวิจัยหัวข้อ “การเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม” และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพร ดอนไพร จากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับงานวิจัยหัวข้อ “การใช้ประโยชน์ก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการเร่งปฏิกิริยาเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนมุ่งสู่ Net Zero Emission”

  • รัฐ-เอกชน ตื่นตัวลงทุนงานวิจัย

ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า แม้การสนับสนุนงานวิจัยในประเทศไทยยังคงมีข้อจำกัด โดยเฉพาะด้านการลงทุน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 2% ของ GDP แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แนวโน้มการสนับสนุนเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเอกชนที่เคยสนับสนุนงานวิจัยเฉพาะในธุรกิจของตนเอง แต่ปัจจุบันมีการขยายขอบเขตการลงทุนเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการดิสรัปต์ทางเทคโนโลยี ซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ เช่น ปิโตรเคมีและยานยนต์ หากไม่มีการปรับตัว อุตสาหกรรมเหล่านี้อาจประสบปัญหาในระยะยาว

ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นักวิจัยจำเป็นต้องปรับตัวให้สามารถพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจมากขึ้น การเริ่มต้นจากการร่วมกำหนดโจทย์วิจัยกับผู้ใช้งานจริงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้งานวิจัยถูกนำไปใช้ในทางปฏิบัติ สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คำแก้ว สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คำแก้ว สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เสริมว่า นักวิจัยในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพางบประมาณจากภาครัฐมากกว่าเอกชน ซึ่งหมายความว่าการวิจัยมักถูกกำหนดทิศทางโดยยุทธศาสตร์ของประเทศ นักวิจัยจึงต้องมีความยืดหยุ่นและพร้อมที่จะต่อยอดความรู้ของตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างต่อเนื่อง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพร ดอนไพร จากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพร ดอนไพร จากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐานยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หลายเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต้องอาศัยฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่ง หากประเทศไทยต้องการก้าวขึ้นไปสู่ระดับสากล จำเป็นต้องมีการพัฒนาฐานวิทยาศาสตร์ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น แม้ปัจจุบันจะมีแนวโน้มการสนับสนุนนักวิจัยเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอ นักวิจัยจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของโลก พร้อมทั้งค้นหาจุดแข็งของตนเอง เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในเวทีโลก

ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำในด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยมีการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม การพัฒนายังคงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์และยั่งยืนในอนาคต

บทบาทระดับสูงของสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยยังคงต้องมีการผลักดันอีกมาก ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น นับตั้งแต่ พ.ศ.2525 จนถึงปัจจุบัน มีนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ได้รับรางวัลอยู่เพียง 16% เท่านั้น แม้จะมีผู้หญิงอยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยเป็นจำนวนเทียบเท่ากับผู้ชายก็ตาม เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าโลกต้องการวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องการสตรี ลอรีอัลจึงเดินหน้าเชิดชูเกียรติผลงานวิจัยอันโดดเด่นของสตรีผ่านโครงการนี้อย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 22 เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในสายงานวิทยาศาสตร์ และพิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าผู้หญิงทุกคนสามารถเปล่งประกายได้ในแบบของตนเอง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ซีพีเอฟ-เวียตเจ็ท ขนเมนูอาหารปลอดภัยระดับอวกาศเสิร์ฟบนเครื่อง

เวียตเจ็ทไทยแลนด์ ผนึก CPF เสิร์ฟ 5 เมนูอาหารปลอดภัยระดับอวกาศให้ผู้โดยสารบน Sky Café ย้ำความอร่อย คุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดระดับอวกาศ ปราศจากโรค และปลอดสาร

You May Like