“โบแยน สแลต” The Ocean Cleanup นำ Interceptor™ 019 ดักจับขยะแม่น้ำเจ้าพระยา

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 39 Second

The Ocean Cleanup ติดตั้ง Interceptor™ 019 เรือดักจับขยะบนผิวน้ำด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณกรุงเทพมหานคร ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือเชิงวิจัย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกในแม่น้ำสายสำคัญทั่วโลก

การดำเนินโครงการนี้ในประเทศไทย หลากหลายหน่วยงานได้จับมือเป็นพันธมิตรกัน ประกอบด้วย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กรุงเทพมหานคร, เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี, สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย, บริษัท อีโคมารีน จำกัด, บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อติดตั้งและดำเนินการ Interceptor 019 ในการดักจับขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งศึกษาปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกที่ส่งผลต่อแม่น้ำและลำคลองสายต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

โบแยน สแลต ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้ง The Ocean Cleanup  กล่าวว่า เแ้ากมายดารดำเนินงานของ The Ocean Cleanup คือการลดปริมาณขยะลงสู่มหาสมุทรใน 2 อนวทาง คือ การเด็บขยะที่ทะเล และอีกหนึ่งแนวทางสำคัญคือการดักจับขยะตั้งแต่ต้นทาง คือ เส้นทางน้ำในประเทศต่างๆ ที่ไหลลงสู่ทะเล ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นแม่น้ำหลักสายหนึ่งของโลก การร่วมมือกับหลายๆ หน่วยงานในไทยครั้งนี้ นอกจากนำ

เรือดักจับขยะ Interceptor 019 เข้ามาใช้งานแล้ว ยังร่วมดันวิเคราะห์วิจัย เพื่อป้องกันไม่ให้มลพิษจากขยะพลาสติกในกรุงเทพฯ ไหลลงสู่มหาสมุทรอีกด้วย

สิ่งที่ The Ocean Cleanup ได้เรียนรู้จากการดำเนินงานด้านการกำจัดพลาสติกในมหาสมุทรในเมืองต่างๆ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการโครงการติดตั้ง Interceptor ทั่วโลก ซึ่ง The Ocean Cleanup มีแผนจะขยายไปอีกหลายแห่ง ภายใต้โครงการ Rivers ขององค์กร

การติดตั้งเรือดักจับขยะบนผิวน้ำ Interceptor 019 เป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือระดับโลกในระยะยาวระหว่าง เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี และ The Ocean Cleanup มาตั้งแต่ปี 2021 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมเพื่อช่วยป้องกันการเล็ดลอดของขยะพลาสติกจากแม่น้ำลงสู่มหาสมุทรทั่วโลก

แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงผู้คนและชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 11 ล้านคน เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของเอเชีย โครงการนี้ได้ติดตั้ง Interceptor 019 ที่ริมฝั่งแม่น้ำบริเวณหน้าสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา ซึ่งเป็นช่วง 16 กิโลเมตรสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีลำคลองจำนวน 61 สายไหลมาบรรจบในช่วงนี้ ทำให้มีโอกาสที่ขยะพลาสติกจะถูกพัดพามาจากที่ต่าง ๆ ทั้งนี้จะมีการเก็บข้อมูลของขยะที่ Interceptor 019 ดักจับได้ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจประเภทของขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา และมุ่งศึกษาวิธีการสกัดและดักจับขยะพลาสติกก่อนที่จะไหลเข้าสู่ช่วง 50 กิโลเมตรสุดท้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะบรรจบกับอ่าวไทยและพัดพาขยะพลาสติกไปยังมหาสมุทรต่อไป

เรือดักจับขยะ Interceptor 019 ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการดักจับขยะแบบอัตโนมัติ และเป็น Interceptor ลำที่ 5 ของ The Ocean Cleanup ที่ติดตั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ความร่วมมือกับโคคา-โคล่า โดยได้ติดตั้งไปแล้ว 1 ลำในอินโดนีเซีย 1 ลำในเวียดนาม และ 2 ลำในมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้ง Interceptor ในสาธารณรัฐโดมินิกัน และเมืองลอสแอนเจลิส ในสหรัฐอเมริกา ด้วย

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ถือเป็นวาระแห่งชาติ เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 

ความร่วมมือในการติดตั้ง Interceptor 019 ในแม่น้ำเจ้าพระยา จะสนับสนุนการทำงานเชิงรุกในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดการปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน

นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับการทำงานของกรุงเทพมหานคร ด้านการจัดเก็บและคัดแยกขยะที่ Interceptor 019 ดักจับได้ในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทำหน้าที่จัดการขยะที่ไหลลงสู่แม่น้ำให้มีประสิทธิภาพ การคัดแยกขวดพลาสติกใช้แล้วที่มีมูลค่าออกจากขยะอื่นๆ แล้วส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล สามารถช่วยลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ และลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่มหาสมุทรได้อีกทางหนึ่ง

วิกเตอร์ หว่อง รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท โคคา-โคล่า ประจำประเทศไทย เมียนมา และลาว  กล่าวถึงความสำเร็จจากความร่วมมือกับ The Ocean Cleanup ว่า นความร่วมมือกับ The Ocean Cleanup ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดผลสำเร็จขึ้นในประเทศไทย คือการติดตั้ง Interceptor 019 ในแม่น้ำสายสำคัญอย่างเจ้าพระยา ซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการปรับใช้เทคโนโลยีนี้ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก 

ภายใต้ความร่วมมือระดับโลกระหว่าง โคคา-โคล่าและ The Ocean Cleanup ดำเนินการติดตั้ง Interceptor ไปแล้วใน เวียดนาม กัวเตมาลา มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในวิสัยทัศน์ World Without Waste ของเดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี ที่มุ่งมั่นว่าจะช่วยจัดเก็บและรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ในปริมาณเทียบเท่ากับที่จำหน่ายออกไปภายในปี 2030

แร็มโก ฟัน ไวน์คาร์เดิน เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนของมหาสมุทร ประเทศเนเธอร์แลนด์เชื่อว่าความร่วมมือ การทำงานร่วมกัน และนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา เป็นสิ่งสำคัญที่จะบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ในวันนี้ เรายินดีอย่างยิ่ง ที่มีส่วนสนับสนุนหมุดหมายที่สำคัญร่วมกันในการจัดการขยะพลาสติกที่อาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ไทยยูเนี่ยน ต่อยอดความสำเร็จปล่อยน้ำทิ้งสู่สาธารณะเป็นศูนย์

ไทยยูเนี่ยน เดินเป้าการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบ ประกาศความสำเร็จ ปล่อยน้ำทิ้งสุ่สาธารณะเป็นศูนย์ พร้อมต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบการบำบัดน้ำ ปันความรู้การหมุนเวียนน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์

You May Like