เวิร์คเวนเจอร์ เผยการสร้างแบรนด์นายจ้างในยุคใหม่ ความเปลี่ยนแปลงที่องค์กรไทยต้องเตรียมรับมือ แรงงานรุ่นใหม่ แม้ยังให้ความสำคัญกับอัตราค่าจ้างและสวัสดิการเป็นอันดับแรก หากแต่คุณภาพชีวิต และสภาพแวดล้อม ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได่ เช่นเดียวกับการเติบโตในสายงาน
- ยุคสำคัญของการสร้างแบรนด์นายจ้าง
จีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านแบรนด์นายจ้าง เวิร์คเวนเจอร์ กล่าวว่า การสร้าง Employer Value Proposition (EVP) ที่สอดคล้องกับค่านิยมยุคใหม่ เช่น ESG และการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม จะช่วยให้องค์กรสามารถดึงดูดบุคลากรคุณภาพและรักษาคนเก่งในยุคที่แรงงานมีตัวเลือกมากขึ้น
ปัจจุบันการสื่อสารกับคนเพื่อสร้างแบรนด์ สร้างความน่าเชื่อถือและดึงดูดใจถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด องค์กรที่สามารถทำเช่นนี้ได้ จะมีโอกาสดึงดูดคนเก่งและรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ได้ดีขึ้น นอกจากเงินเดือนแล้ว บรรดาแรงงานยัคใหม่ยังให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต สภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต และความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว
![](https://www.thenicebrand.com/wp-content/uploads/2025/01/IMG_3082-840x560.jpeg)
- การลงทุนในสื่อสารดิจิทัล: กุญแจสำคัญของความสำเร็จ
การลงทุนในการสื่อสารและมีเดียเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเม็ดเงินโฆษณาปี 2567 มีมูลค่ากว่า 112,000 ล้านบาท โตขึ้นถึง 16% จากปี 2566 และการสื่อสารผ่านดิจิทัลมีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะแพลตฟอร์มอย่างโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, และ TikTok ขณะเดียวกัน การเติบโตของการสร้างแบบนายจ้างที่ดี เติบโตกว่า 50% ในปัจจุบัน
- เทรนด์การสื่อสารใหม่: สตอรี่เทลลิ่งและการเล่าเรื่องราวของพนักงาน
เนื้อหาที่เน้นความสมจริงและการเล่าเรื่องราวชีวิตการทำงานของพนักงานกำลังกลายเป็นเทรนด์สำคัญในปีนี้ องค์กรต่างๆ หันมาใช้การเล่าเรื่องที่สร้างความเชื่อมโยงกับผู้ชมผ่านสื่อดิจิทัล แทนการสื่อสารแบบทางการหรือภาพลักษณ์ที่ดูสมบูรณ์แบบเกินจริง
- ESG และ EVP: ความรับผิดชอบและคำมั่นสัญญาใหม่ขององค์กร
องค์กรต้องปรับตัวโดยการผนวกแนวคิด ESG (Environmental, Social, Governance) และ EVP (Employer Value Proposition) เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่คนรุ่นใหม่คำนึงถึงเมื่อเลือกเข้าร่วมงาน
- ผลัดใบเข้าสู่ยุคใหม่: ความเปลี่ยนแปลงในแรงงานรุ่นใหม่
ปีนี้ถือเป็นการผลัดใบชัดเจนจากแรงงานยุค Baby Boomer ในขณะที่เจน X ก็เริ่มเขยิบออก สู่รุ่นใหม่อย่าง Millennials และ Gen Z ซึ่งมีความต้องการเฉพาะ เช่น การทำงานนอกออฟฟิศ และความยืดหยุ่นในชีวิตการทำงาน องค์กรต้องพัฒนาคำมั่นสัญญาและนโยบายใหม่ที่สอดคล้องกับค่านิยมของแรงงานกลุ่มนี้
- ความท้าทายใหม่: การใช้ AI และการพัฒนา Super Worker
นอกจากนี้ AI กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน พนักงานที่สามารถใช้เทคโนโลยีและพัฒนาทักษะพิเศษได้ จะกลายเป็นกลุ่มที่องค์กรต่างแย่งชิง เป็นยุคของ Talent War อย่างแท้จริง
ผู้บริหารเวิร์คเวนเจอร์ ยังกล่าวถึง ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกและอยู่กับองค์กร โดยปัจจัยอันดับต้นๆ ที่คนรุ่นใหม่พิจารณา ได้แก่
- เงินเดือน
- สวัสดิการ
- สถานที่ทำงานที่ดี
- ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน
- ความมั่นคงในการจ้างงาน
- ทีมเวิร์คและการทำงานร่วมกัน
- การให้เกียรติและความเข้าใจในที่ทำงาน
- สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- การสื่อสารที่ชัดเจนและโปร่งใส
องค์กรไทยหลายแห่งได้ปรับตัวและพัฒนาตนเองอย่างน่าประทับใจในปีที่ผ่านมา ด้วยการสร้างสรรค์ความไว้วางใจในหมู่พนักงาน และแสดงถึงความใส่ใจในความหลากหลาย รวมถึงการดูแลบุคลากรอย่างจริงจัง
- แนวทางสู่อนาคต
องค์กรที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต ต้องมีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลง และสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยี และการทำงานที่สนุกและสร้างสรรค์ไปพร้อมกัน
ในปีนี้ การผูกโยง ESG กับ Employer Branding จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในภาพลักษณ์ขององค์กรไทยและการแข่งขันในตลาดแรงงานระดับโลกการสร้างแบรนด์นายจ้างในยุคใหม่: ความเปลี่ยนแปลงที่องค์กรไทยต้องเตรียมรับมือ